ร้อยละของครอบครัวที่มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเองได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด

ผลการดำเนินงาน >>

Update Delete

ชื่อตัวชี้วัดร้อยละของครอบครัวที่มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเองได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด
Child KPIสร้าง KPI ย่อย
ปีงบประมาณ2561
ระดับตัวชี้วัดประเทศ
ตัวชี้วัดที่059
Sort Order0
คำนิยาม

ครอบครัวที่มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเองตามเกณฑ์ที่กำหนด หมายถึง ครอบครัวที่มี อสค. ทำหน้าที่ดูแลสุขภาพ และสมาชิกในครอบครัวปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพตนเอง โดย

1. อสค. แสดงบทบาท ได้แก่ (1) เป็นแกนนำปฏิบัติตนด้านสุขภาพที่มีพฤติกรรม   เป็นแบบอย่างให้ครอบครัว และเป็นผู้ดูแลสุขภาพของคนในครอบครัวตนเอง (2) ถ่ายทอดความรู้ให้คนในครอบครัวตนเองและช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง (3) ประสานงานพัฒนาสุขภาพครอบครัว และเป็นเครือข่ายกับ อสม. โดยไม่ซ้ำซ้อนบทบาทกัน

2. สมาชิกในครอบครัวปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพตนเอง ได้แก่ (1) คุมอาหารอย่างเป็นรูปธรรม เช่น กินแบบลดหวาน ลดมัน ลดเค็ม ดื่มน้ำเปล่า (2) ดูแลการกินยาให้ตรงเวลา และไปพบแพทย์ตามนัด (3) ออกกำลังกายเช่น ออกกำลังกายด้วยยางยืด และ (4) บำรุงรักษาจิตใจ

อาสาสมัครประจำครอบครัว หรือ อสค. หมายถึง สมาชิกคนใดคนหนึ่งของแต่ละครอบครัวที่ได้รับการคัดเลือกและผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตร อสค. ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด เพื่อให้ทำหน้าที่ดูแลสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวตนเอง

กรณีครอบครัวนั้นอยู่คนเดียวหรืออยู่ในภาวะพึ่งพิงอาจคัดเลือกเพื่อนบ้านให้เข้ารับการอบรมและทำหน้าที่ อสค. ให้ครอบครัวนั้นได้

หน่วยตัวชี้วัดร้อยละ
หน่วยของค่า Aครอบครัว
นิยามของค่า Aจำนวนครอบครัวที่มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเองได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด
หน่วยของค่า Bครอบครัว
นิยามของค่า Bจำนวนครอบครัวเป้าหมาย
หน่วยของค่า C
นิยามของค่า C
หน่วยของค่า D
นิยามของค่า D
หน่วยของค่า E
นิยามของค่า E
หน่วยของค่า F
นิยามของค่า F
สูตรคำนวนตัวชี้วัด(A/B)*100
Operator>=
เกณฑ์เป้าหมายร้อยละ 55
ประชากรกลุ่มเป้าหมายขตสุขภาพที่ 1-12 - ครอบครัวผู้ป่วยโรคเบาหวานและหรือความดันโลหิตสูง ที่ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง (CKD) ระยะ 3 (100%) จากฐานข้อมูล HDC (http://hdcservice.moph.go.th/) ของกระทรวงสาธารณสุข - ครอบครัวผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง (LTC) จากเป้าหมายการจัดสรรประชากรผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง ปีงบประมาณ 2561 ตามสัดส่วนประชากร 60 ปีขึ้นไปสิทธิ UC ของกรมอนามัยและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ - ครอบครัวผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) จากฐานข้อมูล HDC (http://hdcservice.moph.go.th/) ของกระทรวงสาธารณสุขและประชากรจาก 43 แฟ้มของแต่ละจังหวัด เขตสุขภาพที่ 13 - ครอบครัวผู้ป่วยโรคเบาหวานและหรือความดันโลหิตสูง ที่ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง (CKD) - ครอบครัวผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง (LTC) - ครอบครัวผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) จากฐานข้อมูลของหน่วยงานดำเนินงาน อาทิ 1. หน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร 1) สำนักอนามัย 2) ศูนย์บริการสาธารณสุข 3) สถานพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ 2. สถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร 3. โรงพยาบาลเอกชนที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ค่าเป้าหมาย55.00
Max Value100.00
วิธีการจัดเก็บข้อมูล

1. การขึ้นทะเบียน อสค.

          เจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้รับผิดชอบพื้นที่ ดำเนินการพัฒนาและขึ้นทะเบียน อสค. ลงในเว็บไซต์ฐานข้อมูลอาสาสมัครประจำครอบครัว

2. การประเมินศักยภาพครอบครัว อสค.

          1) เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกับ อสค. ประเมินศักยภาพครอบครัวของ อสค. ตามความสมัครใจของแต่ละหน่วยงาน โดย อสค. แต่ละคนดำเนินการประเมินศักยภาพครอบครัวของตนเองตามแบบประเมิน แล้วเก็บข้อมูลผลการประเมินด้วยตนเอง (Self Assessment) ไว้ที่ตนเอง หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้รับผิดชอบพื้นที่เป็นคนเก็บไว้ในรูปแบบเอกสาร

          2) ผู้รับผิดชอบงานระดับ จังหวัด เขต และส่วนกลาง รวมถึงกรุงเทพมหานครสุ่มประเมินตามแบบประเมินแล้วบันทึกผลการประเมินศักยภาพครอบครัวลงในเว็บไชต์ลงในเว็บไซต์ฐานข้อมูลอาสาสมัครประจำครอบครัว

หมายเหตุ : 1. ช่องทางในการลงทะเบียน อสค. และบันทึกผลการประเมินศักยภาพครอบครัว อสค. คือ

                    1) ระบบฐานข้อมูลอาสาสมัครประจำครอบครัว http://fv.phc.hss.moph.go.th

                    2) ระบบสารสนเทศงานสุขภาพภาคประชาชน www.thaiphc.net

               2. หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการบันทึกข้อมูลของกรุงเทพมหานคร คือ

                    1) หน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร

                             • กองสร้างเสริมสุขภาพ สำนักอนามัย

                             • สำนักการแพทย์

                    2) สถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร

                    3) โรงพยาบาลเอกชนที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร

แหล่งข้อมูล

1. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

2. สถานบริการสุขภาพภาครัฐ

3. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

4. หน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร

    1) สำนักอนามัย

    2) ศูนย์บริการสาธารณสุข

    3) สถานพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์

5. สถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร

6. โรงพยาบาลเอกชนที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร

ตัวชี้วัดระดับกระทรวงไม่
ตัวชี้วัดระดับเขตไม่
ตัวชี้วัดระดับจังหวัดไม่
ตัวชี้วัดสำคัญไม่
ตัวชี้วัด Area Baseไม่
Tags
ระยะเวลาการประเมินผลไตรมาส 1, 2, 3 และ 4
ข้อมูล Baseline

Baseline data

หน่วยวัด

ผลการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณ พ.ศ.

2558

2559

2560

1. จำนวนอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพ

คน

-

50,000

470,751

2. ร้อยละของครอบครัวที่มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเองได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด

ร้อยละ

-

-

91.16

ข้อมูลผลการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2560

จากเว็บไซต์ http://fv.phc.hss.moph.go.th/ ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2560
เกณฑ์การประเมินผล

ปี 2561 :

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

คัดเลือกและพัฒนา อสค. เป้าหมาย60,000 คน

คัดเลือกและพัฒนา อสค. เป้าหมาย              เพิ่มอีก 200,000 คน

คัดเลือกและพัฒนา อสค. เป้าหมาย              เพิ่มอีก 240,000 คน

-

-

-

-

 

ครอบครัวที่มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเองได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด   ร้อยละ 55

 

ปี 2562 :

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

120,000 คน

เพิ่มอีก 400,000 คน

เพิ่มอีก 480,000 คน

 

-

-

 

ครอบครัวที่มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเองได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด

ร้อยละ 60

 

ปี 2563 :

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

120,000 คน

เพิ่มอีก 400,000 คน

เพิ่มอีก 480,000 คน

-

-

-

 

ครอบครัวที่มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเองได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด    ร้อยละ 65

 

ปี 2564 :

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

120,000 คน

เพิ่มอีก 400,000 คน

เพิ่มอีก 480,000 คน

 

 

 

 

ครอบครัวที่มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเองได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด    ร้อยละ 70

 
วิธีการประเมินผล

การประเมินผลครอบครัวที่มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเองได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกับ อสค. ด้วยวิธีการ ดังนี้

          1. การประเมินตนเอง (Self Assessment) โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกับ อสค. หลังจากที่ อสค. ได้ประเมินศักยภาพครอบครัวของตนเองแล้ว ให้เก็บผลการประเมินไว้ที่ตนเอง หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้รับผิดชอบพื้นที่เป็นคนเก็บไว้ในรูปแบบเอกสาร

          2. การสุ่มประเมิน ตามลำดับชั้นตามระเบียบวิธีทางสถิติ ตั้งแต่ระดับล่างสุดขึ้นไป (ขนาดของการสุ่มตัวอย่างหรือขนาดของตัวอย่าง (Sample Size) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของจำนวน อสค. ทั้งหมด หรือโดยสูตรการคำนวณตามวิธีการทางสถิติอื่น) โดยสามารถบันทึกผลการประเมินในระบบฐานข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ http://fv.phc.hss.moph.go.th หรือ www.thaiphc.net 

          ค่าน้ำหนักของเกณฑ์การประเมินครอบครัวที่มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเองได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ บทบาท อสค. (60) : การประพฤติปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพตนเองของสมาชิกในครอบครัว (40)

ตารางกำหนดค่าน้ำหนักของเกณฑ์การประเมิน

บทบาท อสค.                                ค่าน้ำหนัก                       การปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพ                              ค่าน้ำหนัก                                                                                                     ตนเองของสมาชิกในครอบครัว

1. เป็นแกนนำปฏิบัติตน                       20                              1. คุมอาหารอย่างเป็นรูปธรรม                                         10

    ด้านสุขภาพที่มีพฤติกรรม                                                     เช่น กินแบบลดหวาน ลดมัน ลดเค็ม 

     เป็นแบบอย่างให้ครอบครัว                                                   ลดเนื้อ ดื่มน้ำเปล่า

      และเป็นผู้ดูแลสุขภาพของคน   

      ในครอบครัวตนเอง 

 

2. ถ่ายทอดความรู้ให้คน                       20                                2. ดูแลการกินยาให้ตรงเวลา                                         10

    ในครอบครัวตนเองและ                                                        และพาไป  พบแพทย์ตามนัด

    ช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง

 

3. ประสานงานพัฒนาสุขภาพ                  20                               3. ออกกำลังกาย เช่น                                                  10

    ครอบครัว และเป็นเครือข่ายกับ                                               ออกกำลังกายด้วยยางยืด

    อสม.

                                                                                         4. บำรุงรักษาจิตใจ                                                       10

    รวม                                                60                                        รวม                                                                40

คะแนนรวมทั้งหมดต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 จึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์ครอบครัวที่มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเองตามเกณฑ์ที่กำหนด

 

 

เอกสารสนับสนุน

1. แนวทางการดำเนินงานอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.)

2. หลักสูตร อสค.

3. คู่มือ อสค.

4. แบบประเมินศักยภาพครอบครัว

5. เว็บไซต์สำหรับขึ้นทะเบียน อสค. พิมพ์ประกาศนียบัตร และรายงานผลการดำเนินงาน อสค.

    1) http://fv.phc.hss.moph.go.th

    2) www.thaiphc.net

6. www.อสค.com เว็บไซต์ฐานข้อมูล อสค. ด้านความรู้ ข่าวสาร และการประเมิน

หมายเหตุ : 1. เอกสารข้อ 3. คู่มือ อสค. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ จัดส่งให้แต่ละจังหวัดตามจำนวนเป้าหมาย อสค.

                  2. สามารถดาวน์โหลดเอกสารทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน http://phc.moph.go.th หรือ เว็บไซต์ระบบฐานข้อมูลอาสาสมัครประจำครอบครัว http://fv.phc.hss.moph.go.th

ผู้ให้ข้อมูลทางวิชาการ/ผู้ประสานงานตัวชี้วัด

ผู้ให้ข้อมูลทางวิชาการ

1. นางอัญธิกา  ชัชวาลยางกูร                           ผู้อำนวยการกองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน

    โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-1937000 ต่อ 18724    โทรศัพท์มือถือ :

    โทรสาร :                                                  E-mail : phc.division@gmail.com

2. นางวิรุณศิริ อารยวงศ์                                   นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ   

    โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-1937000 ต่อ 18715    โทรศัพท์มือถือ :

    โทรสาร :                                                  E-mail : phc.division@gmail.com

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

ผู้ประสานงานตัวชี้วัด

1.

    โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-1937036-37                 โทรศัพท์มือถือ :

    โทรสาร :                                                     E-mail :

กลุ่มแผนงาน สำนักบริหาร กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

2.

    โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-1937000 ต่อ 18716        โทรศัพท์มือถือ :

    โทรสาร :                                                      E-mail : phc.division@gmail.com

กลุ่มพัฒนานโยบายและยุทธศาตร์สุขภาพภาคประชาชน กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

หน่วยงานประมวลผลและจัดทำข้อมูล (ระดับส่วนกลาง)

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-1937000 ต่อ 18715

E-mail : phc.division@gmail.com

ผู้รับผิดชอบการรายงานผลการดำเนินงาน

1.                          

    โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-1937036-37       โทรศัพท์มือถือ :

    โทรสาร :                                           E-mail :

กลุ่มแผนงาน สำนักบริหาร กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

รหัสจังหวัดตัวชี้วัด Area base
Areabase Kpi Regioncode
หมายเหตุ
Last Update2021-03-24 14:22:39
Download
Log ผลการดำเนินงาน >>