ร้อยละการผ่านเกณฑ์ของหน่วยบริการสาธารณสุข สำหรับการจัดบริการอาชีวอนามัย และเวชกรรมสิ่งแวดล้อมในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ตามเกณฑ์ที่กำหนด

ผลการดำเนินงาน >>

Update Delete

ชื่อตัวชี้วัดร้อยละการผ่านเกณฑ์ของหน่วยบริการสาธารณสุข สำหรับการจัดบริการอาชีวอนามัย และเวชกรรมสิ่งแวดล้อมในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ตามเกณฑ์ที่กำหนด
Child KPIสร้าง KPI ย่อย
ปีงบประมาณ2561
ระดับตัวชี้วัดประเทศ
ตัวชี้วัดที่052
Sort Order0
คำนิยาม

1. หน่วยบริการสาธารณสุขในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ หมายถึง โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่รัฐบาลได้กำหนดให้ตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษขึ้น รวม 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย  ตาก กาญจนบุรี สระแก้ว ตราด หนองคาย  นครพนม  มุกดาหาร  สงขลา และ นราธิวาส (เป้าหมายในปี 2560-2561 ตามเอกสารแนบท้าย)

2. การจัดบริการอาชีวอนามัย หมายถึง กิจกรรมที่ดำเนินการโดยบุคลากรในหน่วยบริการสุขภาพที่มีความรู้ทางด้านอาชีวอนามัยเพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพทั้งแรงงานในระบบ และแรงงานนอกระบบประกันสังคมได้รับการจัดบริการการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพทั้งเชิงรุกและเชิงรับ มีสุขภาพอนามัยดีและอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย เช่น การประเมินความเสี่ยง การสำรวจความเสี่ยง การให้บริการตรวจ วินิจฉัย รักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยด้วยโรคจากการประกอบอชีพและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

3. การจัดบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม หมายถึง กิจกรรมที่ดำเนินงานโดยบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านอาชีวอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมหรืออุบัติภัยฉุกเฉินจากสารเคมี/รังสี ได้รับการดูแลสุขภาพ มีการจัดบริการทั้งเชิงรุกและเชิงรับ ที่มุ่งเน้นด้านการป้องกันโรคจากสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย เช่น การค้นหาและประเมินความเสี่ยง/สิ่งคุกคามด้านมลพิษสิ่งแวดล้อม การเฝ้าระวังโรคและการสอบสวนโรคจากมลพิษสิ่งแวดล้อมทั้งเชิงรุกและเชิงรับ การตอบโต้ภาวะฉุกเฉินจากมลพิษสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

      การจัดบริการอาชีวอนามัย และเวชกรรมสิ่งแวดล้อมในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ    มีประเด็นเพิ่มเติมจากเกณฑ์การจัดบริการอาชีวอนามัย และเกณฑ์การจัดบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมทั่วไป คือ เพิ่มการประเมินความเสี่ยงในสถานประกอบการที่ตั้งขึ้นใหม่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับอุบัติภัย สารเคมีอันตราย และสารกัมมันตรังสี  

4. ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด หมายถึง โรงพยาบาลสามารถดำเนินงานตามเกณฑ์ที่กำหนดใน คู่มือการตรวจประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม สำหรับโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชนใน ตั้งแต่ระดับเริ่มต้นพัฒนาขึ้นไป

หน่วยตัวชี้วัดร้อยละ
หน่วยของค่า Aแห่ง
นิยามของค่า Aผลรวมหน่วยบริการสาธารณสุข (รพศ., รพท., รพช.) ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่ผ่านเกณฑ์การประเมินฯ ตั้งแต่ระดับเริ่มต้นพัฒนา (ขั้นพื้นฐาน) ขึ้นไป
หน่วยของค่า Bแห่ง
นิยามของค่า Bจำนวนรวมของหน่วยบริการสาธารณสุข (รพศ./รพท./รพช.) ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษทั้งหมด (27 แห่ง)
หน่วยของค่า C
นิยามของค่า C
หน่วยของค่า D
นิยามของค่า D
หน่วยของค่า E
นิยามของค่า E
หน่วยของค่า F
นิยามของค่า F
สูตรคำนวนตัวชี้วัด(A/B)*100
Operator>=
เกณฑ์เป้าหมายร้อยละ 50
ประชากรกลุ่มเป้าหมายประชาชนในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ 10 จังหวัด
ค่าเป้าหมาย50.00
Max Value100.00
วิธีการจัดเก็บข้อมูล

   

1) โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน ในพื้นที่เป้าหมาย ประเมินตนเองตามแบบประเมินตนเอง (ตามคู่มือที่ระบุในนิยาม) ส่งให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

           2) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด รวบรวมรายชื่อโรงพยาบาลทั้งโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน เป้าหมาย พร้อมผลการประเมินตนเองและแบบรายงานสรุปผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม (ดังแบบ Report_OHS สสจ.) แจ้งมายังสำนักงานป้องกันควบคุมโรค

          3) สำนักงานป้องกันควบคุมโรค รวบรวมส่งให้กับสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม เพื่อวางแผนจัดเตรียมทีมตรวจประเมิน/สอบทวนการดำเนินงาน

          4) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคร่วมกับทีมตรวจประเมินระดับจังหวัด และสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมตรวจประเมินตามแนวทางของสำนักฯ และให้ข้อเสนอแนะโรงพยาบาลที่ขอรับการประเมิน

          5) สำนักงานป้องกันควบคุมโรค รวบรวมรายชื่อโรงพยาบาลเพื่อเข้าสู่กระบวนการรับรอง (ดังแบบ Report_OHS_สคร.)

          6) กรรมการรับรองผลประชุมเพื่อพิจารณารับรองผลโรงพยาบาล

          7) สสจ.เก็บข้อมูลผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด “ร้อยละการผ่านเกณฑ์ของหน่วยบริการสาธารณสุข สำหรับการจัดบริการอาชีวอนามัย และเวชกรรมสิ่งแวดล้อมในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ตามเกณฑ์ที่กำหนด” ตามแบบรายงานผลการดำเนินงาน (ดังเอกสารแนบท้าย) ผ่านระบบบันทึกข้อมูลที่ สนย.จะเป็นผู้พัฒนาขึ้น

          8) สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม สรุปผลภาพรวมของประเทศและรายงานให้ กยผ.

แหล่งข้อมูล

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่มีเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (10 จังหวัด), สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1,2,5,6,8,10,12 และสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม

ตัวชี้วัดระดับกระทรวงไม่
ตัวชี้วัดระดับเขตไม่
ตัวชี้วัดระดับจังหวัดใช่
ตัวชี้วัดสำคัญไม่
ตัวชี้วัด Area Baseไม่
Tags
ระยะเวลาการประเมินผลไตรมาส 4 (รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานไตรมาส 1, 2, 3, และ 4)
ข้อมูล Baseline
 

 

Baseline data

หน่วยวัด

ผลการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณ พ.ศ.

2558

2559

2560

ร้อยละการผ่านเกณฑ์ของหน่วยบริการสาธารณสุข สำหรับการจัดบริการอาชีวอนามัย และเวชกรรมสิ่งแวดล้อมในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ตามเกณฑ์ที่กำหนด

ร้อยละ

-

-

55.56

 

 

เกณฑ์การประเมินผล

ปี 2561 :

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

 

 

 

ร้อยละ 50

มีการถ่ายทอดแนวทางการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน หรือสนับสนุนวิชาการให้กับหน่วยงานเครือข่าย

มีข้อมูลการประเมินตนเองของรพ.เป้าหมาย

มีผลร้อยละการผ่านเกณฑ์ของหน่วยบริการสาธารณสุข สำหรับการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม ในจังหวัดเขตเศรษฐกิจพิเศษ ร้อยละ 40

  1. มีผลร้อยละการผ่านเกณฑ์ฯ ร้อยละ 50
  2. มีสรุปผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินงานปีต่อไป 
 

ปี 2562 :

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

 

 

 

ร้อยละ 70

มีการถ่ายทอดแนวทางการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน หรือสนับสนุนวิชาการให้กับหน่วยงานเครือข่าย

มีสรุปผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือน

มีสรุปผลการดำเนินงานรอบ 9 เดือน

  1. มีผลร้อยละการผ่านเกณฑ์ของหน่วยบริการ    

    สาธารณสุข สำหรับการจัดบริการอาชีวอนามัยและ

     ร้อยละ 25 ในปี 2560

  1. มีสรุปผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค และ  

    ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานปีต่อไป 

 

ปี 2563 :

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

 

 

 

ร้อยละ 90

มีการถ่ายทอดแนวทางการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน หรือสนับสนุนวิชาการให้กับหน่วยงานเครือข่าย

มีสรุปผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือน

มีสรุปผลการดำเนินงานรอบ 9 เดือน

  1. มีผลร้อยละการผ่านเกณฑ์ของหน่วยบริการ    

    สาธารณสุข สำหรับการจัดบริการอาชีวอนามัยและ

     ร้อยละ 25 ในปี 2560

 

  1. มีสรุปผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค และ  

    ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานปีต่อไป 

 

ปี 2564 :

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

 

 

 

ร้อยละ 95

มีการถ่ายทอดแนวทางการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน หรือสนับสนุนวิชาการให้กับหน่วยงานเครือข่าย

มีสรุปผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือน

มีสรุปผลการดำเนินงานรอบ 9 เดือน

  1. มีผลร้อยละการผ่านเกณฑ์ของหน่วยบริการ    

    สาธารณสุข สำหรับการจัดบริการอาชีวอนามัยและ

     ร้อยละ 25 ในปี 2560

  1. มีสรุปผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค และ  

    ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานปีต่อไป  

 
วิธีการประเมินผล

ตามแนวทางของสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค

เอกสารสนับสนุน

1. เกณฑ์และแนวทางการตรวจประเมินตามมาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัยและ    เวชกรรมสิ่งแวดล้อมสำหรับโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน

2. แบบรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด “ร้อยละการผ่านเกณฑ์ของหน่วยบริการสาธารณสุข สำหรับการจัดบริการอาชีวอนามัย และเวชกรรมสิ่งแวดล้อมในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ตามเกณฑ์ที่กำหนด”

ผู้ให้ข้อมูลทางวิชาการ/ผู้ประสานงานตัวชี้วัด

1. นางวีณา ภักดีสิริวิชัย                      รองผู้อำนวยการสำนักโรคจากการ

                                                ประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม

    โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-5904380       โทรศัพท์มือถือ :

    โทรสาร :                                  E-mail : bhakdi2005@yahoo.com

กรมควบคุมโรค

2. ดร.อรพันธ์ อันติมานนท์                   ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการจัดบริการ

                                                อาชีวอนามัย จ.สมุทรปราการ

    โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-3847935, 02-3940166         โทรศัพท์มือถือ :

    โทรสาร :                                  E-mail : untimanon@gmail.com  

ศูนย์พัฒนาการจัดบริการอาชีวอนามัย จ.สมุทรปราการ

หน่วยงานประมวลผลและจัดทำข้อมูล (ระดับส่วนกลาง)

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค

ผู้รับผิดชอบการรายงานผลการดำเนินงาน

1. ดร.พญ.ฉันทนา  ผดุงทศ                   ผู้อำนวยการสำนักโรคจากการ

                                                  ประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม

    โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-5918173       โทรศัพท์มือถือ : 081-9893609

    โทรสาร : 02-5904388                  E-mail : cpadungt@gmail.com

2. นางสาวอารีพิศ  พรหมรัตน์               นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

    โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 2394 0166      โทรศัพท์มือถือ : 086-9495986

    โทรสาร : 02-5904388                  E-mail : k.arreepit@gmail.com

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค

รหัสจังหวัดตัวชี้วัด Area base
Areabase Kpi Regioncode
หมายเหตุ

10 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย  ตาก กาญจนบุรี สระแก้ว ตราด หนองคาย  นครพนม  มุกดาหาร  สงขลา และ นราธิวาส 

Last Update2021-03-24 14:22:39
Download
Log ผลการดำเนินงาน >>