ร้อยละของประชากรสูงอายุที่มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

ผลการดำเนินงาน >>

Update Delete

ชื่อตัวชี้วัดร้อยละของประชากรสูงอายุที่มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
Child KPIสร้าง KPI ย่อย
ปีงบประมาณ2563
ระดับตัวชี้วัดประเทศ
ตัวชี้วัดที่008
Sort Order0
คำนิยาม

ผู้สูงอายุ หมายถึง ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป

ชมรมผู้สูงอายุ  หมายถึง ชมรมที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานคร อยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์บริการสาธารณสุข

พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ด้านร่างกาย หมายถึง พฤติกรรมสุขภาพในระหว่าง 6 เดือนที่ผ่านมา     ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมหรือการปฏิบัติตัว ดังต่อไปนี้

  1. มีกิจกรรมทางกาย/ออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน ครั้งละ 30 นาที

      หรือ มีกิจกรรมทางกายสะสม 150 นาที / สัปดาห์

    2. รับประทานผัก ผลไม้สด เป็นประจำ

    3. ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว

    4. ไม่สูบบุหรี่ /ไม่สูบยาเส้น

    5. ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ (เช่น สุรา  เบียร์  ยาดองเหล้า)

หมายเหตุ:

1.  ผ่านการประเมินทั้ง 5 ข้อ ถือว่าผ่านการประเมินพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

2.  กิจกรรมทางกายคือการเคลื่อนไหวของร่างกายเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อและทำให้ร่างกายมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นจากขณะพัก ประกอบด้วย การทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การทำงานบ้าน การทำงานอาชีพที่ต้องใช้แรงกาย การเดินทางด้วยจักรยานหรือเดินทาง เดินขึ้นบันได และกิจกรรมยามว่าง เช่น ออกกำลังกาย เล่นกีฬา วิ่ง ปั่นจักรยาน และการท่องเที่ยว (ที่มา : แผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ.2561-2573)

3.  รับประทานผัก เป็นประจำ (ผัก 1 ส่วน หมายถึง ผักสุก 1 ทัพพี ผักสด 2 ทัพพี)

4.  รับประทานผลไม้สด เป็นประจำ (ผลไม้ 1 ส่วน หมายถึง ผลไม้ 6 - 8 ชิ้นคำ)

5.  อ้างอิงดัชนีที่ 8 ตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545 - 2564) ฉบับปรับปรุง   ครั้งที่ 1 พ.ศ.2552

พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ด้านจิตใจ หมายถึง ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมที่เข้าร่วมกิจกรรมสร้างสุข 5 มิติในชมรมผู้สูงอายุ ได้รับการประเมินสุขภาพจิตด้วยแบบประเมินสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ฉบับสั้น และมีผลคะแนนสุขภาพจิตเท่ากับคนทั่วไปถึงสุขภาพจิตดีกว่าคนทั่วไป(คะแนน 43 คะแนนขึ้นไป)

กิจกรรมสร้างสุข 5 มิติ  หมายถึง การจัดกิจกรรมในการพัฒนาความสุขทั้ง 5 ด้าน ให้กับผู้สูงอายุเพื่อให้เกิดความสุขทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ตามเทคโนโลยีการจัดกิจกรรมสร้างสุข 5 มิติ ประกอบด้วย

1. สุขสบาย (Happy Health) กิจกรรมส่งเสริมการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง คล่องแคล่ว ชะลอความเสื่อมและคงสมรรถภาพทางกายให้นานที่สุด

2. สุขสนุก (Recreation) กิจกรรมนันทนาการที่สร้างความสดชื่น สร้างพลังความมีชีวิตชีวาอย่างสร้างสรรค์ เพื่อลดความซึมเศร้า ความเครียด และความวิตกกังวล

3. สุขสง่า (Integrity) กิจกรรมที่ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ตระหนักถึงคุณค่าในตนเอง มีพฤติกรรมช่วยเหลือผู้อื่นในสังคม และเกิดมุมมองต่อการใช้ชีวิตในเชิงบวก

4. สุขสว่าง (Cognition ) กิจกรรมที่ช่วยชะลอความเสื่อมทางสมอง เพิ่มไหวพริบความจำ การมีสติ การคิดอย่างมีเหตุผล และการจัดการกับสิ่งต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

5. สุขสงบ (Peacefulness) กิจกรรมการรับรู้เข้าใจความรู้สึกของตนเอง รู้จักควบคุมอารมณ์ สามารถจัดการอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้ และสามารถผ่อนคลายให้เกิดความสุขสงบกับตนเองได้ (ตาม Flowchart)

ผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิต หมายถึง ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน  ติดเตียง ที่มีผลการคัดกรองโรคซึมเศร้า แบบ 2 คำถาม (2Q) ผิดปกติ (ตั้งแต่ 1 คะแนนขึ้นไป) จากระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (Health Data Center: HDC) สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานครใช้ข้อมูลจากสำนักอนามัย

การดูแลทางสังคมจิตใจ หมายถึง การดูแลแบบองค์รวมทั้งทางด้านจิตใจ อารมณ์สังคมและจิตวิญญาณ ตามชุดความรู้การดูแลด้านสังคมจิตใจผู้สูงอายุป่วยเรื้อรังที่ติดบ้าน        ติดเตียง  ประกอบด้วย

1. การสังเกตดูแลใจอย่างองค์รวม  เป็นการสังเกตด้วยความใส่ใจ ถึงสิ่งแวดล้อม ร่างกาย อารมณ์และพฤติกรรมของผู้สูงอายุมองให้เห็นสิ่งที่เป็นอันตราย ความเสี่ยง

2. การใส่ใจเข้าใจปัญหา การใช้ทักษะการถาม การฟังอย่างใส่ใจ เข้าใจ เห็นอกเห็นใจ ฟังด้วยใจ หรือการใช้แบบคัดกรองทางสุขภาพจิตเพื่อให้รับทราบถึงปัญหาและให้การช่วยเหลือที่เหมาะสม

3. การเสริมสร้างดูแลใจ การให้การช่วยเหลือตามปัญหาที่พบทั้งทางด้านสังคม อารมณ์และจิตใจของผู้สูงอายุและครอบครัว โดยการใช้ทักษะการฟังเพื่อให้ผู้สูงอายุได้ระบาย การพูดคุยให้กำลังใจ การสื่อสารเพื่อสร้างคุณค่า และการปรับความคิดของผู้สูงอายุ

4. การส่งต่อเชื่อมโยง โดยประสานหน่วยงานหรือแหล่งที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ตามสภาพปัญหาและอาการที่พบ (ตาม Flowchart)

หน่วยตัวชี้วัดร้อยละ
หน่วยของค่า Aคน
นิยามของค่า Aจำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการประเมินมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
หน่วยของค่า Bคน
นิยามของค่า Bจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมดที่ได้รับการประเมิน
หน่วยของค่า C
นิยามของค่า C
หน่วยของค่า D
นิยามของค่า D
หน่วยของค่า E
นิยามของค่า E
หน่วยของค่า F
นิยามของค่า F
สูตรคำนวนตัวชี้วัด(A/B)x100
Operator>=
เกณฑ์เป้าหมายร้อยละ 60
ประชากรกลุ่มเป้าหมาย1. ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 1 ของประชากรสูงอายุทั้งหมดของพื้นที่ 2. ผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิต (ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง ที่มีผลการคัดกรองโรคซึมเศร้า แบบ 2 คำถาม (2Q) ผิดปกติ (ตั้งแต่ 1 คะแนนขึ้นไป) จากระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (Health Data Center: HDC) สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานครใช้ข้อมูลจากสำนักอนามัย )
ค่าเป้าหมาย60.00
Max Value100.00
วิธีการจัดเก็บข้อมูล

1. สุ่มสำรวจผู้สูงอายุในพื้นที่เขตสุขภาพตามระเบียบวิธีวิจัย

2. แบบรายงานสรุปผลการดำเนินงาน /รายงานตามระบบโปรแกรมรายงาน

3. ข้อมูลในระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (Health Data Center : HDC)

4. แบบรายงานข้อมูลชมรมที่ร่วมดำเนินการ

แหล่งข้อมูล

1. ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ(Health Data Center : HDC)

2. สำนักอนามัยผู้สูงอายุ และ Cluster กลุ่มผู้สูงอายุ ,สำนักอนามัย (กรณีพื้นที่ กทม.) และกองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต

3. ศูนย์อนามัยที่ 1 - 12 และศูนย์สุขภาพจิตที่1 - 13

4. ระบบการให้บริการสมุดสุขภาพประชาชน Health For you (H4U)

5. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ,โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล , โรงพยาบาลชุมชน , องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น . และสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง

ตัวชี้วัดระดับกระทรวง-
ตัวชี้วัดระดับเขต-
ตัวชี้วัดระดับจังหวัด-
ตัวชี้วัดสำคัญ-
ตัวชี้วัด Area Base-
Tags
ระยะเวลาการประเมินผลปีงบประมาณละ 2 ครั้ง (ครึ่งปีงบประมาณแรกและครึ่งปีงบประมาณหลัง)
ข้อมูล Baseline

Baseline data

หน่วยวัด

ผลการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณ พ.ศ.

2559

2561

2562

-พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

 

 

-พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ด้านจิตใจ (ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตดี)

ร้อยละ

27.8

(จากการประเมินแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ

-

 

54.4

(จากการสำรวจของกรมอนามัย)

-

 

 

 

52

(จากการสำรวจของกรมอนามัย)

รอผล

 
เกณฑ์การประเมินผล

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

1. มีการทบทวนสถานการณ์ สุขภาพผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มเสี่ยง และมีการวางแผน/โครงการ /Gap analysis

2. มีการทบทวน/จัดทำ/พัฒนาสื่อฯ เครื่องมือInnovation (แนวทาง คู่มือ มาตรฐานนวัตกรรม หลักสูตร)
3. มีการเตรียม/จัดทำเครื่องมือ สื่อ คู่มือ แนวทาง มาตรฐานฯ

1. มีสื่อ เครื่องมือ Innovation (แนวทาง คู่มือ นวัตกรรม หลักสูตร)

2. มีบุคลากรและภาคีเครือข่าย ที่ได้รับการพัฒนา
3. มีการชี้แจง/อบรม การใช้เครื่องมือ/คู่มือ/หลักสูตร
4. มีการดำเนินการแล้วเสร็จร้อยละ 40

 

1. มีบุคลากรและภาคีเครือข่าย ที่ได้รับการพัฒนา
2. มีการนำเครื่องมือ/คู่มือ/หลักสูตร ไปใช้
3. มีการดำเนินการแล้วเสร็จร้อยละ 80
4. มีการกำกับ ติดตาม เยี่ยมเสริมพลัง
5. มีการประเมินผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือน

1. มีการดำเนินการแล้วเสร็จร้อยละ 100
2. มีการกำกับติดตาม เยี่ยม เสริมพลัง รอบ 12 เดือน
3. มี KPI บรรลุ ตามเป้าหมาย
4. มีวางแผนดำเนินงานปี 64

 

วิธีการประเมินผล

1. สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย

2. คู่มือแนวทางการดำเนินงานอำเภอสุขภาพดี 80 ปี ยังแจ๋ว

3. คู่มือแนวทางการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว

4. พิจารณาจากคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ(Health Data Center : HDC)

5. คำนวณข้อมูลจากแบบรายงาน

6. ผลการสำรวจสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ด้วยวิธีการทางสถิติ

เอกสารสนับสนุน

1. สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย

2. คู่มือแนวทางการดำเนินงานอำเภอสุขภาพดี 80 ปี ยังแจ๋ว

3. คู่มือแนวทางการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว

4.  เทคโนโลยีการจัดกิจกรรมสร้างสุข 5 มิติ

5. คู่มือฝึกอบรมการดูแลด้านสังคมจิตใจผู้สูงอายุป่วยเรื้อรังที่ติดบ้าน ติดเตียง

6. ชุดความรู้การดูแลด้านสังคมจิตใจผู้สูงอายุป่วยเรื้อรังที่ติดบ้าน  ติดเตียง

7. แบบประเมินสุขภาพจิตผู้สูงอายุฉบับสั้น (Thai Geriatric Mental Health Assessment:T-GMHA-15)

ผู้ให้ข้อมูลทางวิชาการ/ผู้ประสานงานตัวชี้วัด

1.นายแพทย์กิตติ  ลาภสมบัติศิริ   ผู้อำนวยการสำนักอนามัยผู้สูงอายุ   กรมอนามัย

   โทรศัพท์ 02 5904503                     E- mail : kitti.l@anamai.mail.go.th

สถานที่ทำงาน สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย

2. นางสุดา วงศ์สวัสดิ์ ตำแหน่ง  ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต

   โทรศัพท์ที่ทำงาน :02 590 8175         โทรศัพท์มือถือ :

   โทรสาร :                                   E-mail :

สถานที่ทำงาน กองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต

หน่วยงานประมวลผลและจัดทำข้อมูล (ระดับส่วนกลาง)

- คณะกรรมการพัฒนานโยบายและขับเคลื่อนระบบสุขภาพเพื่อรองรับสังคมสูงอายุกระทรวงสาธารณสุข

- คณะทำงานจัดทำแผนและแนวทางการขับเคลื่อนระบบสุขภาพเพื่อรองรับสังคมสูงอายุ กระทรวงสาธารณสุข

ผู้รับผิดชอบการรายงานผลการดำเนินงาน

1. นางสาวอุบลวรรณ นิยมจันทร์   ตำแหน่ง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ       โทรศัพท์มือถือ : 099 245 9397

2. นางสาวณัฐนรี ขิงจัสตุรัส             ตำแหน่ง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ      โทรศัพท์มือถือ : 081 750 7656

3. นางสาวศิรินภา ยะจา                   ตำแหน่ง นักวิเคราะห์นโยบายและแผน                    โทรศัพท์มือถือ : 095 954 9973

4. นายสรวิศ ดาลุนสิม                     ตำแหน่ง นักวิเคราะห์นโยบายและแผน                     โทรศัพท์มือถือ : 082 797 1759

โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02 590 1384   ,   โทรสาร : 02 590 2459                  

E-mail : spd.policy@gmail.com

สถานที่ทำงาน  กลุ่มพัฒนานโยบายด้านสุขภาพ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน

รหัสจังหวัดตัวชี้วัด Area base0
Areabase Kpi Regioncode0
หมายเหตุ
Last Update2021-03-24 14:22:39
Download
Log ผลการดำเนินงาน >>