ร้อยละของผลิตภัณฑ์สุขภาพกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการตรวจสอบมีความปลอดภัยตามเกณฑ์ที่กำหนด(นมโรงเรียน)

ผลการดำเนินงาน >>

Update Delete

ชื่อตัวชี้วัดร้อยละของผลิตภัณฑ์สุขภาพกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการตรวจสอบมีความปลอดภัยตามเกณฑ์ที่กำหนด(นมโรงเรียน)
Child KPIสร้าง KPI ย่อย
ปีงบประมาณ2562
ระดับตัวชี้วัดประเทศ
ตัวชี้วัดที่011.2
Sort Order0
คำนิยาม

นมโรงเรียน คือ ผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม โดยมีคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 350 พ.ศ. 2556 เรื่องนมโค และประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 364) พ.ศ. 2556 เรื่อง มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ซึ่งจำหน่ายภายใต้โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน เท่านั้น

หน่วยตัวชี้วัดร้อยละ
หน่วยของค่า Aผลิตภัณฑ์
นิยามของค่า Aจำนวนผลิตภัณฑ์นมโรงเรียนที่มีผลการตรวจวิเคราะห์มีคุณภาพมาตรฐาน ตามเกณฑ์ที่กำหนด
หน่วยของค่า Bผลิตภัณฑ์
นิยามของค่า Bจำนวนผลิตภัณฑ์นมโรงเรียนที่ส่งตรวจและได้รับรายงานผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพมาตรฐานทั้งหมด
หน่วยของค่า C
นิยามของค่า C
หน่วยของค่า D
นิยามของค่า D
หน่วยของค่า E
นิยามของค่า E
หน่วยของค่า F
นิยามของค่า F
สูตรคำนวนตัวชี้วัด(A/B)x100
Operator>=
เกณฑ์เป้าหมายร้อยละ 80
ประชากรกลุ่มเป้าหมายผลิตภัณฑ์นมโรงเรียน ณ สถานที่ผลิต
ค่าเป้าหมาย80.00
Max Value100.00
วิธีการจัดเก็บข้อมูล

จัดเก็บจากแบบรายงาน ดังนี้

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) (เฉพาะจังหวัดที่มีสถานที่ผลิต) ดำเนินการ ดังนี้

1.1 กิจกรรมเฝ้าระวังประจำปี

1.1.1 ตรวจประเมินสถานที่ผลิตนมโรงเรียนทุกแห่งในจังหวัด ตามหลักเกณฑ์ GMP

(1) นมโคชนิดพาสเจอร์ไรส์ตรวจประเมินสถานที่ผลิตตามมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 298) พ.ศ.2549 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์นมพร้อมบริโภคชนิดเหลวที่ผ่านกรรมวิธีการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนโดยวิธีพาสเจอร์ไรส์ โดยใช้แบบตรวจ ตส.5 (50)

(2) นมโคชนิดยูเอชทีตรวจประเมินสถานที่ผลิตตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 349) พ.ศ.2556 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทชนิดที่มีความเป็นกรดต่ำ และชนิดปรับกรด โดยใช้แบบตรวจ ตส.11(56)

1.1.2 สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์นมโรงเรียน ณ สถานที่ผลิต และส่งตัวอย่างเพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 350) พ.ศ. 2556 เรื่อง นมโค และประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 364) พ.ศ.2556 เรื่อง มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค โดยมีรายการตรวจวิเคราะห์ ดังนี้

(1) นมโคชนิดพาสเจอร์ไรส์ ตรวจวิเคราะห์จำนวน 10 รายการ ได้แก่    เนื้อนมไม่รวมมันเนย มันเนย โปรตีน แบคทีเรียทั้งหมด แบคทีเรียชนิดโคลิฟอร์ม Escherichia coli, Salmonella spp, Staphylococcus aureus, Listeria monocytogenes และ Bacillus cereus

(2) นมโคชนิดยูเอชที ตรวจวิเคราะห์จำนวน 9 รายการ ได้แก่ เนื้อนมไม่รวมมันเนย มันเนย โปรตีน แบคทีเรียทั้งหมด Escherichia coli, Salmonella spp., Staphylococcus aureus, Listeria monocytogenes และ Bacillus cereus

โดยดำเนินการเก็บตัวอย่าง จำนวน 2 ครั้ง (1 ครั้ง/ภาคการศึกษา) ดังนี้

ภาคการศีกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ช่วงเดือน พ.ย. 61

ภาคการศีกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ช่วงเดือน มิ.ย. 62

ทั้งนี้ การส่งตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์หรือศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ โปรดระบุในหนังสือนำส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ดังนี้

(1) หัวหนังสือตรงกลางด้านบน ระบุว่า “นมโรงเรียน” ด้วยตัวอักษรสีแดง

(2) หัวหนังสือด้านขวาบน ระบุว่า “รอบสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา”

(3) ในช่องหมายเหตุระบุว่า

ภายใต้แผนการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์สุขภาพ ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562

ขอให้ส่งสำเนารายงานผลการตรวจวิเคราะห์ถึงสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น)

หมายเหตุ : สถานประกอบการใดที่ผลิตนมโรงเรียนทั้งชนิดยูเอชทีและพาสเจอร์ไรส์ต้องเก็บตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ให้ครบทั้ง 2 ชนิด (ชนิดละ 1 ตัวอย่าง รวม 2 ตัวอย่าง)

1.2 กิจกรรมเฝ้าระวังประจำเดือน

 1.2.1 สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์นมโรงเรียน ณ สถานที่ผลิต ตรวจวิเคราะห์คุณภาพมาตรฐานเฉพาะด้านเชื้อจุลินทรีย์ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข               (ฉบับที่ 350) พ.ศ. 2556 เรื่อง นมโค และประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 364) พ.ศ.2556 เรื่อง มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค

 โดยดำเนินการเก็บตัวอย่าง ทุกเดือน นอกเหนือจากแผนการเฝ้าระวังประจำปี โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์ และรายงานผลการดำเนินงานในแบบรายงานตัวชี้วัดที่ 2

ทั้งนี้ การส่งตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์หรือศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ โปรดระบุในหนังสือนำส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ดังนี้

(1) หัวหนังสือตรงกลางด้านบน ระบุว่า “นมโรงเรียน” ด้วยตัวอักษรสีแดง

(2) หัวหนังสือด้านขวาบน ระบุว่า “รอบผู้ประกอบการ

(3) ในช่องหมายเหตุระบุว่า “ขอให้ส่งสำเนารายงานผลการตรวจวิเคราะห์ถึงสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น)

หมายเหตุ : สถานประกอบการใดที่ผลิตนมโรงเรียนทั้งชนิดยูเอชทีและ พาสเจอร์ไรส์ต้องเก็บตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ให้ครบทั้ง 2 ชนิด (ชนิดละ 1 ตัวอย่างรวม 2 ตัวอย่าง)

แหล่งข้อมูล

ส่วนกลาง : สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

ส่วนภูมิภาค : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

ตัวชี้วัดระดับกระทรวง-
ตัวชี้วัดระดับเขต-
ตัวชี้วัดระดับจังหวัด-
ตัวชี้วัดสำคัญ-
ตัวชี้วัด Area Base-
Tags
ระยะเวลาการประเมินผล
ข้อมูล Baseline
เกณฑ์การประเมินผล

รายงานข้อมูล ดังนี้

  1. รายงานผลการดำเนินงานตามแบบรายงานตัวชี้วัดที่ 2 ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ : kb@fda.moph.go.th หรือเป็นหนังสือราชการมายังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ     ในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น) โดยรายงานดังนี้

ครั้งที่

ระยะเวลาการรายงาน

1

ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2561 (ภายในวันที่ 10  ธันวาคม 2561*)

2

ภายในวันที่ 20 มีนาคม 2562

3

ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2562 (ภายในวันที่ 10 กรกฎาคม 2562*)

4

ภายในวันที่ 15 กันยายน 2562

 

หมายเหตุ :  1. * เนื่องจากต้องรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์ในการจัดสรรสิทธิ์

                                    2.  ตัดข้อมูลภายในวันที่กำหนดและจะดึงข้อมูลในวันถัดไป

             2.ส่งสำเนาผลการตรวจประเมินสถานที่ผลิตและรายงานผลวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์นมโรงเรียน โดยส่งเป็นหนังสือราชการมายังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น)

วิธีการประเมินผล
เอกสารสนับสนุน
ผู้ให้ข้อมูลทางวิชาการ/ผู้ประสานงานตัวชี้วัด

1.นางสาวโชตินภา เหล่าไพบูลย์            สำนักอาหาร

   โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-590-7218       โทรศัพท์มือถือ : 081-055-7988

   โทรสาร : 02-591-8460                  E-mail : fda.schoolmilk@gmail.com

2.นางสาวอรสุรางค์ ธีระวัฒน์               สำนักอาหาร  

   โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-590-7218       โทรศัพท์มือถือ : 094-131-6136

   โทรสาร : 02-591-8460                   E-mail : planning.food@gmail.com

หน่วยงานประมวลผลและจัดทำข้อมูล (ระดับส่วนกลาง)
ผู้รับผิดชอบการรายงานผลการดำเนินงาน
รหัสจังหวัดตัวชี้วัด Area base0
Areabase Kpi Regioncode0
หมายเหตุ
Last Update2021-03-24 14:22:39
Download
Log ผลการดำเนินงาน >>