ร้อยละของผักและผลไม้สดมีความปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ผลการดำเนินงาน >>ชื่อตัวชี้วัด | ร้อยละของผักและผลไม้สดมีความปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Child KPI | สร้าง KPI ย่อย | |||||||||||||||
ปีงบประมาณ | 2561 | |||||||||||||||
ระดับตัวชี้วัด | ประเทศ | |||||||||||||||
ตัวชี้วัดที่ | 020.2 | |||||||||||||||
Sort Order | 0 | |||||||||||||||
คำนิยาม | 1. ผักและผลไม้สด หมายถึง ผักและผลไม้สดตามขอบข่ายของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดวิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาผักหรือผลไม้สดบางชนิดและการแสดงฉลาก ซึ่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุ่มเก็บตัวอย่าง ณ สถานที่ผลิต (คัดและบรรจุ) ผักและผลไม้สด หรือสถานที่จำหน่ายเป้าหมาย แล้วแต่กรณี 2. สารเคมีกำจัดศัตรูพืช หมายถึง สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ได้แก่ กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต กลุ่มคาร์บาเมต กลุ่มออร์แกโนคลอรีน และกลุ่มไพรีทรอยด์ 3. สถานที่ผลิต (คัดและบรรจุ) ผักและผลไม้สดได้รับพัฒนา หมายถึง สถานที่ผลิตตามขอบข่ายของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดวิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิตหรือการเก็บรักษาผักและผลไม้สดบางชนิดและการแสดงฉลาก ได้รับการพัฒนาตามคู่มือการพัฒนาสถานที่ผลิต (คัดและบรรจุ) ผักและผลไม้สด 4. สถานที่ผลิตเป้าหมาย หมายถึง สถานที่ผลิต (คัดและบรรจุ) ผักและผลไม้สด ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำหนดให้เป็นสถานที่ที่จะดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างผักและผลไม้สดตามขอบข่ายของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดวิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาผักหรือผลไม้สดบางชนิดและการแสดงฉลาก | |||||||||||||||
หน่วยตัวชี้วัด | ร้อยละ | |||||||||||||||
หน่วยของค่า A | ผลิตภัณฑ์ | |||||||||||||||
นิยามของค่า A | จำนวนของผักและผลไม้สดที่มีผลการตรวจวิเคราะห์ผ่านมาตรฐาน | |||||||||||||||
หน่วยของค่า B | ผลิตภัณฑ์ | |||||||||||||||
นิยามของค่า B | จำนวนของผักและผลไม้สดที่ส่งตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการและได้รับรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ | |||||||||||||||
หน่วยของค่า C | ||||||||||||||||
นิยามของค่า C | ||||||||||||||||
หน่วยของค่า D | ||||||||||||||||
นิยามของค่า D | ||||||||||||||||
หน่วยของค่า E | ||||||||||||||||
นิยามของค่า E | ||||||||||||||||
หน่วยของค่า F | ||||||||||||||||
นิยามของค่า F | ||||||||||||||||
สูตรคำนวนตัวชี้วัด | (A/B)x100 | |||||||||||||||
Operator | >= | |||||||||||||||
เกณฑ์เป้าหมาย | ร้อยละ 60 | |||||||||||||||
ประชากรกลุ่มเป้าหมาย | ผักและผลไม้สด ณ สถานที่ผลิต (คัดและบรรจุ) ผักและผลไม้สด หรือสถานที่จำหน่ายที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำหนดให้เป็นสถานที่ที่จะดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่าง | |||||||||||||||
ค่าเป้าหมาย | 60.00 | |||||||||||||||
Max Value | 100.00 | |||||||||||||||
วิธีการจัดเก็บข้อมูล | 1. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ส่งข้อมูลสถานที่ (คัดและบรรจุ) ผักและผลไม้สดตามขอบข่ายของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดวิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาผักหรือผลไม้สดบางชนิดและการแสดงฉลาก (ข้อมูลจากวันที่ 30 สิงหาคม 2560) เพื่อให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) กำหนดสถานที่ผลิตเป้าหมายในการดำเนินงาน ภายในวันที่ 15 กันยายน 2560 ตามแบบฟอร์ม (เอกสารแนบตัวชี้วัด 1-1) 2. สสจ. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลสถานที่ผลิต (คัดและบรรจุ) ผักและผลไม้สดที่ อย. ส่งให้ และยืนยันจำนวนสถานที่ผลิตเป้าหมายและระยะเวลาที่จะดำเนินการเฝ้าระวังในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 กลับมายัง อย. ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์: kb@fda.moph.go.th ภายในวันที่ 25 กันยายน 2560 3. สสจ.ตรวจประเมินและพัฒนาความพร้อมสถานที่ผลิต (คัดและบรรจุ) ผักและผลไม้สด ดังนี้ 3.1 ครั้งที่ 1 (ภายในเดือน ธันวาคม 2560) 3.1.1 สสจ. ตรวจประเมินสถานที่ผลิต (คัดและบรรจุ) ผักและผลไม้สดทุกแห่งที่มีอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โดยใช้หลักเกณฑ์การตรวจเครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาผักหรือผลไม้สดบางชนิด ตามบัญชีหมายเลข 2 และบันทึกการตรวจ ตส. 13 (60) ตามบัญชีหมายเลข 3 แนบท้ายร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯ (ไม่นำมาคิดเป็นตัวชี้วัด) 3.1.1.1 กรณีสถานที่ผลิตผ่านเกณฑ์ (1) สสจ. สุ่มเก็บตัวอย่างผักและผลไม้สดทุกชนิดตามขอบข่ายของประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯ ที่มีอยู่ในสถานที่ผลิตเป้าหมาย และรายงานในแบบรายงานตัวชี้วัดที่ 1-1 (2) ส่งแบบรายงานตัวชี้วัดที่ 1-1 และเอกสารบันทึกการตรวจ ตส. 13 (60) มายัง อย. ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ kb@fda.moph.go.th หรือส่งเป็นหนังสือราชการมายังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น) 3.1.1.2 กรณีสถานที่ผลิตไม่ผ่านตามเกณฑ์ (1) กรณีสถานที่ผลิตที่ไม่ผ่านการตรวจประเมินในครั้งที่ 1 เป็นสถานที่ผลิตเป้าหมาย ขอให้ สสจ. กำหนดระยะเวลาที่จะดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างภายหลังจากการพัฒนาสถานที่ผลิตเป้าหมายมายัง อย. ภายในวันที่ 15 มกราคม 2561 (2) ให้คำแนะนำในการพัฒนาสถานที่ผลิต (คัดและบรรจุ) ผักและผลไม้สดที่ไม่ผ่านในการตรวจประเมินครั้งที่ 1 ทุกแห่งตามคู่มือการพัฒนาสถานที่ผลิต (คัดและบรรจุ) ผักและผลไม้สด และดำเนินการตามแนวทางข้อ 3.2 (ไม่นำมาคิดเป็นตัวชี้วัด) 3.2 ครั้งที่ 2 (ระหว่างเดือนมกราคม 2561 – มีนาคม 2561) 3.2.1 กรณีสถานที่ผลิตผ่านเกณฑ์ในครั้งที่ 1 สสจ. สุ่มเก็บตัวอย่างผักและผลไม้สด ตามบัญชีหมายเลข 1 แนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯ ให้สอดคล้องกับแผนการเก็บตัวอย่างผักและผลไม้สด (ตามเอกสารแนบ 1) และ บันทึกข้อมูลใบนำส่งตัวอย่างผักและผลไม้สด (ตามเอกสารแนบ 2) และรายงานในแบบรายงานตัวชี้วัดที่ 1-2 วิธีการเก็บตัวอย่าง : 1) ปริมาณตัวอย่าง เก็บตัวอย่างปริมาณ 1 กิโลกรัม/ตัวอย่าง ตัวอย่างขนาดใหญ่ เช่น กะหล่ำปลี แตงโม เป็นต้น เก็บตัวอย่างปริมาณ 2 กิโลกรัม/ตัวอย่าง 2) นำตัวอย่างผักหรือผลไม้ มาบรรจุในภาชนะบรรจุสำหรับเก็บตัวอย่าง เช่น ถุงพลาสติก คาดเทปกาวปิดภาชนะบรรจุที่บรรจุตัวอย่าง โดยให้รวบปากถุงแล้วคาดเทปกาวพันรอบปากถุง 3) ติดป้ายชี้บ่ง ซึ่งมีรายละเอียดประกอบด้วย ชื่อตัวอย่าง ชื่อ-ที่ตั้งสถานที่เก็บตัวอย่าง จำนวนหรือปริมาณ วันที่เก็บ ชื่อผู้เก็บตัวอย่าง บนภาชนะที่บรรจุตัวอย่างเรียบร้อยแล้ว (ควรเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิเย็น หรือบรรจุอุปกรณ์รักษาความเย็น (เช่น ice pack หรือน้ำแข็ง) ไว้ในกล่องที่เก็บตัวอย่างด้วย เพื่อควบคุมอุณหภูมิของผลิตภัณฑ์ตลอดระยะเวลาการขนส่ง) หมายเหตุ การเก็บตัวอย่างผักและผลไม้สด ณ สถานที่ผลิต จะส่งตรวจวิเคราะห์ ณ ห้องปฏิบัติการเอกชน (ซึ่งสำนักอาหารจะแจ้งรายละเอียดเพิ่มเติมอีกครั้ง) 3.2.2 กรณีสถานที่ผลิตไม่ผ่านเกณฑ์ในครั้งที่ 1 และได้รับคำแนะนำในการพัฒนา 1) สสจ. ตรวจประเมินสถานที่ผลิต (คัดและบรรจุ) ผักและผลไม้สดนั้น โดยใช้หลักเกณฑ์การตรวจ ตามบัญชีหมายเลข 2 และใช้บันทึกการตรวจ ตส. 13 (60) ตามบัญชีหมายเลข 3 แนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯ (ไม่นำมาคิดเป็นตัวชี้วัดนี้) 2) สสจ. ส่งรายงานในแบบรายงานตัวชี้วัดที่ 1-1 และส่งเอกสารบันทึกการตรวจ ตส. 13 (60) มายัง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ kb@fda.moph.go.th และ law.dreamt@gmail.com หรือส่งเป็นหนังสือราชการมายังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น) 3) สสจ. สุ่มเก็บตัวอย่างผักและผลไม้สด ตามบัญชีหมายเลข 1 แนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯ ให้สอดคล้องกับแผนการเก็บตัวอย่างผักและผลไม้สด (ตามเอกสารแนบ 1) และ บันทึกข้อมูลใบนำส่งตัวอย่างผักและผลไม้สด (ตามเอกสารแนบ 2) และรายงานในแบบรายงานตัวชี้วัดที่ 1-2 โดยมีวิธีการเก็บตัวอย่างตามที่ระบุแล้วข้างต้น 4. กิจกรรมการเฝ้าระวังผักและผลไม้สด ณ สถานที่จำหน่าย (ดำเนินการช่วงเดือนพฤศจิกายน 2560 – กรกฎาคม 2561) (ใช้สำหรับกรณีจังหวัดที่ไม่มีสถานที่ผลิต (คัดบรรจุ) ผักและผลไม้สดที่เข้าข่ายตามประกาศฯ) ขอให้ สสจ. ดำเนินการดังนี้ 4.1 กำหนดสถานที่และระยะเวลาที่จะดำเนินการเฝ้าระวัง ณ สถานที่จำหน่าย ในปีงบประมาณ 2561 ตามแบบฟอร์ม (เอกสารแนบตัวชี้วัดที่ 1-2) และส่งกลับมายัง อย. ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์: kb@fda.moph.go.th ภายในวันที่ 25 กันยายน 2560 4.2 สุ่มเก็บตัวอย่างผักและผลไม้สด ตามบัญชีหมายเลข 1 แนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯ ให้สอดคล้องกับแผนการเก็บตัวอย่างผักและผลไม้สด (ตามเอกสารแนบ 1) และ บันทึกข้อมูลใบนำส่งตัวอย่างผักและผลไม้สด (ตามเอกสารแนบ 2) และรายงานในแบบรายงานตัวชี้วัดที่ 1-2 วิธีการเก็บตัวอย่าง : 1) ปริมาณตัวอย่าง เก็บตัวอย่างปริมาณ 1 กิโลกรัม/ตัวอย่าง ตัวอย่างขนาดใหญ่ เช่น กะหล่ำปลี แตงโม เป็นต้น เก็บตัวอย่างปริมาณ 2 กิโลกรัม/ตัวอย่าง 2) นำตัวอย่างผัก หรือ ผลไม้ มาบรรจุในภาชนะบรรจุสำหรับเก็บตัวอย่าง เช่น ถุงพลาสติก คาดเทปกาวปิดภาชนะบรรจุที่บรรจุตัวอย่าง โดยให้รวบปากถุงแล้วคาดเทปกาวพันรอบปากถุง 3) ติดป้ายชี้บ่ง ซึ่งมีรายละเอียดประกอบด้วย ชื่อตัวอย่าง ชื่อ-ที่ตั้งสถานที่เก็บตัวอย่าง จำนวนหรือปริมาณ วันที่เก็บ ชื่อผู้เก็บตัวอย่าง บนภาชนะที่บรรจุตัวอย่างเรียบร้อยแล้ว (ควรเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิเย็น หรือบรรจุอุปกรณ์รักษาความเย็น (เช่น ice pack หรือน้ำแข็ง) ไว้ในกล่องที่เก็บตัวอย่างด้วย เพื่อควบคุมอุณหภูมิของผลิตภัณฑ์ตลอดระยะเวลาการขนส่ง) 4.3 ตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ ณ ห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในวันจันทร์-พุธ ภายในเดือนที่กำหนด โดยส่งไปยังสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โปรดระบุในหนังสือนำส่งตัวอย่าง ดังนี้ 1) หัวหนังสือตรงกลางด้านบน ระบุว่า “ผักและผลไม้สด” ด้วยตัวอักษรสีแดง 2) ในช่องหมายเหตุระบุว่า - “ภายใต้แผนการเก็บตัวอย่างผักและผลไม้สด โครงการพัฒนาสถานที่ผลิต(คัดและบรรจุ) ผักและผลไม้สด งบประมาณ พ.ศ. 2561 - ขอให้ส่งสำเนาผลวิเคราะห์ถึงเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (กอง คบ.) หมายเหตุ การเก็บตัวอย่างผักและผลไม้สด ณ สถานที่จำหน่าย ส่งตรวจวิเคราะห์ ณ ห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ขอให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดใช้งบประมาณที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาตัดโอนไปให้สำหรับใช้ในกิจกรรมดังกล่าว 5. สสจ. รายงานผลการดำเนินงานตามแบบรายงานตัวชี้วัดที่ 1-1 หรือ แบบรายงานตัวชี้วัดที่ 1-2 ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ : kb@fda.moph.go.th หรือเป็นหนังสือราชการมายังสำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา (กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น) โดยรายงาน ดังนี้ ครั้งที่ ระยะเวลาการรายงาน 1 ภายใน 20 ธ.ค. 60 2 ภายใน 20 มี.ค. 61 3 ภายใน 20 พ.ค. 61 หมายเหตุ : ตัดข้อมูลภายในวันที่กำหนดและจะดึงข้อมูลในวันถัดไป 6. การสนับสนุนจากส่วนกลาง (สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) 6.1 งบประมาณ 1) สำหรับการลงพื้นที่เพื่อสำรวจ ประเมินและพัฒนาผู้ประกอบการ และสุ่มเก็บตัวอย่าง ณ สถานที่ผลิต (คัดและบรรจุ) ผักและผลไม้สด หรือสถานที่จำหน่าย (แล้วแต่กรณี) โดยโอนงบประมาณให้กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 2) สำหรับการตรวจวิเคราะห์สารเคมีทางการเกษตรตกค้างในผักและผลไม้สดตามประกาศฯ โดยโอนงบประมาณให้กับทางห้องปฏิบัติการ 6.2 คู่มือการพัฒนาสถานที่ผลิต (คัดและบรรจุ) ผักและผลไม้สด 7. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลรายงานผลการดำเนินงานในภาพรวมของประเทศ
| |||||||||||||||
แหล่งข้อมูล | ส่วนกลาง : สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ส่วนภูมิภาค : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด | |||||||||||||||
ตัวชี้วัดระดับกระทรวง | - | |||||||||||||||
ตัวชี้วัดระดับเขต | - | |||||||||||||||
ตัวชี้วัดระดับจังหวัด | - | |||||||||||||||
ตัวชี้วัดสำคัญ | - | |||||||||||||||
ตัวชี้วัด Area Base | - | |||||||||||||||
Tags | ||||||||||||||||
ระยะเวลาการประเมินผล | ประเมินผลสิ้นปีงบประมาณ โดยติดตามผลการดำเนินงาน รายไตรมาส | |||||||||||||||
ข้อมูล Baseline | ||||||||||||||||
เกณฑ์การประเมินผล |
| |||||||||||||||
วิธีการประเมินผล | จากรายงานสรุปผลการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา | |||||||||||||||
เอกสารสนับสนุน | ||||||||||||||||
ผู้ให้ข้อมูลทางวิชาการ/ผู้ประสานงานตัวชี้วัด | สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (สำนักอาหาร) ผู้ให้ข้อมูลทางวิชาการ: นางสาวจุไรรัตน์ ถนอมกิจ โทรศัพท์ 02-590-7406 ผู้ประสานงาน : นางสาวกนกเนตร รัตนจันท/นางสาวอทิตา ชนะสิทธิ์ /นางสาวมนสุวีร์ ไพชำนาญ โทรศัพท์ 02-590-7030 | |||||||||||||||
หน่วยงานประมวลผลและจัดทำข้อมูล (ระดับส่วนกลาง) | สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (สำนักอาหาร) | |||||||||||||||
ผู้รับผิดชอบการรายงานผลการดำเนินงาน | ส่วนกลาง 1. น.ส. กนกเนตร รัตนจันท นักวิชาการอาหารและยาชำนาญการพิเศษ โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-590-7030 โทรศัพท์มือถือ : 089-831-3381 โทรสาร : 02-591-8460 E-mail : planning.food@gmail.com 2. น.ส. อทิตา ชนะสิทธิ์ นักวิชาการอาหารและยาปฏิบัติการ โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-590-7030 โทรศัพท์มือถือ : 083-079-3508 โทรสาร : 02-591-8460 E-mail : planning.food@gmail.com 3. นางสาวมนสุวีร์ ไพชำนาญ โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-5907030 โทรศัพท์มือถือ : 081-3685725 โทรสาร : 02-5918460 E-mail : planning.food@gmail.com สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ส่วนภูมิภาค : บันทึกข้อมูลตามแบบฟอร์มตัวชี้วัดที่ 1-1 หรือแบบรายงานตัวชี้วัดที่ 1-2โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ และส่งข้อมูลกลับมายัง อย. ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ : kb@fda.moph.go.th หรือเป็นหนังสือราชการมายังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น) | |||||||||||||||
รหัสจังหวัดตัวชี้วัด Area base | 0 | |||||||||||||||
Areabase Kpi Regioncode | 0 | |||||||||||||||
หมายเหตุ | ||||||||||||||||
Last Update | 2021-03-24 14:22:39 | |||||||||||||||
Download |