ระดับความสำเร็จในการเตรียมพร้อมและตอบโต้การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ผลการดำเนินงาน >>

Update Delete

ชื่อตัวชี้วัดระดับความสำเร็จในการเตรียมพร้อมและตอบโต้การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
Child KPIสร้าง KPI ย่อย
ปีงบประมาณ2565
ระดับตัวชี้วัดประเทศ
ตัวชี้วัดที่017
Sort Order0
คำนิยาม

1. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หมายถึง การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งที่มีอาการและไม่มีอาการ โดยมีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันเป็นบวก

2. ระดับความสำเร็จในการเตรียมพร้อมและตอบโต้การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หมายถึง การดำเนินการของหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในการเตรียม
ความพร้อมและตอบโต้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ทั้งหมด 10 ประเด็น โดยวัดผลการดำเนินงานในระดับประเทศ 10 ประเด็น (10 ตัวชี้วัดย่อย) และในระดับจังหวัด 4 ประเด็น (4 ตัวชี้วัดย่อย) รายละเอียดตามหัวข้อเกณฑ์การประเมิน ได้แก่

  1. พัฒนาระบบเฝ้าระวังและกระบวนการคัดกรองโรคในผู้เดินทางระหว่างประเทศ
    ณ ช่องทาง เข้าออกประเทศ (กรม คร.)
  2. ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (กรม คร.)
  3. การถอดบทเรียนการเตรียมพร้อมและตอบโต้การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
    (กรม คร.)
  4. มี Real time Dashboard สำหรับผู้บริหารตัดสินใจ (กรม คร.)
  5. ห้องปฏิบัติการทุกจังหวัดสามารถแจ้งผลตรวจการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ใน 1 วัน
    (กรม วพ.)
  6. ประชาชนสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย (กรม อ.)
  7. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงภายใต้สถานการณ์ COVID-19 เข้าถึงบริการสุขภาพจิต และได้รับ
    การเยียวยาจิตใจ (กรม สจ.)
  8. ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีอาการไม่รุนแรง ที่ได้รับยาฟ้าทะลายโจร (กรม พท.)
  9. ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  ได้รับการฟื้นฟูสภาพด้วยการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก และสมุนไพร (กรม พท.)
  10. แผนรองรับภาวะฉุกเฉินฉบับปรับปรุง เพื่อเตรียมความพร้อมในการเผชิญเหตุเพื่อรองรับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (สธฉ.สป.)

3. พัฒนาระบบเฝ้าระวังและกระบวนการคัดกรองโรคในผู้เดินทางระหว่างประเทศ ณ ช่องทาง เข้าออกประเทศ หมายถึง ด่านฯตามประกาศกระทรวงภายใต้ พรบ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 คัดกรองโรคในผู้เดินทางระหว่างประเทศตามกระบวนการคัดกรองอย่างใดอย่างหนึ่งที่เหมาะสมกับบริบทและสถานการณ์ คือ (1) คัดกรองทาง Clinical อาการ/อาการแสดง และอุณหภูมิร่างกาย หรือ (2) คัดกรอง ด้วย RT-PCR หรือ Rapid Antigen test และ (3) ตรวจสอบเอกสารการได้รับอนุญาตเข้ามาในราชอาณาจักร (4) ตรวจสอบ Vaccine Certificate โดยรายงานข้อมูลตามชุดข้อมูลพื้นฐาน (Minimum data set) และผลการคัดกรองผ่านระบบ Electronic มายังกรมควบคุมโรค

4. ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หมายถึง ประชากรทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยได้รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 70 ตามนโยบายของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) โดยประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ครบตามเกณฑ์ ตามแนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 (ข้อมูลขณะประเมินการได้รับวัคซีน)

5. ถอดบทเรียน หมายถึง การทบทวนการตอบโต้การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในปี 2564 ให้ครอบคลุมประเด็น Staff-Stuff-System

6. มี Real time Dashboard สำหรับผู้บริหารตัดสินใจ หมายถึง การแสดงข้อมูลที่เป็นปัจจุบันเพื่อให้ผู้บริหารสามารถนำไปตัดสินใจในการบัญชาการเหตุการณ์ได้ทันเวลา ซึ่งประกอบด้วย

  1. ข้อมูลสถานการณ์โรค เช่น ผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ ผู้ป่วยติดเชื้อสะสม ผู้ป่วยติดเชื้อที่รักษาอยู่ ผู้ป่วยติดเชื้อที่กลับบ้าน ผู้ป่วยติดเชื้อที่เสียชีวิต ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19ในประชาชน และผู้กักกันตัวในสถานกักกันโรคแห่งรัฐ
  2. การจัดการด้าน EOC เช่น ข้อมูลบุคลากร (Staff) จำนวนบุคลากรที่เข้าเกณฑ์ PUI ข้อมูลทรัพยากร (Stuff) การบริหารจัดสรรวัคซีนป้องกันโควิด-19 ยาและเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา จำนวนห้อง AIIR, Isolate room, Cohort ward เป็นต้น
  3. สถานการณ์โรค และการจัดการข้อมูลผู้เดินทางระหว่างประเทศ 3 ช่องทาง ได้แก่ ทางบก
    ทางอากาศ และทางน้ำ

7. ห้องปฏิบัติการทุกจังหวัดสามารถแจ้งผลตรวจการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ใน 1 วัน หมายถึง จำนวนห้องปฏิบัติการตรวจเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ที่สามารถแจ้งผลตรวจการติดเชื้อ ได้ใน 1 วัน เป็นการตรวจพันธุกรรมด้วยวิธี RT-PCR

ยกเว้น

  1. กรณีผลกำกวม อาจมีการส่งต่อห้องปฏิบัติการอื่น ซึ่งจะใช้เวลามากกว่า 24 ชั่วโมง โดยมีการประสานรายงานเบื้องต้นไปก่อน
  2. กรณีเฝ้าระวังหรือการตรวจตามนโยบายอื่นๆ ที่ส่งผลให้มีจำนวนตัวอย่างมาครั้งละมากๆ
    เกินขีดความสามารถในการบริการปกติ

8. ประชาชนสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย หมายถึง ประชาชนที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในสถานที่ที่มีคนรวมตัวกัน/สถานที่แออัด เพื่อป้องกันโรคโควิด 19 มากกว่าร้อยละ 85

9. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงภายใต้สถานการณ์ COVID-19 เข้าถึงบริการสุขภาพจิต และได้รับการเยียวยาจิตใจ หมายถึง ประชาชนที่ได้รับการประเมินและคัดกรองด้านสุขภาพจิต ใน 4 ประเด็นปัญหา (St B Su D : Stress, Burnout, Suicide, Depression) ได้แก่ ภาวะเครียด (stress) ภาวะเหนื่อยล้าหมดไฟ (Burnout) เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย (suicide) และภาวะซึมเศร้า (depression) จากการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตด้วยการค้นหา คัดกรองเชิงรุก (Active Screening) จาก Application Mental Health Check-in และมีผลคะแนนจากการประเมิน/คัดกรอง ดังนี้

  1. แบบประเมินความเครียด (ST-5) ≥ 8 คะแนน
  2. แบบคัดกรองโรคซึมเศร้าด้วย 9 คำถาม (9Q) ≥ 7 คะแนน หลังผลการประเมิน 2Q เป็นบวก
  3. แบบประเมินความเสี่ยงฆ่าตัวตาย 8 คำถาม (8Q) ≥ 1 คะแนน
  4. แบบประเมินภาวะหมดไฟ (Burnout) ≥3 คะแนน

ได้รับการดูแล และเยียวยาจิตใจ ตามกระบวนการดูแลช่วยเหลือทางจิตใจที่มีหลักฐานทางวิชาการ เช่น การปฐมพยาบาลด้านจิตใจ (PFA) การให้คำปรึกษา การช่วยเหลือจิตใจในภาวะวิกฤต (Crisis Intervention) Grief counselling Satir เป็นต้น รวมถึงการส่งพบจิตแพทย์ หรือระบบบริการ
ตามปัญหาสุขภาพจิตที่พบ โดยมีช่องทางการให้บริการด้านสุขภาพจิตทั้งระบบออนไลน์และระบบปกติ หรือการประสาน ส่งต่อแหล่งสนับสนุนทางสังคม ตามปัญหาของแต่ละบุคคล

10. ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีอาการไม่รุนแรง ที่ได้รับยาฟ้าทะลายโจร หมายถึง ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีอาการไม่รุนแรง ได้แก่ มีไข้ ไอ น้ำมูก ตาแดง ผื่นขึ้น ไม่มีโรคร่วมที่ได้รับยาฟ้าทะลายโจร

11. ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้รับการฟื้นฟูสภาพด้วยการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก และสมุนไพร หมายถึง ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ได้รับการดูแลสุขภาพด้วยองค์ความรู้การแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก และสมุนไพร เพื่อช่วยในการฟื้นฟูร่างกายจากพยาธิสภาพของ COVID-19 (Long COVID) เช่น เหนื่อยล้า หายใจลำบาก วิตกกังวลและซึมเศร้า ภาวะสมองล้า เป็นต้น

12. แผนรองรับภาวะฉุกเฉินฉบับปรับปรุง เพื่อเตรียมความพร้อมในการเผชิญเหตุเพื่อรองรับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข

  1. แผนประคองกิจการ (Business Continuity Planning :BCP) หมายถึง แผนเตรียมความพร้อม องค์กรให้สามารถรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในการป้องกัน ตรวจค้น และตอบสนองต่อสถานการณ์วิกฤติที่ เพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน
    ตามภารกิจขององค์กร
  2. แผนเผชิญเหตุ (Incident Action Plan: IAP) หมายถึง แผนเผชิญเหตุที่ถูกจัดทำในขณะเกิดเหตุการณ์ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และสาธารณสุขสำหรับแต่ละห้วงเวลาปฏิบัติการ ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ เป้าหมายการปฏิบัติการ ห้วงระยะเวลาปฏิบัติการ ยุทธศาสตร์ และกลวิธีการปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน รวมทั้งหน่วยงานที่นำไปปฏิบัติ
หน่วยตัวชี้วัดร้อยละ
หน่วยของค่า Aจังหวัด
นิยามของค่า Aจำนวนจังหวัดที่มีการดำเนินการตามตัวชี้วัด ครบทั้ง 4 ประเด็น (4 ตัวชี้วัดย่อย) ตามเกณฑ์การประเมิน และมีคะแนนผลสำเร็จอยู่ในระดับดีมาก
หน่วยของค่า Bจังหวัด
นิยามของค่า Bจำนวนจังหวัดทั้งหมด
หน่วยของค่า C
นิยามของค่า C
หน่วยของค่า D
นิยามของค่า D
หน่วยของค่า E
นิยามของค่า E
หน่วยของค่า F
นิยามของค่า F
สูตรคำนวนตัวชี้วัด(A/B)*100
Operator=
เกณฑ์เป้าหมายระดับดีมาก ร้อยละ 100 (76 จังหวัด และ กทม.)
ประชากรกลุ่มเป้าหมายสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จำนวน 76 จังหวัด กรุงเทพมหานคร และเขต 1-12
ค่าเป้าหมาย100.00
Max Value100.00
วิธีการจัดเก็บข้อมูล
แหล่งข้อมูล
ตัวชี้วัดระดับกระทรวง-
ตัวชี้วัดระดับเขต-
ตัวชี้วัดระดับจังหวัด-
ตัวชี้วัดสำคัญ-
ตัวชี้วัด Area Base-
Tags
ระยะเวลาการประเมินผลทุกไตรมาส
ข้อมูล Baseline
เกณฑ์การประเมินผล
วิธีการประเมินผล
เอกสารสนับสนุน
ผู้ให้ข้อมูลทางวิชาการ/ผู้ประสานงานตัวชี้วัด
หน่วยงานประมวลผลและจัดทำข้อมูล (ระดับส่วนกลาง)
ผู้รับผิดชอบการรายงานผลการดำเนินงาน
รหัสจังหวัดตัวชี้วัด Area base0
Areabase Kpi Regioncode0
หมายเหตุ
Last Update2022-10-05 15:58:51
Download
Log ผลการดำเนินงาน >>