ร้อยละของ ผู้ป่วย Intermediate care * ได้รับการบริบาลฟื้นสภาพและติดตามจนครบ 6 เดือน หรือจน Barthel index = 20 ก่อนครบ 6 เดือน

ผลการดำเนินงาน >>

Update Delete

ชื่อตัวชี้วัดร้อยละของ ผู้ป่วย Intermediate care * ได้รับการบริบาลฟื้นสภาพและติดตามจนครบ 6 เดือน หรือจน Barthel index = 20 ก่อนครบ 6 เดือน
Child KPIสร้าง KPI ย่อย
ปีงบประมาณ2565
ระดับตัวชี้วัดประเทศ
ตัวชี้วัดที่046
Sort Order-
คำนิยาม

การบริบาลฟื้นสภาพระยะกลาง (Intermediate care; IMC) หมายถึง การบริบาลฟื้นสภาพผู้ป่วยระยะกลางที่มีอาการทางคลินิกผ่านพ้นภาวะวิกฤติและมีอาการคงที่
แต่ยังคงมีความผิดปกติของร่างกายบางส่วนอยู่และมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน จำเป็นต้องได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์โดยทีมสหวิชาชีพ (multidisciplinary approach) อย่างต่อเนื่องจนครบ 6 เดือนตั้งแต่ในโรงพยาบาลจนถึงชุมชน เพื่อเพิ่มสมรรถนะร่างกาย จิตใจ ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และลดความพิการหรือภาวะทุพพลภาพ รวมทั้งกลับสู่สังคมได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยมีการให้บริการผู้ป่วยระยะกลางใน รพ.ทุกระดับ (A, S: เป็นโรงพยาบาลแม่ข่าย M, F: โรงพยาบาลลูกข่ายและให้บริการ intermediate bed/ward)

*ผู้ป่วย Intermediate care หมายถึง ผู้ป่วยกลุ่มโรค Stroke, Traumatic Brain Injury, Spinal Cord Injury และ Fracture Hip (Fragility fracture) ที่รอดชีวิตและมีคะแนน Barthel index <15 รวมทั้งคะแนน Barthel index >15 with multiple impairments ตามเกณฑ์การบริบาลฟื้นสภาพระยะกลางแบบผู้ป่วยใน (IPD-IMC protocol) สำหรับโรงพยาบาลระดับ M และ F

Intermediate ward คือ การให้บริการ Intensive IPD rehabilitation program หมายถึง ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูอย่างน้อยวันละ 3 ชั่วโมง และอย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ หรือ อย่างน้อย 15 ชั่วโมง/สัปดาห์ (ไม่รวมชั่วโมง nursing care) โดยมีรายละเอียดการให้บริการ Intermediate ward ตามภาคผนวก 1

Intermediate bed คือ การให้บริการ Less Intensive IPD rehab program หมายถึง ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูโดยเฉลี่ยอย่างน้อย วันละ 1 ชั่วโมงอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ (ไม่รวมชั่วโมง nursing care)

การพยาบาลฟื้นฟูสภาพ หมายถึง กิจกรรมการพยาบาลที่ใช้กระบวนการหรือกิจกรรมที่มุ่งหวังให้ผู้ป่วย คนพิการ สามารถฟื้นคืนสภาพให้เร็วที่สุด ยอมรับและปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและเศรษฐกิจ โดยกระบวนการหรือกิจกรรมต่าง ๆ นั้น ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ป่วย คนพิการ ญาติ ผู้ดูแล และทีม
สหวิชาชีพเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วย คนพิการ สามารถดำรงชีวิตอิสระในสังคมได้ตามศักยภาพ รวมถึงการพิทักษ์สิทธิอันพึงได้ให้กับผู้ป่วย คนพิการ

หมายเหตุ

1. โรงพยาบาลระดับ A และ S ควรมีบทบาทเป็นผู้คัดกรอง ส่งต่อ และติดตามข้อมูลผู้ป่วย รวมทั้งการสนับสนุนทางด้านวิชาการและการรับปรึกษา

2. การให้บริการ intermediate ward ได้ในโรงพยาบาลทุกระดับที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขขึ้นกับความพร้อมและบริบทของพื้นที่ในแต่ละจังหวัดและเขตสุขภาพ

 

 

 

คำย่อ

คำเต็ม

คำอธิบาย

BI

Barthel ADL index

แบบประเมินสมรรถนะความสามารถทำกิจวัตรประจำวันบาร์เทล ที่มีคะแนนเต็มเท่ากับ 20

IMC

Intermediate care

การบริบาลฟื้นสภาพระยะกลาง

IPD

In-patient department

หอผู้ป่วยในที่รับผู้ป่วยเข้านอนในโรงพยาบาลเพื่อการบำบัดรักษา

Stroke

Cerebrovascular accident

การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ ICD10 ต่อไปนี้ I60 - I64

TBI

Traumatic brain injury

การวินิจฉัยบาดเจ็บสมองที่เกิดจากภยันตราย ได้แก่  ICD10 ต่อไปนี้ S061 – S069

SCI

Spinal cord injury

การวินิจฉัยบาดเจ็บไขสันหลังจากภยันตราย (traumatic) ได้แก่ ICD10 ต่อไปนี้  S14.0 – S14.1, S24.0 – S24.1, S34.0 – S34.1, S34.3

-

Fracture Hip

(Fragility fracture)

การวินิจฉัยภาวะกระดูกสะโพกหักจากภยันตรายชนิดไม่รุนแรง (Fragility fracture) ได้แก่ ICD10 ต่อไปนี้ S72.0 - S72.2

 

Multiple Impairments

ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องตั้งแต่ 2 ระบบขึ้นไป ได้แก่ swallowing problem, communication problem, mobility problem, cognitive and perception problem, bowel and bladder problem

A

โรงพยาบาลศูนย์

ตามคำนิยามของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้

S

โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่

ตามคำนิยามของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้

M1

โรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก

ตามคำนิยามของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้

M2

โรงพยาบาลชุมชน

เพื่อรับส่งต่อผู้ป่วย

รพช. ขนาด 120 เตียงขึ้นไป

F1

โรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่

รพช. ขนาด 60-120 เตียง

F2

โรงพยาบาลชุมชนขนาดกลาง

รพช. ขนาด 30-90 เตียง

F3

โรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก

รพช. ขนาด 10 เตียง

 

หน่วยตัวชี้วัดร้อยละ
หน่วยของค่า Aคน
นิยามของค่า Aผู้ป่วย Stroke, Traumatic Brain Injury, Spinal Cord Injury และ Fracture Hip (Fragility fracture) ทุกราย ภายในจังหวัดที่รอดชีวิตและมีคะแนน Barthel index <15 ที่ได้รับการบริบาลฟื้นสภาพระยะกลางและติดตามจนครบ 6 เดือน หรือจนกว่า Barthel index = 20 ตามเกณฑ์การบริบาลฟื้นสภาพระยะกลางแบบผู้ป่วยใน (IPD-IMC protocol) สำหรับโรงพยาบาลระดับ M และ F
หน่วยของค่า Bคน
นิยามของค่า Bผู้ป่วย Stroke, Traumatic Brain Injury, Spinal Cord Injury รายใหม่ หรือกลับเป็นซ้ำภายในระยะเวลา 6 เดือน และ Fracture Hip (Fragility fracture) ทุกราย ที่เข้าสู่ระบบการดูแลระยะกลางอย่างต่อเนื่องจนครบ 6 เดือน หรือจนกว่า Barthel index = 20 หมายเหตุ: การดูแลระยะกลางอย่างต่อเนื่อง รวมถึงรูปแบบการดูแลแบบผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และเยี่ยมบ้าน
หน่วยของค่า C
นิยามของค่า C
หน่วยของค่า D
นิยามของค่า D
หน่วยของค่า E
นิยามของค่า E
หน่วยของค่า F
นิยามของค่า F
สูตรคำนวนตัวชี้วัด(A/B)*100
Operator>=
เกณฑ์เป้าหมาย≥ ร้อยละ 70
ประชากรกลุ่มเป้าหมาย1. ผู้ป่วย Stroke, Traumatic Brain Injury และ Spinal Cord Injury รายใหม่หรือกลับเป็นซ้ำทั้งหมดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลภายในจังหวัด 2. ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ทุกรายที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลภายในจังหวัดด้วยภาวะกระดูกสะโพกหักจากภยันตรายชนิดไม่รุนแรง (Fragility fracture)
ค่าเป้าหมาย70.00
Max Value100.00
วิธีการจัดเก็บข้อมูล
แหล่งข้อมูล
ตัวชี้วัดระดับกระทรวง-
ตัวชี้วัดระดับเขต-
ตัวชี้วัดระดับจังหวัด-
ตัวชี้วัดสำคัญ-
ตัวชี้วัด Area Base-
Tags
ระยะเวลาการประเมินผล
ข้อมูล Baseline
เกณฑ์การประเมินผล
วิธีการประเมินผล
เอกสารสนับสนุน
ผู้ให้ข้อมูลทางวิชาการ/ผู้ประสานงานตัวชี้วัด
หน่วยงานประมวลผลและจัดทำข้อมูล (ระดับส่วนกลาง)
ผู้รับผิดชอบการรายงานผลการดำเนินงาน
รหัสจังหวัดตัวชี้วัด Area base0
Areabase Kpi Regioncode0
หมายเหตุ
Last Update2022-05-05 15:55:51
Download
Log ผลการดำเนินงาน >>