อัตราความสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่ขึ้นทะเบียน ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ 2563 (เดือนตุลาคม – ธันวาคม 2562

ผลการดำเนินงาน >>

Update Delete

ชื่อตัวชี้วัดอัตราความสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่ขึ้นทะเบียน ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ 2563 (เดือนตุลาคม – ธันวาคม 2562
Child KPIสร้าง KPI ย่อย
ปีงบประมาณ2563
ระดับตัวชี้วัดประเทศ
ตัวชี้วัดที่025.1
Sort Order0
คำนิยาม

1 ความสำเร็จการรักษา หมายถึง ผู้ป่วยวัณโรคที่มีผลการรักษาหายรวมกับรักษาครบ

                 1.1 ความสำเร็จของการดำเนินงานป้องกันควบคุมวัณโรค หมายถึง การสนับสนุนพื้นที่ จังหวัด โรงพยาบาล แก้ไขปัญหาวัณโรคให้สอดคล้อง วินิจฉัย การรักษา และการป้องกันควบคุมวัณโรคตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

  1.2 ความสำเร็จการรักษา หมายถึง ผู้ป่วยวัณโรคที่มีผลการรักษาหายรวมกับรักษาครบ

                   1.2.1 รักษาหาย (Cured) หมายถึง ผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีผลตรวจพบเชื้อวัณโรคทางห้องปฏิบัติการยืนยันเมื่อเริ่มการรักษา และต่อมาตรวจไม่พบเชื้อวัณโรคทางห้องปฏิบัติการอย่างน้อยหนึ่งครั้งก่อนสิ้นสุดการรักษาและในเดือนสุดท้ายของการรักษา

                   1.2.2 รักษาครบ (Treatment Completed) หมายถึง ผู้ป่วยวัณโรคที่รักษาครบกำหนดโดยไม่มีหลักฐานที่แสดงว่าการรักษาล้มเหลว ซึ่งผู้ป่วยดังกล่าวไม่มีเอกสารที่แสดงผลการตรวจเสมหะในเดือนสุดท้ายของการรักษา ทั้งนี้มีผลตรวจเสมหะอย่างน้อยหนึ่งครั้งก่อนสิ้นสุดการรักษา เป็นลบรวมทั้งผู้ป่วยที่ไม่ได้ตรวจหรือไม่มีผลตรวจ

2 ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ หมายถึง ผู้ป่วยที่ไม่เคยรักษาวัณโรคมาก่อนและผู้ป่วยที่รักษาวัณโรคน้อยกว่า 1 เดือน โดยไม่เคยขึ้นทะเบียนในแผนงานวัณโรคแห่งชาติ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

2.1 ผู้ป่วยที่มีผลตรวจยืนยันพบเชื้อ (Bacteriologically confirmed: B+) หมายถึง ผู้ป่วยที่มีผลตรวจเสมหะเป็นบวก อาจจะเป็นการตรวจด้วยวิธี Smear microscopy หรือ culture หรือวิธี Molecular หรือ วิธีการอื่นๆที่องค์การอนามัยโลกรับรอง

2.2 ผู้ป่วยที่วินิจฉัยด้วยลักษณะทางคลินิก (Clinically diagnosed: B - ) หมายถึง ผู้ป่วยที่มีผลตรวจเสมหะ เป็นลบ แต่ทำการวินิจฉัยด้วยวิธีการตรวจเอ็กซเรย์รังสีทรวงอก หรือมีลักษณะทางคลินิกเข้าได้กับวัณโรค

3 กลุ่มเป้าหมาย

3.1.การประเมินอัตราความสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ คือ ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่ขึ้นทะเบียน ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ 2563 (เดือนตุลาคม – ธันวาคม 2562) ที่เป็นผู้ป่วยไทย ไม่ใช่คนไทย และผู้ป่วยในเรือนจำ ที่รักษาในโรงพยาบาลรัฐทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ไม่รวมโรงพยาบาลเอกชน

3.2.การประเมินร้อยละความครอบคลุมการรักษาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำ (TB Treatment Coverage)คือ ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำที่ขึ้นทะเบียนในปีงบประมาณ 2563 (1 ตุลาคม 2562–30 กันยายน 2563) ที่เป็นผู้ป่วยไทยและผู้ป่วยในเรือนจำ ที่รักษาในโรงพยาบาลรัฐทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลเอกชน

4หน่วยงานที่ดำเนินการ ประกอบด้วย

4.1กองวัณโรค กรมควบคุมโรค รับผิดชอบดำเนินงานตามแผนงานควบคุมโรคของประเทศ

4.2 สำนักงานเขตสุขภาพที่ 1-12 และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1-12 รับผิดชอบแผนงานควบคุมวัณโรคระดับเขต (Regional Program)

5 ระบบข้อมูลผู้ป่วยวัณโรค หมายถึงโปรแกรมบริหารจัดการข้อมูลรายป่วยวัณโรคระดับชาติ(โปรแกรม NTIP online) หรือ ระบบการจัดเก็บข้อมูลผู้ป่วยวัณโรคผ่านระบบออนไลน์ หรือระบบรายงานผู้ป่วยที่ทางกรมควบคุมโรคกำหนด

หน่วยตัวชี้วัดร้อยละ
หน่วยของค่า Aราย
นิยามของค่า Aจำนวนผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ ที่ขึ้นทะเบียน ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ 2563 (เดือนตุลาคม – ธันวาคม 2562) โดยมีผลการรักษาหาย (Cured) รวมกับรักษาครบ (Completed) โดยครบรอบรายงานผลการรักษาวันที่ 30 กันยายน 2563
หน่วยของค่า Bราย
นิยามของค่า Bจำนวนผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ ที่ขึ้นทะเบียน ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ 2563 (เดือนตุลาคม – ธันวาคม 2562)
หน่วยของค่า C
นิยามของค่า C
หน่วยของค่า D
นิยามของค่า D
หน่วยของค่า E
นิยามของค่า E
หน่วยของค่า F
นิยามของค่า F
สูตรคำนวนตัวชี้วัด(A/B)x100
Operator>=
เกณฑ์เป้าหมาย85
ประชากรกลุ่มเป้าหมายผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่ขึ้นทะเบียน ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ 2563 (เดือนตุลาคม – ธันวาคม 2562) ที่เป็นผู้ป่วยไทย ไม่ใช่คนไทย และผู้ป่วยในเรือนจำ ที่รักษาในโรงพยาบาลรัฐทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ไม่รวมโรงพยาบาลเอกชน
ค่าเป้าหมาย85.00
Max Value100.00
วิธีการจัดเก็บข้อมูล

บันทึกข้อมูลผู้ป่วยวัณโรค ผ่านโปรแกรมบริหารจัดการข้อมูลรายป่วยวัณโรคระดับชาติ (โปรแกรม NTIP online) หรือ ระบบการจัดเก็บข้อมูลผู้ป่วยวัณโรคผ่านระบบออนไลน์ หรือ ระบบรายงานผู้ป่วยที่ทางกรมควบคุมโรคกำหนด

แหล่งข้อมูล

โปรแกรมบริหารจัดการข้อมูลรายป่วยวัณโรคระดับชาติ(NTIP online) หรือ ระบบการจัดเก็บข้อมูลผู้ป่วยวัณโรคผ่านระบบออนไลน์ หรือ ระบบรายงานผู้ป่วยที่ทางกรมควบคุมโรคกำหนด

ตัวชี้วัดระดับกระทรวง-
ตัวชี้วัดระดับเขต-
ตัวชี้วัดระดับจังหวัด-
ตัวชี้วัดสำคัญ-
ตัวชี้วัด Area Base-
Tags
ระยะเวลาการประเมินผล ระยะเวลาประเมินผลในไตรมาสที่ 4  ครบรอบรายงานและประเมินผลวันที่ 30 กันยายน 2563  ติดตามความก้าวหน้าของผลการดำเนินงานตามมาตรการ ทุกไตรมาส
ข้อมูล Baseline

Baseline data

หน่วยวัด

ผลการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณ พ.ศ.

2560

2561

2562

อัตราความสำเร็จการรักษาวัณโรคปอดรายใหม่**

ร้อยละ

84.2

85

85.7

 

หมายเหตุ ** อัตราความสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ ที่ขึ้นทะเบียน ในไตรมาสที่ 1 ของแต่ละปีงบประมาณ

เกณฑ์การประเมินผล

 

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9เดือน

รอบ 12เดือน

อัตราสำเร็จของการรักษาวัณโรคปอดรายใหม่

-

-

-

ร้อยละ 85

ร้อยละความครอบคลุมการรักษาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำ

-

-

-

ร้อยละ 82.5

 

 

 

 

 

 

 

หมายเหตุ :

ครบรอบรายงานและประเมินผลการรักษาวันที่ 30กันยายน 2563 เพื่อนำผลการรักษา (Outcome) ไปรายงานเป็นผลลัพธ์ของตัวชี้วัด ภายในวันที่ 30 กันยายน 2563

วิธีการประเมินผล

ใช้อัตราความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่ขึ้นทะเบียน ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ 2563(เดือนตุลาคม – ธันวาคม 2562)แยกเป็นระดับจังหวัด และเขตสุขภาพ

แนวทางการประเมินผล

1 ระดับประเทศ  โดยกรมควบคุมโรค (กองวัณโรค)

ประเมินจากอัตราความสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ ที่ขึ้นทะเบียน

ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ 2563(เดือนตุลาคม – ธันวาคม 2562) ในภาพรวมของประเทศ

2 ระดับเขตสุขภาพ/สำนักงานป้องกันควบคุมโรค

ประเมินจากอัตราความสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ ที่ขึ้นทะเบียน

ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ 2563(เดือนตุลาคม – ธันวาคม 2562) ในระดับพื้นที่

3 ระดับจังหวัด

ประเมินจากอัตราความสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ ที่ขึ้นทะเบียน

ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ 2563(เดือนตุลาคม – ธันวาคม 2562) ในภาพของหน่วยงาน/หน่วยบริการภายในจังหวัด

เอกสารสนับสนุน

1.แนวทางการดำเนินงานวัณโรคแห่งชาติ

2.ระบบข้อมูลผู้ป่วยวัณโรครายบุคคล

ผู้ให้ข้อมูลทางวิชาการ/ผู้ประสานงานตัวชี้วัด

กรมควบคุมโรค  สำนักวัณโรค

1. แพทย์หญิงผลิน  กมลวัทน์                ผู้อำนวยการสำนักวัณโรค

    โทรศัพท์ที่ทำงาน: 0 2212 9187        โทรศัพท์มือถือ : 08 4605 6710

    โทรสาร : 0 2212 5935                 E-mail : phalin1@hotmail.com

2. นายบุญเชิด กลัดพ่วงนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ

    โทรศัพท์ที่ทำงาน: 0 2212 9187        โทรศัพท์มือถือ : 089 6801650

    โทรสาร : 0 2212 5935                 E-mail : bkladphuang

3. นายอรรถกร  จันทร์มาทอง                นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

    โทรศัพท์ที่ทำงาน: 0 2212 9187        โทรศัพท์มือถือ : 096 982 4196

    โทรสาร : 0 2212 5935                 E-mail : auttagorn@gmail.com

4. นางวิลาวัลย์  แดงสะอาด                  นักรังสีการแพทย์ชำนาญการ

    โทรศัพท์ที่ทำงาน:  0 2212 2279 ต่อ 1252 โทรศัพท์มือถือ : 081 318 9424

    โทรสาร : 0 2212 5935                 E-mail : wdangsaard @ yahoo.com

หน่วยงานประมวลผลและจัดทำข้อมูล (ระดับส่วนกลาง)

นางสาววิลาวรรณ  สมทรง                   หัวหน้ากลุ่มเฝ้าระวังและพัฒนาข้อมูลวัณโรค

โทรศัพท์ที่ทำงาน: 0 2212 2279        โทรสาร : 0 2212 5935 

E-mail : swillwan@yahoo.com

กรมควบคุมโรค  สำนักวัณโรค

ผู้รับผิดชอบการรายงานผลการดำเนินงาน

นายอรรถกร  จันทร์มาทอง                นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

โทรศัพท์ที่ทำงาน: 0 2212 9187  โทรศัพท์มือถือ : 096 982 4196

โทรสาร : 0 2212 5935           E-mail : auttagorn@gmail.com

กรมควบคุมโรค  กองวัณโรค

รหัสจังหวัดตัวชี้วัด Area base0
Areabase Kpi Regioncode0
หมายเหตุ
Last Update2021-03-24 14:22:39
Download
Log ผลการดำเนินงาน >>