คำอธิบาย | การพัฒนาตัวชี้วัด ER คุณภาพในโรงพยาบาล โดยทั่วไปจะเน้นประเมินใน 3 ส่วน คือ มิติที่ 1 มิติการบริการ และนโยบาย หมายถึง การประเมินผู้อำนวยการและทีมบริหาร เกี่ยวกับนโยบาย การสนับสนุนการพัฒนาระบบรักษาพยาบาลฉุกเฉิน มิติที่ 2 มิติผู้ให้บริการ จะเน้นในประเด็น ความพร้อมของทรัพยากร ได้แก่ อาคารสถานที่ บุคลากร ระบบการให้คำปรึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล มิติที่ 3 มิติด้านผู้รับบริการ คือ เน้นในด้านผลลัพธ์จากการเข้ารับบริการรักษาพยาบาล (อ้างอิงนิยาม จากแนวทางการพัฒนาสู่มาตรฐานด้านการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลระดับต่างๆ จัดทำโดย กรมการแพทย์ โดยความร่วมมือจากสมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย) และ สถาบันรับรองคุณภาพฯ นอกจากนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการเตรียมความพร้อมของโรงพยาบาล การรักษาพยาบาล (Emergency care) เป็นองค์ประกอบด้านการรักษาพยาบาลฉุกเฉินของโรงพยาบาล หมายถึง ความสามารถของห้องฉุกเฉินที่ให้บริการต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน ในกระบวนการต่างๆ ได้แก่ 1) Triage 2) Resuscitation 3) Stabilization 4) การจัดบริการด่วนพิเศษ (Special Track) และ 5) Definitive Care ในโรงพยาบาล การจัดบริการด่วนพิเศษ (Special Track) หมายถึง การจัดระบบบริการจำเพาะบางภาวะที่ให้การดูแลรักษาด่วนตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งจะเกิดผลดีต่อการรักษา (หากเลยกำหนดนั้นไปแล้วอาจทำให้ผลการรักษาลดลง) เช่น Stroke Fast Track, AMI Fast Track เป็นต้น การวัด Productivity จากการเข้ารับบริการด่วนพิเศษ (Special Track) ของ fast track ต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในห้องฉุกเฉิน เป็นแนวทางหนึ่งของการวัดผลลัพธ์ (out come) ER คุณภาพ โดยวัดคุณภาพจากข้อมูลผู้ป่วยหนักที่ได้รับการดูแลจาก door to EKG และ door to SK ใน รพ.ทุกระดับ ในปี พ.ศ. 2560 การเก็บข้อมูลตัวชี้วัด ER คุณภาพในโรงพยาบาลระดับ F2 ขึ้นไป คำนิยาม
ROSC : Return of Spontaneous Circulation (ภาวะที่ได้รับการฟื้นคืนชีพ จนผู้ป่วยรู้สึกตัวและมีสัญญานชีพคืนมา |
ตัวแปร |
A = จำนวนโรงพยาบาล ระดับ F2 ขึ้นไป ในจังหวัด ที่ผ่านเกณฑ์ประเมินคุณภาพ (แห่ง) B = จำนวนโรงพยาบาลระดับ F2 ขึ้นไป ทั้งหมดในจังหวัด (แห่ง) |
สูตรคำนวนตัวชี้วัด | (A/B)*100 |
เกณฑ์เป้าหมาย | >= จำนวนโรงพยาบาลระดับ F2 ขึ้นไปที่ผ่านเกณฑ์ประเมินคุณภาพตามที่กำหนดไว้ |
Download | |
รายละเอียด KPI Template >> |