RDU ขั้นที่ 3

ผลการดำเนินงาน >>

Update Delete

ชื่อตัวชี้วัดRDU ขั้นที่ 3
Child KPIสร้าง KPI ย่อย
ปีงบประมาณ2564
ระดับตัวชี้วัดประเทศ
ตัวชี้วัดที่030.2
Sort Order0
คำนิยาม

(1) RDU : โครงการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU)

(1) RDU เป็นการประเมินการดำเนินงานระดับอำเภอ โดยมีโรงพยาบาล/ศูนย์บริการสาธารณสุข เป็นหน่วยงานหลักในการประสานเชื่อมโยงกับหน่วยงานระดับที่สูงกว่า ระดับเดียวกันหรือระดับรองลงมา ซึ่งประกอบด้วยการประเมิน RDU Hospital, RDU PCU และ RDU  community

- RDU Hospital หมายถึงโรงพยาบาลสังกัดสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข (รพศ./รพท./รพช.)/โรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์/โรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต/โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย/โรงพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณสุข สังกัดกรุงเทพมหานคร

- RDU PCU หมายถึง รพ.สต.และหน่วยบริการปฐมภูมิที่เรียกในชื่ออื่น

- RDU community หมายถึงการดำเนินการเพื่อทำให้เกิด RDU  ในระดับอำเภอ/เขตของกรุงเทพมหานคร

1.1 การพัฒนาสู่การเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล มี 3 ระดับดังนี้

  • RDU ขั้นที่ 1 หมายถึงการดำเนินการผ่านเงื่อนไขต่อไปนี้

RDU Hospital (R1)

RDU PCU (R2)

  1. อัตราการสั่งใช้ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
  2. การดำเนินงานของ PTC ผ่านเกณฑ์ระดับ 3
  3. รายการยาที่ควรพิจารณาตัดออก 8 รายการ ซึ่งยังคงมีอยู่ในบัญชีรายการยาของโรงพยาบาลไม่เกิน 1 รายการ
  4. จัดทำฉลากยามาตรฐาน ผ่านเกณฑ์ระดับ 3
  5. การส่งเสริมจริยธรรมในการจัดซื้อจัดหายาและการส่งเสริมการขายยา ผ่านระดับ 3

จำนวน รพ.สต.ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของ รพ.สต.ทั้งหมดในเครือข่ายระดับอำเภอที่มีอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนและโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันผ่านเกณฑ์เป้าหมายทั้ง 2 โรค

 

  • RDU ขั้นที่ 2 หมายถึง การดำเนินการผ่านเงื่อนไขต่อไปนี้

RDU Hospital (R1)

RDU PCU (R2)

  1. ผลการดำเนินงานของตัวชี้วัด จำนวน 5 ตัวชี้วัดตาม RDU ขั้นที่ 1
  2. อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน โรคอุจาระร่วงเฉียบพลัน แผลสดอุบัติเหตุ และสตรีคลอดปกติครบกำหนดคลอดทางช่องคลอด ไม่เกินค่าเฉลี่ยของประเทศ ทั้ง 4 ตัวชี้วัด (เกณฑ์ RI รพศ./รพท. ≤ 30 % และ รพช.≤ 20 %, AD ≤ 20 %, FTW ≤ 50 %, APL ≤ 15 %)
  3. การใช้ยา NSAIDsผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระดับ 3 ขึ้นไป ไม่เกินร้อยละ10
  4. การใช้ยา glibenclamide ในผู้ป่วยสูงอายุ หรือไตทำงานบกพร่อง ไม่เกินร้อยละ 5
  5. การไม่ใช้ยาที่ห้ามใช้ในสตรีตั้งครรภ์ ได้แก่ warfarin*, statins, ergots (* ยกเว้นกรณีใส่ mechanical heart valve)

จำนวน รพ.สต.ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของ รพ.สต.ทั้งหมดในเครือข่ายระดับอำเภอ ที่มีอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนและโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันผ่านเกณฑ์เป้าหมายทั้ง 2 โรค

(เกณฑ์ RI ≤ 20 %, AD ≤ 20 %)

  • RDU ขั้นที่ 3 หมายถึง การดำเนินการผ่านเงื่อนไขต่อไปนี้

RDU Hospital (R1)

RDU PCU (R2)

  1. ผลการดำเนินงานของตัวชี้วัด จำนวน 9 ตัวชี้วัดตาม RDU ขั้นที่ 1 และ 2 แต่ใช้เกณฑ์ RI ≤ 20 %, AD ≤ 20 %, FTW ≤ 40 %, APL ≤ 10 %
  2. การใช้ยา Metformin เพื่อรักษาผู้ป่วยเบาหวาน เป็นยาชนิดเดียวหรือร่วมกับยาอื่น เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยไม่มีข้อห้ามใช้ (³ ร้อยละ 80)
  3. ผู้ป่วยหอบหืดเรื้อรัง ที่ได้รับยา Inhaled corticosteroid (³ ร้อยละ 80)
  4. การไม่ใช้ยา RAS blockade (ACEI/ARB/Renin inhibitor) ๒ ชนิดร่วมกันในรักษาผู้ป่วยความดันเลือดสูงทั่วไป       (ร้อยละ 0)
  5. การไม่ใช้ยากลุ่ม NSAIDs ซ้ำซ้อน              (≤ ร้อยละ 5)
  6. การใช้ยา long acting benzodiazepine ซึ่งควรหลีกเลี่ยงการใช้ในผู้สูงอายุ (≤ ร้อยละ 5)
  7. ลดใช้ยาต้านฮีสเตมีนชนิด non-sedating ในผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ (≤ ร้อยละ 20)

จำนวน รพ.สต.ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ รพ.สต.ทั้งหมดในเครือข่ายระดับอำเภอ ที่มีอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนและโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันผ่านเกณฑ์เป้าหมายทั้ง 2 โรค

 

 

 

 

 

 

  • RDU ขั้นที่ 3 plus  หมายถึง การดำเนินการผ่านเงื่อนไขต่อไปนี้

RDU Hospital (R1)

RDU PCU (R2)

  1. ผลการดำเนินงานผ่านเกณฑ์ RDU ขั้น 1, 2 และ 3 ตามตัวชี้วัด 18 ตัวชี้วัด ตามเกณฑ์ในคู่มือ RDU Service plan ()
  2. ตัวชี้วัดเฉพาะตามสภาพปัญหา (problem based indicators) โดยอาจเป็นตัวชี้วัดร่วมระดับเขต ระดับจังหวัด หรือเฉพาะระดับ รพ. หรือในเครือข่ายโรงพยาบาล หรือตัวชี้วัดตามกลุ่มโรค/กลุ่มยาที่เป็นปัญหาใน service plan อื่น

จำนวน รพ.สต. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ รพ.สต.ทั้งหมดในเครือข่ายระดับอำเภอ ที่มีอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนและโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันผ่านเกณฑ์เป้าหมายทั้ง 2 โรค

1.2.การส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน (RDU Community) (ดูคำนิยามในหมายเหตุท้ายเอกสาร)

เกณฑ์ผ่านตัวชี้วัด: ระดับความสำเร็จการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน ผ่านเกณฑ์ระดับ 3

หน่วยวัด ระดับจังหวัด

คำอธิบาย  แต่ละจังหวัด มีการออกแบบบริหารจัดการเพื่อให้มีการดำเนินงานส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน อย่างน้อย 1 อำเภอ ซึ่งแต่ละอำเภอดำเนินการ อย่างน้อย 1 ตำบล โดยกำหนดให้มีผู้ประสานงานระดับจังหวัด และอำเภอ (RDU coordinator) โดยมีโรงพยาบาล/ศูนย์บริการสาธารณสุข เป็นหน่วยงานหลักในการประสานเชื่อมโยงกับหน่วยงานระดับที่สูงกว่า หน่วยงานระดับเดียวกันหรือระดับรองลงมา ทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จนถึงชุมชน และเครือข่ายอื่นๆ ในชุมชน ภายใต้กลไกคณะกรรมการระดับอำเภอที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ คณะกรรมการหัวหน้าส่วนราชการในระดับอำเภอ คณะกรรมการธรรมนูญสุขภาพอำเภอ คณะกรรมการประสานงานด้านสาธารณสุขระดับอำเภอ เป็นต้น

     การส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน ดำเนินการ 5 กิจกรรมหลัก ดังนี้

1.การเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาเชิงรุกในโรงพยาบาล (Proactive Hospital based surveillance) เพื่อจัดระบบเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพเชิงรุก รวมถึงปัจจัยเสี่ยงที่เกิดผลกระทบต่อสุขภาพในโรงพยาบาล เพื่อนำไปสู่การจัดการความเสี่ยงในชุมชน

2.การเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาเชิงรุกในชุมชน  (Active Community based Surveillance) เพื่อให้มีระบบค้นหาปัญหาเชิงรุก การสร้างระบบเฝ้าระวังด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน และวางระบบเชื่อมต่อการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาในชุมชนและสถานบริการสุขภาพส่งต่อไปสู่การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา

3.การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Community Participation) เพื่อสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังและจัดการปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุผล โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของชุมชนให้สามารถจัดการปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุผลในชุมชน

4.การส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในภาคเอกชน (Good Private Sector) เช่น ร้านชำ ร้านยา คลินิก โรงพยาบาลเอกชน โดยสร้างการมีส่วนร่วมและส่งเสริมให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในสถานบริการสุขภาพภาคเอกชนและสถานที่จำหน่ายยา รวมถึงร้านชำ หรือร้านสะดวกซื้อ ไม่จำหน่ายยาที่ห้ามจำหน่าย

5.การสร้างความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของประชาชน (RDU Literacy) เพื่อพัฒนากลไกการสร้างความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน รวมถึงการประเมินผล

ระดับความสำเร็จ

คำอธิบาย

ระดับ 1

1.จังหวัดออกแบบระบบบริหารจัดการ ได้แก่ กำหนดองค์ประกอบ โครงสร้างการจัดการ ระบบข้อมูลสารสนเทศ ระบบติดตามประเมินผล และระบบอื่นที่เกี่ยวข้อง

๒.โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่งในพื้นที่อำเภอเป้าหมาย หรือศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. หรือหน่วยบริการสุขภาพสังกัดอื่น ที่สมัครใจ ดำเนินการ Proactive Hospital based surveillance

ระดับ 2

ผ่านเกณฑ์ระดับ 1 และดำเนินการกิจกรรมหลัก Active Community based Surveillance

ระดับ 3

ผ่านเกณฑ์ระดับ 2 และดำเนินการกิจกรรมหลัก community participation

ระดับ 4

ผ่านเกณฑ์ระดับ 3 และมีการดำเนินการกิจกรรมหลักที่เหลือ อย่างน้อย 1 ข้อ

ระดับ 5

ดำเนินการครบ 5 กิจกรรมหลัก

รายละเอียดการประเมินการดำเนินการในแต่ละกิจกรรมหลัก ดูในแนวทางการพัฒนาการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน  จากเว็บไซต์ http://ndi.fda.moph.go.th/drug_use

หน่วยตัวชี้วัดร้อยละ
หน่วยของค่า Aแห่ง
นิยามของค่า Aจำนวนโรงพยาบาลที่ผ่าน RDU ขั้น 3
หน่วยของค่า Bแห่ง
นิยามของค่า Bจำนวนโรงพยาบาลทั้งหมด
หน่วยของค่า C
นิยามของค่า C
หน่วยของค่า D
นิยามของค่า D
หน่วยของค่า E
นิยามของค่า E
หน่วยของค่า F
นิยามของค่า F
สูตรคำนวนตัวชี้วัด(A/B)x100
Operator>=
เกณฑ์เป้าหมายRDU ขั้นที่ 3 32%
ประชากรกลุ่มเป้าหมายโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน หรือโรงพยาบาลที่เทียบเท่า หน่วยบริการปฐมภูมิ และชุมชน ซึ่งเป็นพื้นที่ระดับอำเภอ
ค่าเป้าหมาย32.00
Max Value100.00
วิธีการจัดเก็บข้อมูล

RDU hospital: รายงานกองบริหารการสาธารณสุข

แหล่งข้อมูล

RDU : ข้อมูลจากโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน

ตัวชี้วัดระดับกระทรวง-
ตัวชี้วัดระดับเขต-
ตัวชี้วัดระดับจังหวัด-
ตัวชี้วัดสำคัญ-
ตัวชี้วัด Area Base-
Tags
ระยะเวลาการประเมินผลทุก 3 เดือน
ข้อมูล Baseline

Baseline data (RDU)

หน่วยวัด

ผลการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณ พ.ศ.

2561

2562

2563

2561

ร้อยละ

RDU ขั้น 1

ร้อยละ 95.30 และ RDU ขั้น 2 ร้อยละ 11.62

(ไม่ผ่านเกณฑ์เป้าหมาย        ร้อยละ 15)

RDU ขั้นที่ 1 ร้อยละ 100  RDU ขั้นที่ 2

ร้อยละ    44.92 

ผ่านตามเกณฑ์เป้าหมาย)

(RDU ขั้นที่ 3 ร้อยละ  17.54)

RDU ขั้นที่ 2        ร้อยละ 58.04

RDU ขั้นที่ 3   ร้อยละ 29.35

(ณ ไตรมาส 4/2563)

 
เกณฑ์การประเมินผล

 

 

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12เดือน

  • RDU ขั้นที่ 2 ≥ 58 %
  • RDU ขั้นที่ 3 ≥ 29 %
  • RDU ขั้นที่ 2 ≥ 59 %
  • RDU ขั้นที่ ๓ ≥ 30 %
  • RDU ขั้นที่ 2 ≥ 61 %
  • RDU ขั้นที่ 3 ≥ 31 %
  • RDU ขั้นที่ 2 ≥ 62 %
  • RDU ขั้นที่ ๓ ≥ 32 %
วิธีการประเมินผล

RDU hospital: การรายงาน และการวิเคราะห์เปรียบเทียบผล

เอกสารสนับสนุน

1.รายการตัวชี้วัดเพื่อประเมินระดับการพัฒนาสู่การเป็นหน่วยบริการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล

2.แนวทางการพัฒนาการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน

ผู้ให้ข้อมูลทางวิชาการ/ผู้ประสานงานตัวชี้วัด

1. ภญ.นุชรินธ์  โตมาชา                      เภสัชกรชำนาญการ

โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-5907155              โทรศัพท์มือถือ : 061-7317779    

โทรสาร : 02-5907341                          E-mail : nuchy408@gmail.com     

สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (ตัวชี้วัด RDU)

2. ภญ.นภาภรณ์ ภูริปัญญวานิช              เภสัชกรชำนาญการ    

โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-5907155               โทรศัพท์มือถือ : 081-9529663    

โทรสาร : 02-5907341                          E-mail : pharmui30@gmail.com

สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (ตัวชี้วัด RDU)

3. ภญ.ไพรำ บุญญะฤทธิ์                        เภสัชกรชำนาญการ    

โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-5901628                โทรศัพท์มือถือ : 092-3953289    

โทรสาร : 02-5901634                            E-mail : praecu@gmail.com    

สำนักบริหารการสาธารณสุข (ตัวชี้วัด RDU และ AMR และระบบรายงาน) 

หน่วยงานประมวลผลและจัดทำข้อมูล (ระดับส่วนกลาง)

กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (RDU)

ผู้รับผิดชอบการรายงานผลการดำเนินงาน

นางกมลรัตน์ นุตยกุล                                เภสัชกรชำนาญการพิเศษ

โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-590 7392                    โทรศัพท์มือถือ : 081-897-7830

โทรสาร : 02-5918486                                E-mail : maew05rx@fda.moph.go.th

กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (RDU)

รหัสจังหวัดตัวชี้วัด Area base0
Areabase Kpi Regioncode0
หมายเหตุ
Last Update2021-10-20 15:09:30
Download
Log ผลการดำเนินงาน >>