สัดส่วนของแรงงานต่างด้าวที่ได้รับการดูแลรักษาปัญหาสุขภาพที่ตรวจพบ

ผลการดำเนินงาน >>

Update Delete

ชื่อตัวชี้วัดสัดส่วนของแรงงานต่างด้าวที่ได้รับการดูแลรักษาปัญหาสุขภาพที่ตรวจพบ
Child KPIสร้าง KPI ย่อย
ปีงบประมาณ2560
ระดับตัวชี้วัดจังหวัด
ตัวชี้วัดที่062
Sort Order0
คำนิยาม

แรงงานข้ามชาติ หมายถึง แรงงานซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ซี่งตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2556 เห็นชอบให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานหลักในการให้การดูแลทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขแก่คนต่างด้าวทั้งหมดที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม จึงเป็น แรงงานใน 4 สัญชาติ คือ เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ซึ่งได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมการจัดหางานหรือเจ้าพนักงานซึ่งอธิบดีมอบหมายให้ประกอบอาชีพตามประกาศของกระทรวงแรงงาน

สุขภาพ ยึดคำนิยามตามร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ คือ ภาวะที่มีความพร้อมสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย คือ ร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง คล่องแคล่ว มีกำลัง ไม่เป็นโรค ไม่พิการ ไม่มีอุบัติเหตุอันตราย มีสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพ

ผลการตรวจ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ลงวันที่ 30มีนาคม 2558 จำแนกเป็น 3 ประเภท คือ

  ประเภทที่ 1 ผู้ที่มีผลการตรวจสุขภาพปกติ

  ประเภทที่ 2 ผู้ที่ผ่านการตรวจสุขภาพ แต่มีภาวะติดเชื้อหรือการเจ็บป่วยด้วยโรคที่จะต้องควบคุม ได้แก่ วัณโรค โรคเรื้อน โรคเท้าช้าง ซิฟิลิส และโรคพยาธิลำไส้ ให้ทำการรักษาต่อเนื่อง

  ประเภทที่ 3 ผู้ที่ไม่ผ่านการตรวจสุขภาพ เนื่องจาก

    - สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรง ที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน โดยอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์    

      หรือ

    - เป็นโรค ต้องห้ามมิให้ทำงาน คือ (1) วัณโรคระยะติดต่อ (2) โรคเรื้อนใน

ระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม (3) โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม (4) โรคซิฟิลิสในระยะที่ 3 (5) การติดสารเสพติดให้โทษ (6) พิษสุราเรื้อรัง (7) โรคจิต จิตฟั่นเฟือน หรือปัญญาอ่อน

โดยระบุไว้ในผลการตรวจเป็นประเภทที่ 3 ไม่สามารถอนุญาตให้ทำงานหรืออยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นการชั่วคราวได้

          ดังนั้น กลุ่มที่จะได้รับการรักษาเมื่อพบปัญหาสุขภาพขณะตรวจร่างกาย และผู้ที่เจ็บป่วยหลังจากได้รับอนุญาตให้พำนักและทำงานในประเทศ ซึ่งสามารถติดตามให้เข้ามารับการรักษาโดยบุคลากรทางการแพทย์และอาสาสมัครสาธารณสุขได้

หน่วยตัวชี้วัดร้อยละ
หน่วยของค่า Aคน
นิยามของค่า Aจำนวนแรงงานต่างด้าวที่ได้รับการดูแลรักษาปัญหาสุขภาพ
หน่วยของค่า Bคน
นิยามของค่า Bจำนวนแรงงานต่างด้าวที่พบมีปัญหาสุขภาพที่สามารถติดตามตัวได้
หน่วยของค่า C
นิยามของค่า C
หน่วยของค่า D
นิยามของค่า D
หน่วยของค่า E
นิยามของค่า E
หน่วยของค่า F
นิยามของค่า F
สูตรคำนวนตัวชี้วัด(A/B)*100
Operator>=
เกณฑ์เป้าหมายร้อยละ 75
ประชากรกลุ่มเป้าหมายแรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบอาชีพในประเทศไทย ใน 4 สัญชาติ คือ เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา และเวียดนาม
ค่าเป้าหมาย75.00
Max Value100.00
วิธีการจัดเก็บข้อมูล

จากรายงาน

แหล่งข้อมูล

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด /สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ/โรงพยาบาล

ตัวชี้วัดระดับกระทรวงไม่
ตัวชี้วัดระดับเขตไม่
ตัวชี้วัดระดับจังหวัดไม่
ตัวชี้วัดสำคัญไม่
ตัวชี้วัด Area Baseไม่
Tags
ระยะเวลาการประเมินผลไตรมาส 2, 3 และ 4
ข้อมูล Baseline

Baseline data

หน่วยวัด

ผลการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณ พ.ศ.

2557

2558

2559

จำนวนแรงงานต่างด้าวที่พบปัญหาสุขภาพเมื่อมารับบริการตรวจและประกันสุขภาพ ที่ OSS

ราย

19,615

1,268

8,965

 
เกณฑ์การประเมินผล

ปี 2560 :

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

 

 

 

ร้อยละ 75

การคัดกรองแรงงานต่างด้าวที่เข้ามารับบริการตรวจสุขภาพและให้ดูแลรักษาเมื่อพบปัญหาสุขภาพ

การคัดกรองแรงงานต่างด้าวกลุ่มเสี่ยงในชุมชนโดยอาสาสมัครและให้ดูแลรักษาเมื่อพบปัญหาสุขภาพ

การคัดกรองแรงงานต่างด้าวกลุ่มเสี่ยงในชุมชนโดยอาสาสมัครและให้ดูแลรักษาเมื่อพบปัญหาสุขภาพ

ประเมินผลความสำเร็จการให้บริการในกลุ่มแรงงานที่พบปัญหาสุขภาพ

ปี 2561 :

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

 

 

 

ร้อยละ 78

การคัดกรองแรงงานต่างด้าวที่เข้ามารับบริการตรวจสุขภาพและให้ดูแลรักษาเมื่อพบปัญหาสุขภาพ

การคัดกรองแรงงานต่างด้าวกลุ่มเสี่ยงในชุมชนโดยอาสาสมัครและให้ดูแลรักษาเมื่อพบปัญหาสุขภาพ

การคัดกรองแรงงานต่างด้าวกลุ่มเสี่ยงในชุมชนโดยอาสาสมัครและให้ดูแลรักษาเมื่อพบปัญหาสุขภาพ

ประเมินผลความสำเร็จการให้บริการในกลุ่มแรงงานที่พบปัญหาสุขภาพ

ปี 2562 :

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

 

 

 

ร้อยละ 80

การคัดกรองแรงงานต่างด้าวที่เข้ามารับบริการตรวจสุขภาพและให้ดูแลรักษาเมื่อพบปัญหาสุขภาพ

การคัดกรองแรงงานต่างด้าวกลุ่มเสี่ยงในชุมชนโดยอาสาสมัครและให้ดูแลรักษาเมื่อพบปัญหาสุขภาพ

การคัดกรองแรงงานต่างด้าวกลุ่มเสี่ยงในชุมชนโดยอาสาสมัครและให้ดูแลรักษาเมื่อพบปัญหาสุขภาพ

ประเมินผลความสำเร็จการให้บริการในกลุ่มแรงงานที่พบปัญหาสุขภาพ

ปี 2563 :

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

 

 

 

ร้อยละ 82

การคัดกรองแรงงานต่างด้าวที่เข้ามารับบริการตรวจสุขภาพและให้ดูแลรักษาเมื่อพบปัญหาสุขภาพ

การคัดกรองแรงงานต่างด้าวกลุ่มเสี่ยงในชุมชนโดยอาสาสมัครและให้ดูแลรักษาเมื่อพบปัญหาสุขภาพ

การคัดกรองแรงงานต่างด้าวกลุ่มเสี่ยงในชุมชนโดยอาสาสมัครและให้ดูแลรักษาเมื่อพบปัญหาสุขภาพ

ประเมินผลความสำเร็จการให้บริการในกลุ่มแรงงานที่พบปัญหาสุขภาพ

ปี 2564 :

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

 

 

 

ร้อยละ 85

การคัดกรองแรงงานต่างด้าวที่เข้ามารับบริการตรวจสุขภาพและให้ดูแลรักษาเมื่อพบปัญหาสุขภาพ

การคัดกรองแรงงานต่างด้าวกลุ่มเสี่ยงในชุมชนโดยอาสาสมัครและให้ดูแลรักษาเมื่อพบปัญหาสุขภาพ

การคัดกรองแรงงานต่างด้าวกลุ่มเสี่ยงในชุมชนโดยอาสาสมัครและให้ดูแลรักษาเมื่อพบปัญหาสุขภาพ

ประเมินผลความสำเร็จการให้บริการในกลุ่มแรงงานที่พบปัญหาสุขภาพ

 
วิธีการประเมินผล

1. แรงงานต่างด้าวที่มีปัญหาสุขภาพได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยที่เฝ้าระวังของสถานพยาบาลที่เป็นผู้ให้บริการตรวจและประกันสุขภาพ

2. มีระบบการเฝ้าระวังและคัดกรองโรคในชุมชนของสถานบริการสุขภาพ สำหรับแรงงานต่างด้าวที่พักอาศัยในพื้นที่รับผิดชอบ

3. สถานบริการสุขภาพมีระบบบริการสุขภาพเชิงรุกสำหรับแรงงานต่างด้าวในพื้นที่เช่นเดี่ยวกับคนไทย  

เอกสารสนับสนุน

1. ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว    

    ฉบับ ลงวันที่ 30มีนาคม 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

2. Clinical Practice guideline ของโรคต่างๆ ตามที่กำหนดโดยราชวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง

ผู้ให้ข้อมูลทางวิชาการ/ผู้ประสานงานตัวชี้วัด

1. นางสาวพัชรา  เสถียรพักตร์               นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ

    โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-5901639       โทรศัพท์มือถือ : 082-3240991

    โทรสาร : 02-5901740                    E-mail : kalyaneester@gmail.com

2. นางสุดาฟ้า  วงศ์หาริมาตย์                นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

    โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-5901639       โทรศัพท์มือถือ : 099-0581777

    โทรสาร : 02-5901740                    E-mail : sudafawongharimat@gmail.com

สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

หน่วยงานประมวลผลและจัดทำข้อมูล (ระดับส่วนกลาง)

- ศูนย์ประสานงานสุขภาพแรงงาน การช่วยเหลือเหยื่อค้ามนุษย์ และโครงการความร่วมมือกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของประเทศญี่ปุ่น กระทรวงสาธารณสุข

- สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ผู้รับผิดชอบการรายงานผลการดำเนินงาน

1. นางสาวพัชรา  เสถียรพักตร์                นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ

    โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-5901639       โทรศัพท์มือถือ : 0823240991

    โทรสาร : 02-5901740                    E-mail : kalyaneester@gmail.com

2. นางสุดาฟ้า  วงศ์หาริมาตย์                นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

    โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-5901639       โทรศัพท์มือถือ : 099-0581777

    โทรสาร : 02-5901740                    E-mail : sudafawongharimat@gmail.com

สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

รหัสจังหวัดตัวชี้วัด Area base
Areabase Kpi Regioncode
หมายเหตุ
Last Update2024-08-14 14:48:12
Download
Log ผลการดำเนินงาน >>