ร้อยละของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการสุขภาพจิต
ผลการดำเนินงาน >>ชื่อตัวชี้วัด | ร้อยละของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการสุขภาพจิต | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Child KPI | สร้าง KPI ย่อย | |||||||||||||
ปีงบประมาณ | 2560 | |||||||||||||
ระดับตัวชี้วัด | ประเทศ | |||||||||||||
ตัวชี้วัดที่ | 041 | |||||||||||||
Sort Order | 0 | |||||||||||||
คำนิยาม |
การเข้าถึงบริการ หมายถึง การที่ประชาชนผู้ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคซึมเศร้า ได้รับการบริการตามแนวทางการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าระดับจังหวัด และแนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป (CPG MDD GP) หรือได้รับการช่วยเหลือตามแนวทางมาตรฐานอย่างเหมาะสมจากหน่วยบริการทุกสถานบริการของประเทศไทย ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า หมายถึง ประชาชนที่เจ็บป่วยด้วยโรคจิตเวชที่มีอาการสอดคล้องกับ Depressive Disorder ตามมาตรฐานการจำแนกโรคระหว่างประเทศขององค์การอนามัยโลกฉบับที่ 10 (ICD – 10 : International Classification of Diseases and Health Related Problems - 10) หมวด F32, F33, F34.1, F38 และ F39 หรือเทียบเคียงในกลุ่มโรคเดียวกันกับการวินิจฉัยตามเกณฑ์วินิจฉัยโรคของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน ฉบับที่ 5 (DSM-5: Diagnostic and Statistical Manual of Mental disorders 5) ที่มารับบริการสะสมตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552 จนถึงในปีงบประมาณ 2560 (สะสมมาตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปีงบประมาณที่รายงาน) ทั้งรายเก่าและรายใหม่ พื้นที่เป้าหมาย หมายถึง พื้นที่ทุกจังหวัดในประเทศไทย รวมกรุงเทพมหานคร | |||||||||||||
หน่วยตัวชี้วัด | ร้อยละ | |||||||||||||
หน่วยของค่า A | คน | |||||||||||||
นิยามของค่า A | จำนวนผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มารับบริการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552 สะสมมาจนถึงปีงบประมาณ (ใส่ปีที่ต้องการวัด) | |||||||||||||
หน่วยของค่า B | คน | |||||||||||||
นิยามของค่า B | จำนวนผู้ป่วยโรคซึมเศร้าคาดประมาณจากความชุกที่ได้จากการสำรวจ | |||||||||||||
หน่วยของค่า C | ||||||||||||||
นิยามของค่า C | ||||||||||||||
หน่วยของค่า D | ||||||||||||||
นิยามของค่า D | ||||||||||||||
หน่วยของค่า E | ||||||||||||||
นิยามของค่า E | ||||||||||||||
หน่วยของค่า F | ||||||||||||||
นิยามของค่า F | ||||||||||||||
สูตรคำนวนตัวชี้วัด | (A/B)*100 | |||||||||||||
Operator | >= | |||||||||||||
เกณฑ์เป้าหมาย | ร้อยละ 50 | |||||||||||||
ประชากรกลุ่มเป้าหมาย | ประชาชนที่เจ็บป่วยด้วยโรคจิตเวชที่มีอาการสอดคล้องกับ Depressive Disorder ตามมาตรฐานการจำแนกโรคระหว่างประเทศขององค์กรอนามัยโลกฉบับที่ 10 (ICD – 10 : International Classification of Diseases and Health Related Problems - 10) หมวด F32, F33, F34.1, F38 และ F39 หรือเทียบเคียงในกลุ่มโรคเดียวกันกับการวินิจฉัยตามเกณฑ์วินิจฉัยโรคของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน ฉบับที่ 4 (DSM-5: Diagnostic and Statistical Manual of Mental disorders 5) | |||||||||||||
ค่าเป้าหมาย | 50.00 | |||||||||||||
Max Value | 100.00 | |||||||||||||
วิธีการจัดเก็บข้อมูล | กรมสุขภาพจิต โดยโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์เป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลรายงานการเข้าถึงบริการของสถานบริการสาธารณสุขทั่วประเทศ จากแหล่งรายงานกลางของกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานหน่วยบริการที่จัดส่ง ทำการรวมผลการดำเนินงานในปี 2560 เข้ากับผลการดำเนินงานของปีงบประมาณ 2552-2559 (หรือสะสมมาตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปีงบประมาณที่รายงาน) ในฐานข้อมูลการเข้าถึงบริการโรคซึมเศร้า โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ วิเคราะห์เป็นรายหน่วยบริการ จังหวัด เขตสุขภาพ และประเทศ แล้วนำเสนอผลที่ www.thaidepression.com ข้อมูลที่ต้องการ ได้แก่ 1) วันที่เข้ารับการบริการ 2) คำนำหน้า 3) ชื่อ 4) นามสกุล 5) เพศ 6) เลขที่บัตรประชาชน 7) วันเดือนปีเกิด 8) อำเภอ 9) จังหวัด 10) รหัสโรคซึมเศร้า 11) คะแนน 9Q 12) คะแนน 8Q ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีอยู่ในฐานข้อมูล 50 แฟ้มแล้ว) ในกรณีที่หน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่มีความประสงค์จะขอส่งข้อมูลหรือรายงานมายังศูนย์วิจัยและสารสนเทศโรคซึมเศร้า โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ ดำเนินการได้ดังนี้ 1. ส่งรายงานเป็นเอกสารตามแบบฟอร์มที่กำหนดทางไปรษณีย์มายังศูนย์วิจัยและสารสนเทศโรคซึมเศร้า โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ ทีมงานจะบันทึกข้อมูลตามรายการให้อย่างครบถ้วน 2. ส่งข้อมูลจาก file ข้อมูลแบบ excel หรือ word ที่ส่งผ่านทาง e-mail ที่ E-mail : depression54@hotmail.com หรือ info@thaidepression.com หรือ copy ลง CD ส่งทางไปรษณีย์ 3. บันทึกทางโปรแกรมการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า www.thaidepression.com สำหรับหน่วยที่มีความพร้อมและต้องการบันทึกการบริการทาง Online ทั้งนี้ กรมสุขภาพจิต โดยโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จะรับดำเนินการรวบรวมพร้อมประมวลผลเข้ากับฐานข้อมูลโรคซึมเศร้า จนกว่าหน่วยบริการในพื้นที่จะขอยกเลิกการส่งตามข้อ 1-2 คำอธิบายสูตร: ตัวตั้ง คือ จำนวนผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (F32, F33, F34.1, F38 และ F39) ทั้งรายเก่าและรายใหม่ที่มารับบริการสะสมมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552 สะสมมาจนถึงในปีงบประมาณ (ใส่ปีที่ต้องการวัด) ในหน่วยบริการ/สถานพยาบาลรพศ./รพท./รพช./ รพ.สต.และศูนย์สุขภาพชุมชนทุกจังหวัดในประเทศไทย รวมทั้งรพ./สถาบันจิตเวชในสังกัดกรมสุขภาพจิต ตัวหาร คือ จำนวนผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่คำนวณจากความชุกของโรคซึมเศร้าภาพรวมทั้งประเทศ ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป (อัตราความชุกจากการสำรวจระบาดวิทยาของโรคซึมเศร้าปี 2551 โดยกรมสุขภาพจิต โดยสุ่มตัวอย่างของประขากรไทยที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปจำนวน 19,000 ราย พบอัตราความชุกของโรคซึมเศร้าภาพรวมทั้งประเทศ 2.7% (แยกเป็น Major Depressive episode 2.4%, Dysthymia 0.3%) และฐานประชากรประจำปี....(จะใช้ประชากรประจำปีย้อนหลังไป 1-2 ปี เนื่องจากปีที่จะวัดยังไม่มีรายงาน เช่น ในปีงบประมาณ 2560 จะฐานประชากรประจำปี 2558) ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
| |||||||||||||
แหล่งข้อมูล | สถานบริการสาธารณสุขทั่วประเทศ | |||||||||||||
ตัวชี้วัดระดับกระทรวง | ไม่ | |||||||||||||
ตัวชี้วัดระดับเขต | ไม่ | |||||||||||||
ตัวชี้วัดระดับจังหวัด | ใช่ | |||||||||||||
ตัวชี้วัดสำคัญ | ไม่ | |||||||||||||
ตัวชี้วัด Area Base | ไม่ | |||||||||||||
Tags | ||||||||||||||
ระยะเวลาการประเมินผล | ไตรมาส 4 | |||||||||||||
ข้อมูล Baseline |
| |||||||||||||
เกณฑ์การประเมินผล | ปี 2560 - 2564 :
| |||||||||||||
วิธีการประเมินผล | รวบรวมข้อมูลผลการเข้าถึงบริการของสถานบริการสาธารณสุขทั่วประเทศจากมาตรฐานข้อมูล 43 แฟ้ม โดยการรับข้อมูลจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขเป็นรอบไตรมาส ที่มีข้อมูลสอดคล้องกับแบบรายงานที่กำหนดและทำการรวมผลการดำเนินงานในปีปัจจุบันเข้ากับผลการดำเนินงานของปีงบประมาณ 2552-ปีที่ต้องการจะวัดในฐานข้อมูลการเข้าถึงบริการโรคซึมเศร้า กรมสุขภาพจิต โดยโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ แล้ววิเคราะห์ประมวลผล และนำเสนอเป็นรายจังหวัด เขตสุขภาพ และประเทศที่ www.thaidepression.com | |||||||||||||
เอกสารสนับสนุน | ข้อมูลจากฐานข้อมูล www.thaidepression.com | |||||||||||||
ผู้ให้ข้อมูลทางวิชาการ/ผู้ประสานงานตัวชี้วัด | 1. นายแพทย์ธรณินทร์ กองสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ โทรศัพท์ที่ทำงาน : 045-352599 โทรศัพท์มือถือ: 084-5585956 โทรสาร : 045-352598 E-mail : tkongsuk@gmail.com 2. นางจินตนา ลี้จงเพิ่มพูน โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ โทรศัพท์ที่ทำงาน : 045-352599 โทรศัพท์มือถือ : 081-8775751 โทรสาร : 045-352598 E-mail : virgojinny12@gmail.com โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ | |||||||||||||
หน่วยงานประมวลผลและจัดทำข้อมูล (ระดับส่วนกลาง) | โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ | |||||||||||||
ผู้รับผิดชอบการรายงานผลการดำเนินงาน | 1. นางจินตนา ลี้จงเพิ่มพูน โทรศัพท์ที่ทำงาน :045-352599 โทรศัพท์มือถือ:081-8775751 โทรสาร : 045-352598 E-mail : virgojinny12@gmail.com ศูนย์วิจัยและสารสนเทศโรคซึมเศร้า โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต | |||||||||||||
รหัสจังหวัดตัวชี้วัด Area base | ||||||||||||||
Areabase Kpi Regioncode | ||||||||||||||
หมายเหตุ | การนำข้อมูลไปอ้างอิงให้ใช้ข้อมูลจาก http://www.thaidepression.com/www/report/main_report/ | |||||||||||||
Last Update | 2021-03-24 14:22:39 | |||||||||||||
Download |