RDU ขั้นที่ 3

ผลการดำเนินงาน >>

Update Delete

ชื่อตัวชี้วัดRDU ขั้นที่ 3
Child KPIสร้าง KPI ย่อย
ปีงบประมาณ2563
ระดับตัวชี้วัดประเทศ
ตัวชี้วัดที่026.2
Sort Order0
คำนิยาม

(1) RDU : โครงการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU)

(1) RDU เป็นการประเมินการดำเนินงานระดับอำเภอ โดยมีโรงพยาบาล/ศูนย์บริการสาธารณสุข เป็นหน่วยงานหลักในการประสานเชื่อมโยงกับหน่วยงานระดับที่สูงกว่า ระดับเดียวกันหรือระดับรองลงมา ซึ่งประกอบด้วยการประเมิน RDU Hospital, RDU PCU และ RDU in community

- RDU Hospital หมายถึงโรงพยาบาลสังกัดสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข (รพศ./รพท./รพช.)/โรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์/โรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต/โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย/โรงพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณสุข สังกัดกรุงเทพมหานคร

- RDU PCU หมายถึง รพ.สต.และหน่วยบริการปฐมภูมิที่เรียกในชื่ออื่น

- RDU community หมายถึงการดำเนินการเพื่อทำให้เกิด RDU  ในระดับอำเภอ/เขตของกรุงเทพมหานคร

1.1 การพัฒนาสู่การเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล มี 3 ระดับดังนี้

  • RDU ขั้นที่ 1 หมายถึงการดำเนินการผ่านเงื่อนไขต่อไปนี้

RDU Hospital (R1)

RDU PCU (R2)

  1. อัตราการสั่งใช้ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
  2. การดำเนินงานของ PTC ผ่านเกณฑ์ระดับ 3
  3. รายการยาที่ควรพิจารณาตัดออก 8 รายการ ซึ่งยังคงมีอยู่ในบัญชีรายการยาของโรงพยาบาลไม่เกิน 1 รายการ
  4. จัดทำฉลากยามาตรฐาน ผ่านเกณฑ์ระดับ 3
  5. การส่งเสริมจริยธรรมในการจัดซื้อจัดหายาและการส่งเสริมการขายยา ผ่านระดับ 3

จำนวน รพ.สต.ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของ รพ.สต.ทั้งหมดในเครือข่ายระดับอำเภอที่มีอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนและโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันผ่านเกณฑ์เป้าหมายทั้ง 2 โรค

 

  • RDU ขั้นที่ 2 หมายถึง การดำเนินการผ่านเงื่อนไขต่อไปนี้

RDU Hospital (R1)

RDU PCU (R2)

  1. ผลการดำเนินงานของตัวชี้วัด จำนวน 5 ตัวชี้วัดตาม RDU ขั้นที่ 1
  2. อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน โรคอุจาระร่วงเฉียบพลัน แผลสดอุบัติเหตุ และสตรีคลอดปกติครบกำหนดคลอดทางช่องคลอด ไม่เกินค่าเฉลี่ยของประเทศ ทั้ง 4 ตัวชี้วัด (ปี 2562 เกณฑ์ RI รพศ./รพท. ≤ 30 % และ รพช.≤ 20 %, AD ≤ 20 %, FTW ≤ 50 %, APL ≤ 15 %)
  3. การใช้ยา NSAIDsผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระดับ 3 ขึ้นไป ไม่เกินร้อยละ10
  4. การใช้ยา glibenclamide ในผู้ป่วยสูงอายุ หรือไตทำงานบกพร่อง ไม่เกินร้อยละ 5
  5. การไม่ใช้ยาที่ห้ามใช้ในสตรีตั้งครรภ์ ได้แก่ warfarin*, statins, ergots (* ยกเว้นกรณีใส่ mechanical heart valve)

จำนวน รพ.สต.ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของ รพ.สต.ทั้งหมดในเครือข่ายระดับอำเภอ ที่มีอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนและโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันผ่านเกณฑ์เป้าหมายทั้ง 2 โรค

(เกณฑ์ RI ≤ 20 %, AD ≤ 20 %)

  • RDU ขั้นที่ 3 หมายถึง การดำเนินการผ่านเงื่อนไขต่อไปนี้

RDU Hospital (R1)

RDU PCU (R2)

  1. ผลการดำเนินงานผ่านตามเกณฑ์ในคู่มือ RDU Service plan ครบทั้ง 18 ตัวชี้วัด
    (หมายเหตุ เกณฑ์ในคู่มือ RI ≤ 20 %, AD ≤ 20 %, FTW ≤ 40 %, APL ≤ 10 %)

 

จำนวน รพ.สต.ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ รพ.สต.ทั้งหมดในเครือข่ายระดับอำเภอ ที่มีอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนและโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันผ่านเกณฑ์เป้าหมายทั้ง 2 โรค

 

 

  • RDU ขั้นที่ 3 plus  หมายถึง การดำเนินการผ่านเงื่อนไขต่อไปนี้

RDU Hospital (R1)

RDU PCU (R2)

  1. ผลการดำเนินงานผ่านตามตัวชี้วัด 18 ตัวชี้วัด ตามเกณฑ์ในคู่มือ RDU Service plan
  2. ตัวชี้วัดเฉพาะตามสภาพปัญหา (problem based indicators) โดยอาจเป็นตัวชี้วัดร่วมระดับเขต ระดับเครือข่าย รพ. หรือเฉพาะระดับ รพ. หรือตัวชี้วัดตามกลุ่มโรค/กลุ่มยา ที่เป็นปัญหาใน service plan อื่น

จำนวน รพ.สต. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ รพ.สต.ทั้งหมดในเครือข่ายระดับอำเภอ ที่มีอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนและโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันผ่านเกณฑ์เป้าหมายทั้ง 2 โรค

1.2.การส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน (RDU Community) (ดูคำนิยามในหมายเหตุท้ายเอกสาร)

เกณฑ์ผ่านตัวชี้วัด: ระดับความสำเร็จการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน ผ่านเกณฑ์ระดับ 3

หน่วยวัด ระดับจังหวัด

คำอธิบาย      แต่ละจังหวัด มีการออกแบบบริหารจัดการเพื่อให้มีการดำเนินงานส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน อย่างน้อย 1 อำเภอ ซึ่งแต่ละอำเภอดำเนินการ อย่างน้อย 1 ตำบล โดยกำหนดให้มีผู้ประสานงานระดับจังหวัด และอำเภอ โดยมีโรงพยาบาล/ศูนย์บริการสาธารณสุข เป็นหน่วยงานหลักในการประสานเชื่อมโยงกับหน่วยงานระดับที่สูงกว่า หน่วยงานระดับเดียวกันหรือระดับรองลงมา ทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จนถึงชุมชน และเครือข่ายอื่นๆ ในชุมชน ภายใต้กลไกคณะกรรมการระดับอำเภอที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการหัวหน้าส่วนราชการในระดับอำเภอ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ คณะกรรมการธรรมนูญสุขภาพอำเภอ คณะกรรมการประสานงานด้านสาธารณสุขระดับอำเภอ เป็นต้น

     การส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน ดำเนินการ 5 กิจกรรมหลัก ดังนี้

  1. การเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาในหน่วยบริการสุขภาพ (Proactive Hospital based surveillance)
  2. การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Community Participation)
  3. การเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาเชิงรุกในชุมชน  (Active Community based Surveillance)
  4. การส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในภาคเอกชน (Good Private Sector) เช่น ร้านชำ ร้านยา คลินิก โรงพยาบาลเอกชน
  5. การสร้างความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของประชาชน (RDU Literacy)

ระดับความสำเร็จ

คำอธิบาย

ระดับ 1

1.จังหวัดออกแบบระบบบริหารจัดการ ได้แก่ กำหนดองค์ประกอบ โครงสร้างการจัดการ ระบบข้อมูลสารสนเทศ ระบบติดตามประเมินผล และระบบอื่นที่เกี่ยวข้อง

2.โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่งในพื้นที่อำเภอเป้าหมาย หรือศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. หรือหน่วยบริการสุขภาพสังกัดอื่น ที่สมัครใจ ดำเนินการ Proactive Hospital based surveillance

ระดับ 2

ผ่านเกณฑ์ระดับ 1 และดำเนินการกิจกรรมหลัก Active Community based Surveillance

ระดับ 3

ผ่านเกณฑ์ระดับ 2 และดำเนินการกิจกรรมหลัก community participation

ระดับ 4

ผ่านเกณฑ์ระดับ 3 และมีการดำเนินการกิจกรรมหลักที่เหลือ อย่างน้อย 1 ข้อ

ระดับ 5

ดำเนินการครบ 5 กิจกรรมหลัก

รายละเอียดการประเมินการดำเนินการในแต่ละกิจกรรมหลัก ดูในคู่มือดำเนินการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน  จากเว็บไซต์ http://ndi.fda.moph.go.th/drug_use (อยู่ระหว่างดำเนินการ)

หน่วยตัวชี้วัดร้อยละ
หน่วยของค่า Aแห่ง
นิยามของค่า Aจำนวนโรงพยาบาลที่ผ่าน RDU ขั้น 3
หน่วยของค่า Bแห่ง
นิยามของค่า Bจำนวนโรงพยาบาลทั้งหมด
หน่วยของค่า C
นิยามของค่า C
หน่วยของค่า D
นิยามของค่า D
หน่วยของค่า E
นิยามของค่า E
หน่วยของค่า F
นิยามของค่า F
สูตรคำนวนตัวชี้วัด(A/B)x100
Operator>=
เกณฑ์เป้าหมายRDU ขั้นที่ 3 20%
ประชากรกลุ่มเป้าหมายโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน หรือโรงพยาบาลที่เทียบเท่า และหน่วยบริการปฐมภูมิ และชุมชน ซึ่งเป็นพื้นที่ระดับอำเภอ
ค่าเป้าหมาย20.00
Max Value100.00
วิธีการจัดเก็บข้อมูล

รายงานกองบริหารการสาธารณสุข

แหล่งข้อมูล

ข้อมูลจากโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน

ตัวชี้วัดระดับกระทรวง-
ตัวชี้วัดระดับเขต-
ตัวชี้วัดระดับจังหวัด-
ตัวชี้วัดสำคัญ-
ตัวชี้วัด Area Base-
Tags
ระยะเวลาการประเมินผลทุก 3 เดือน (ประมวลผลยอดสะสมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ)
ข้อมูล Baseline

Baseline data (RDU)

หน่วยวัด

ผลการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณ พ.ศ.

2560

2561

2562

 

2562

ร้อยละ

RDU ขั้นที่ 1  ร้อยละ 61.49

RDU ขั้น 1 ร้อยละ 95.30 และ RDU ขั้น 2 ร้อยละ 11.62

 (ไม่ผ่านเกณฑ์เป้าหมาย ร้อยละ 15)

RDU ขั้นที่ 1 ร้อยละ 99.89 และ RDU ขั้นที่ 2 ร้อยละ 42.46  RDU ขั้นที่ 3 ร้อยละ 16.42 (ณ ไตรมาส 3/2562)

 

 
 
เกณฑ์การประเมินผล

 

 

ปี 2563:

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12เดือน

  • RDU ขั้นที่ 2 ≥ 44 %
  • RDU ขั้นที่ 3 ≥ 15 %
  • RDU ขั้นที่ 2 ≥ 46 %
  • RDU ขั้นที่ 3 ≥ 15 %
  • RDU ขั้นที่ 2 ≥ 48 %
  • RDU ขั้นที่ 3 ≥ 20 %
  • RDU ขั้นที่ 2 ≥ 50 %
  • RDU ขั้นที่ 3 ≥ 20 %
วิธีการประเมินผล

การรายงาน และการวิเคราะห์เปรียบเทียบผล

เอกสารสนับสนุน

รายการตัวชี้วัดเพื่อประเมินระดับการพัฒนาสู่การเป็นหน่วยบริการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล

ผู้ให้ข้อมูลทางวิชาการ/ผู้ประสานงานตัวชี้วัด

1. ภญ.นุชรินธ์  โตมาชา                        เภสัชกรชำนาญการ             

    โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-5907155                  โทรศัพท์มือถือ : 061-7317779

    โทรสาร : 02-5907341                  E-mail : nuchy408@gmail.com

    สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (ตัวชี้วัด RDU)

2. ภญ.ไพรำ บุญญะฤทธิ์                    เภสัชกรชำนาญการ

    โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-5901628       โทรศัพท์มือถือ : 092-3953289

    โทรสาร : 02-5901634                             E-mail : praecu@gmail.com

    สำนักบริหารการสาธารณสุข (ตัวชี้วัด RDU และ AMR)

หน่วยงานประมวลผลและจัดทำข้อมูล (ระดับส่วนกลาง)

กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (RDU)

ผู้รับผิดชอบการรายงานผลการดำเนินงาน

1. นางสาวคริสติน่า ลี้สุรพลานนท์            เภสัชกรปฏิบัติการ

โทรศัพท์ที่ทำงาน :        โทรศัพท์มือถือ : 081-264-9910

โทรสาร : 02-5918486                     E-mail : Christina.lee@fda.moph.go.th

กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

2.ภญ.ไพรำ บุญญะฤทธิ์                      เภสัชกรชำนาญการ

โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-5901628             โทรศัพท์มือถือ : 092-3953289

โทรสาร : 02-5901634                        E-mail : praecu@gmail.com

กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

รหัสจังหวัดตัวชี้วัด Area base0
Areabase Kpi Regioncode0
หมายเหตุ
Last Update2021-03-24 14:22:39
Download
Log ผลการดำเนินงาน >>