ร้อยละของประชากรสูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

ผลการดำเนินงาน >>

Update Delete

ชื่อตัวชี้วัดร้อยละของประชากรสูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
Child KPIสร้าง KPI ย่อย
ปีงบประมาณ2565
ระดับตัวชี้วัดประเทศ
ตัวชี้วัดที่006.1
Sort Order0
คำนิยาม

ผู้สูงอายุ หมายถึง ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่มี ADL ≥ 12 คะแนน ทั้งเพศชายและเพศหญิง

พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ หมายถึง การกระทำหรือพฤติกรรมของบุคคลที่ปฏิบัติแล้วส่งผลดีต่อสุขภาพของบุคคลนั้น ๆ เอง (ร่างกาย จิตใจ และสังคม)

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 8 ด้าน ได้แก่

1. มีกิจกรรมทางกายที่ระดับปานกลาง (เดิน/ปั่นจักรยาน/ทำงานบ้าน/ทำไร่/ทำสวน/     ทำนา/ออกกำลังกาย) สะสม 150 นาที/สัปดาห์

2. กินผักและผลไม้ได้วันละ 5 กำมือ เป็นประจำ (6 – 7 วันต่อสัปดาห์)

3. ดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว ยกเว้น ผู้สูงอายุที่แพทย์ให้จำกัดน้ำดื่ม เช่น ผู้สูงอายุโรคไต โรคหัวใจ เป็นต้น

4. ไม่สูบบุหรี่ /ไม่สูบยาเส้น

5. ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ (เช่น สุรา เบียร์ ยาดองเหล้า)

6. มีการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วย (เมื่อไม่เจ็บป่วยมีการดูแลตนเอง, เมื่อมีโรคประจำตัว        มีการรับประทานยาต่อเนื่อง หรือเมื่อเจ็บป่วยทั่วไป เช่น มีไข้ ไอ จาม ปวดเมื่อยตามตัว สามารถดูแลตนเองเบื้องต้นได้ เช่น สามารถกินยาสามัญประจำบ้านได้ด้วยตนเอง และเมื่ออาการไม่ดีขึ้นสามารถไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล หรือ รพ.สต. ได้)

7. มีการนอนหลับอย่างเพียงพอ อย่างน้อยวันละ 7 – 8 ชั่วโมง ต่อคืน

8. การดูแลสุขภาพช่องปากด้วยการแปรงฟันก่อนนอน โดยไม่รับประทานอะไรอีก ยกเว้นน้ำเปล่าจนกระทั่งเข้านอน

หมายเหตุ:

1. ผ่านการประเมินทั้ง 8 ด้าน ถือว่าผ่านการประเมินพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

2. กิจกรรมทางกาย คือ การเคลื่อนไหวของร่างกายเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อ และทำให้ร่างกายมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นจากขณะพัก ประกอบด้วย การทำกิจกรรมในชีวิต ประจำวัน เช่น การทำงานบ้าน การทำงานอาชีพที่ต้องใช้แรงกาย การเดินทางด้วยจักรยานหรือเดินทางเดินขึ้นบันได และกิจกรรมยามว่าง เช่น ออกกำลังกาย เล่นกีฬา วิ่ง ปั่นจักรยานและการท่องเที่ยว(ที่มา : แผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ.2561 –2573)

 

หน่วยตัวชี้วัดร้อยละ
หน่วยของค่า Aคน
นิยามของค่า Aจำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการประเมินมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
หน่วยของค่า Bคน
นิยามของค่า Bจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมดที่ได้รับการประเมิน
หน่วยของค่า C
นิยามของค่า C
หน่วยของค่า D
นิยามของค่า D
หน่วยของค่า E
นิยามของค่า E
หน่วยของค่า F
นิยามของค่า F
สูตรคำนวนตัวชี้วัด(A/B)*100
Operator>=
เกณฑ์เป้าหมาย50
ประชากรกลุ่มเป้าหมายประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่มี ADL ≥ 12 คะแนน ร้อยละ 10 ของประชากรสูงอายุกลุ่มติดสังคมในระบบ Health Data Center (HDC)
ค่าเป้าหมาย50.00
Max Value100.00
วิธีการจัดเก็บข้อมูล

1. สุ่มสำรวจผู้สูงอายุในพื้นที่เขตสุขภาพตามระเบียบวิธีวิจัย

2. แบบรายงานสรุปผลการดำเนินงาน /รายงานตามระบบโปรแกรมรายงาน

3. Application Blue book

แหล่งข้อมูล

1. ระบบคลังข้อมูล Application Blue book

2. สำนักอนามัยผู้สูงอายุ และ Cluster กลุ่มผู้สูงอายุ ,สำนักอนามัยและสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

3. ศูนย์อนามัยที่ 1 – 12 สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง

4. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด, โรงพยาบาลศูนย์, โรงพยาบาลทั่วไป, โรงพยาบาลชุมชน, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ตัวชี้วัดระดับกระทรวง-
ตัวชี้วัดระดับเขต-
ตัวชี้วัดระดับจังหวัด-
ตัวชี้วัดสำคัญ-
ตัวชี้วัด Area Base-
Tags
ระยะเวลาการประเมินผลทุกไตรมาส
ข้อมูล Baseline

Baseline data

หน่วยวัด

ผลการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณ พ.ศ.

2562

2563

2564

พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุ

ร้อยละ

 

 

 

52

(จากการสำรวจของกรมอนามัย)

37.8

(จากการสำรวจของกรมอนามัยผ่าน Application Health For You (H4U))

30.8

(จากการสำรวจของกรมอนามัยผ่าน Application Health For You (H4U))

 
เกณฑ์การประเมินผล

ปี 2563 :

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

การชี้แจงแนวทางการดำเนินการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค

 

ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ร้อยละ 40

 

ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ร้อยละ 50

 

 

1. สรุปผลการดำเนินงานและวิเคราะห์ผลการดำเนินงานที่ผ่านจัดทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย

2. วางแผนดำเนินงานปีงบประมาณ 2564

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ปี 2564 :

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

1. มีการชี้แจงแนวทางการดำเนินการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและพื้นที่

2. มีการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้งาน Application Health For You (H4U) หรือสมุดสุขภาพประชาชน ในการตอบแบบสำรวจพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์และการวิเคราะห์ข้อมูลผลการดำเนินงาน ระดับพื้นที่

1. มีการดำเนินการแล้วเสร็จร้อยละ 50

2. ผลการดำเนินงานผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ร้อยละ 40

3. มีการกำกับ ติดตามและ เยี่ยมเสริมพลัง

4. มีการประเมินผลการดำเนินงาน

1. มีการดำเนินการแล้วเสร็จร้อยละ 100

2. ผลการดำเนินงานผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ร้อยละ 50

3. มีการกำกับ ติดตาม เยี่ยมเสริมพลัง

4. มีการประเมินผลการดำเนินงาน

1. สรุปผลการดำเนินงานและวิเคราะห์ผลการดำเนินงานที่ผ่านจัดทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย

2. วางแผนดำเนินงานปีงบประมาณ 2565

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ปี 2565:

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

ร้อยละ 35

ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

ร้อยละ 40

ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ร้อยละ 45

ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ร้อยละ 50

 

 

 

 

 

ปี 2566:

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

ร้อยละ 40

ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

ร้อยละ 45

ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

ร้อยละ 50

ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

ร้อยละ 52

 

 

วิธีการประเมินผล

คำนวณข้อมูลจากแบบรายงาน Application Blue book

เอกสารสนับสนุน

1. สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย

2. คู่มือแนวทางการส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว (Health Promotion & Prevention Individual Wellness Plan) สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้สูงอายุ

3. Application Blue book

4. คู่มือการใช้งาน Application Blue book

5. คู่มือการดำเนินงาน ตัวชี้วัดร้อยละของประชากรสูงอายุที่มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ผู้ให้ข้อมูลทางวิชาการ/ผู้ประสานงานตัวชี้วัด

นายแพทย์นิธิรัตน์  บุญตานนท์       ตำแหน่ง : ผู้อำนวยการสำนักอนามัยผู้สูงอายุ

โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02 590 4499     โทรศัพท์มือถือ : 086 879 6655

โทรสาร : 02 590 4501                  E- mail : nithirat.b@anamai.mail.go.th

สถานที่ทำงาน : สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย

หน่วยงานประมวลผลและจัดทำข้อมูล (ระดับส่วนกลาง)

1. นางสาวจุฑาภัค เจนจิตร               ตำแหน่ง :  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02 590 4504       โทรศัพท์มือถือ : 091 768 6265

โทรสาร : 02 590 4501                   E- mail : juthapuk.j@anamai.mail.go.th

2.นางสาวศตพร เทยาณรงค์              ตำแหน่ง :  นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02 590 4504      โทรศัพท์มือถือ : 094 967 6888

โทรสาร : 02 590 4501                  E- mail : Sataporn.t@anamai.mail.go.th

สถานที่ทำงาน : สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย

ผู้รับผิดชอบการรายงานผลการดำเนินงาน

กลุ่มบริหารยุทธศาสตร์   

โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 2590 4499

โทรสาร : 0 2590 4501                  E - mail : 02group.anamai@gmail.com

สถานที่ทำงาน : สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย

รหัสจังหวัดตัวชี้วัด Area base0
Areabase Kpi Regioncode0
หมายเหตุ
Last Update2022-10-07 14:33:22
Download
Log ผลการดำเนินงาน >>