ร้อยละของหน่วยบริการที่เป็น Smart Hospital (Smart tools & Smart service) (รพ. ระดับ A, S, M1, M2)

ผลการดำเนินงาน >>

Update Delete

ชื่อตัวชี้วัดร้อยละของหน่วยบริการที่เป็น Smart Hospital (Smart tools & Smart service) (รพ. ระดับ A, S, M1, M2)
Child KPIสร้าง KPI ย่อย
ปีงบประมาณ2564
ระดับตัวชี้วัดประเทศ
ตัวชี้วัดที่068.1
Sort Order0
คำนิยาม

Smart Hospital หมายถึง โรงพยาบาลภาครัฐ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการจัดบริการภายในโรงพยาบาล ลดขั้นตอนการปฏิบัติ และเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการรับบริการที่มีคุณภาพดี มีความปลอดภัย และทันสมัยอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

1) Smart Place/Infrastructure

          โรงพยาบาลมีการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ผ่านเกณฑ์การดำเนินงาน GREEN&CLEAN Hospital ของกรมอนามัย และจัดตกแต่งสถานที่ให้สวยงาม ดูมีความทันสมัย (Digital Look) ช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการรับบริการ

2) Smart Tools

          โรงพยาบาลมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ให้มีความถูกต้องแม่นยำ สะดวกรวดเร็ว ลดความเสี่ยงความผิดพลาดต่าง ๆ ลดระยะเวลา เพิ่มความปลอดภัย และเพิ่มความพึงพอใจของผู้รับบริการ อาทิ เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์อัตโนมัติ ระบบบริหารจัดการคิว รูปแบบดิจิทัล รูปแบบออนไลน์

3) Smart Services

          โรงพยาบาลมีการบริหารจัดการกระบวนงานที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับการพัฒนาองค์กรตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย และพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 เช่น การยกเลิกการเรียกรับสำเนาบัตรประชาชนและเอกสารอื่นที่ออกโดยราชการจากผู้รับบริการ  การจัดเก็บข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยด้วยรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (EMR : Electronic Medical Records) การใช้ใบสั่งยาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์  การลดระยะเวลารอคอยรับบริการ   การมีบริการนัดหมายแบบเหลื่อมเวลา หรือมีการจัดกลุ่มผู้รับบริการ ได้รับบริการตรงเวลาหรือแตกต่างเล็กน้อยอย่างเหมาะสม เป็นต้น

4) Smart Outcome

          โรงพยาบาลมีการบริหารจัดระบบงานให้มีความเชื่อมโยงกันได้อย่างอัตโนมัติ โดยนำระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) มาใช้ โดยเฉพาะระบบหลักของโรงพยาบาล (Core Business Process) เพื่อให้มีระบบสารสนเทศที่ตอบสนองต่อการบริหารจัดการได้อย่างรวดเร็ว ป้องกันความเสี่ยงด้านการเงินการบัญชี การจัดซื้อจัดจ้าง ป้องกันปัญหาการขาดแคลนและความไม่สมดุลด้านทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรในระบบบริการ มีการบริหารจัดการ Unit Cost ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และเพื่อเพิ่มคุณภาพระบบบริการ จัดการระยะเวลารอคอยได้อย่างเหมาะสม

5) Smart Hospital

          โรงพยาบาลมีประสิทธิภาพในการจัดการ มี Unit Cost ในเกณฑ์ที่เหมาะสมสามารถเปรียบเทียบ (Benchmarking) กับหน่วยงานอื่นได้  มีการจัดการและป้องกันความเสี่ยง (Proactive Risk Management) ที่ดีในทุกมิติ เพื่อให้การบริการมีคุณภาพดีในทุกมิติ และมีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์พลังงาน อย่างยั่งยืน

เกณฑ์การประเมินผล

 

** BPM: Business Process Management : การบริหารจัดการกระบวนงานที่มีประสิทธิภาพ

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กำหนดเกณฑ์การประเมินหน่วยบริการที่เป็น Smart Hospital มีการดำเนินงาน ดังนี้

  1. Smart Place
    1. ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน โรงพยาบาล Green and Clean & Digital Look
  2. Smart Tools (อย่างน้อย 2 ข้อ ไม่เรียงลำดับ)

2.1 Queue: มีหน้าจอแสดงลำดับคิว หน้าห้องพบแพทย์ อย่างน้อย 1 จุด เพื่อลดความแออัดบริเวณหน้าห้องพบแพทย์

2.2 Queue: online1

2.3 Devices: 1HIS

  1. Smart Services (อย่างน้อย 4 ข้อ ไม่เรียงลำดับ)

3.1 BPM : ใช้ Smart Health ID แทนการเรียกรับสำเนาบัตรประชาชน

3.2 BPM : มีการจัดเก็บข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยด้วยรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (EMR : Electronic Medical Records)

3.3 BPM : มีระบบสั่งการรักษาทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้ให้การรักษา (CPOE : Computerize Physician Order Entry)   

3.4 BPM : มีข้อมูลระยะเวลารอคอยรับบริการ ตั้งแต่เริ่มต้นเข้ารับบริการจนสิ้นสุดการรับบริการ อย่างน้อย 1 จุดบริการ

3.5 BPM : มีบริการนัดหมายแบบเหลื่อมเวลา หรือมีการจัดกลุ่มผู้รับบริการ ได้รับบริการตรงเวลาหรือแตกต่างเล็กน้อยอย่างเหมาะสม

           3.6 BPM : มีระบบ e-payment

 

 
 
  • รพ. ระดับ A, S, M1, M2  80%
  • รพ. ระดับ F1, F2, F3  50%
  • รพ. นอกสังกัด สป.  80%

 

 

 

 

หน่วยตัวชี้วัดจำนวน
หน่วยของค่า Aแห่ง
นิยามของค่า Aจำนวนหน่วยบริการกลุ่มเป้าหมายที่ 1 ที่เป็น Smart Hospital
หน่วยของค่า Bแห่ง
นิยามของค่า Bจำนวนหน่วยบริการกลุ่มเป้าหมายที่ 1 ทั้งหมด
หน่วยของค่า C
นิยามของค่า C
หน่วยของค่า D
นิยามของค่า D
หน่วยของค่า E
นิยามของค่า E
หน่วยของค่า F
นิยามของค่า F
สูตรคำนวนตัวชี้วัด(A/B)x100
Operator>=
เกณฑ์เป้าหมายร้อยละ 80
ประชากรกลุ่มเป้าหมาย• เป้าหมายที่ 1 หมายถึง รพ. ระดับ A, S, M1, M2 • เป้าหมายที่ 2 หมายถึง รพ. ระดับ F1, F2, F3 • เป้าหมายที่ 3 หมายถึง รพ. นอกสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข • หน่วยบริการ หมายถึง โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป/ชุมชน หน่วยบริการสังกัดกรมการแพทย์ กรมสุขภาพจิต กรมควบคุมโรค
ค่าเป้าหมาย80.00
Max Value100.00
วิธีการจัดเก็บข้อมูล

- หน่วยบริการในกลุ่มเป้าหมายที่ 1, 2, 3 รายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบรายงาน Smart Hospital ของกองบริหารการสาธารณสุข

- URL http://it-phdb.moph.go.th/smart-hospital

แหล่งข้อมูล

- เขตสุขภาพ

- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

- โรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

- กรมการแพทย์ กรมสุขภาพจิต กรมควบคุมโรค

ตัวชี้วัดระดับกระทรวง-
ตัวชี้วัดระดับเขต-
ตัวชี้วัดระดับจังหวัด-
ตัวชี้วัดสำคัญ-
ตัวชี้วัด Area Base-
Tags
ระยะเวลาการประเมินผลไตรมาส 2, 3 และ 4 (6, 9 และ 12 เดือน)
ข้อมูล Baseline

Baseline data

หน่วยวัด

ผลการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณ พ.ศ.

2561

2562

2563

ร้อยละของหน่วยบริการที่เป็น Smart Hospital

 

 

 

 

  • รพ.ระดับ A, S, M1, M2

ร้อยละ

-

-

64

  • รพ.ระดับ F1, F2, F3

ร้อยละ

-

-

46

  • รพ.นอกสังกัด สป.

ร้อยละ

-

-

85

 
เกณฑ์การประเมินผล

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

สรุปยอด ณ 31 มี.ค. 64

รอบ 9 เดือน

สรุปยอด ณ 30 มิ.ย. 64

รอบ 12 เดือน

สรุปยอด ณ 30 ก.ย. 64

มีกิจกรรมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน Smart Hospital

ร้อยละ 20
กลุ่มเป้าหมายที่ 1

ร้อยละ 50
กลุ่มเป้าหมายที่ 1

ร้อยละ 80
กลุ่มเป้าหมายที่ 1

ร้อยละ 10
กลุ่มเป้าหมายที่ 2

ร้อยละ 30
กลุ่มเป้าหมายที่ 2

ร้อยละ 50
กลุ่มเป้าหมายที่ 2

ร้อยละ 20
กลุ่มเป้าหมายที่ 3

ร้อยละ 50
กลุ่มเป้าหมายที่ 3

ร้อยละ 80
กลุ่มเป้าหมายที่ 3

วิธีการประเมินผล

- หน่วยบริการในกลุ่มเป้าหมายที่ 1, 2, 3 รายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบรายงาน

- Smart Hospital ของกองบริหารการสาธารณสุข

- URL http://it-phdb.moph.go.th/smart-hospital

เอกสารสนับสนุน

1.คู่มือการติดตั้ง Smart Health ID (โปรแกรมเรียกใช้ข้อมูลประชาชนกลางจาก Population Information Linkage Center กรมการปกครอง)

2.คู่มือการติดตั้ง Q4U (โปรแกรมจัดการ Queue แจ้งเตือนลำดับเรียกผ่าน H4U app.)

3.คู่มือการติดตั้งเชื่อมข้อมูลของเครื่องมือแพทย์ เข้าสู่ HIS อัตโนมัติ

4.แนวทางการดำเนินงาน Smart Hospital

ผู้ให้ข้อมูลทางวิชาการ/ผู้ประสานงานตัวชี้วัด

1. เรื่องช่องทางแจ้งเตือนคิวออนไลน์ (กรณีใช้ Q4U ผ่าน H4U)

นางกนกวรรณ มาป้อง                       นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ                                                        

โทรศัพท์ที่ทำงาน : 025902185 ต่อ 414 โทรศัพท์มือถือ : 0871015708

โทรสาร : 025901215                       E-mail : ict-moph@health.moph.go.th

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สป.สธ.

2. เรื่องยกเลิกการเรียกรับสำเนาบัตรประชาชนและเอกสารอื่นที่ออกโดยราชการ (กรณีใช้โปรแกรม Smart Health ID)

นางสินินาฎ  พรัดมะลิ                        นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ                                                        

โทรศัพท์ที่ทำงาน : 025902185 ต่อ 314 โทรศัพท์มือถือ : 0896834737

โทรสาร : 025901215                       E-mail : ict-moph@health.moph.go.th

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สป.สธ.

3. กระบวนการขับเคลื่อนและภาพรวมการประเมินผล

นางอรสา เข็มปัญญา                            นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญพิเศษ 

โทรศัพท์ที่ทำงาน : 025901542-3             โทรศัพท์มือถือ : 0935792565

E-mail : aoy2510@gmail.com

กองบริหารการสาธารณสุข สป.สธ.

หน่วยงานประมวลผลและจัดทำข้อมูล (ระดับส่วนกลาง)

1. กองบริหารการสาธารณสุข สป.สธ.

2. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สป.สธ.

ผู้รับผิดชอบการรายงานผลการดำเนินงาน

นางอรสา เข็มปัญญา                            นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญพิเศษ 

โทรศัพท์ที่ทำงาน : 025901542-3            โทรศัพท์มือถือ : 0935792565

E-mail : aoy2510@gmail.com

กองบริหารการสาธารณสุข สป.สธ.

รหัสจังหวัดตัวชี้วัด Area base0
Areabase Kpi Regioncode0
หมายเหตุ
Last Update2021-10-09 13:11:34
Download
Log ผลการดำเนินงาน >>