ร้อยละของตำบลที่มีระบบการส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care : LTC) ในชุมชนผ่านเกณฑ์

ผลการดำเนินงาน >>

Update Delete

ชื่อตัวชี้วัดร้อยละของตำบลที่มีระบบการส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care : LTC) ในชุมชนผ่านเกณฑ์
Child KPIสร้าง KPI ย่อย
ปีงบประมาณ2565
ระดับตัวชี้วัดประเทศ
ตัวชี้วัดที่006.2
Sort Order0
คำนิยาม

1. ระบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ หมายถึง การดำเนินงานส่งเสริม พัฒนา สนับสนุนฟื้นฟูและสร้างความเข็มแข็งให้กับภาคีเครือข่ายและชุมชนให้มีส่วนร่วมในการดูแล
และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้สูงอายุให้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี มีอายุยืนยาว

2. องค์ประกอบของตำบลที่มีระบบการส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care) ในชุมชนผ่านเกณฑ์ หมายถึง การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย และชุมชน ในการดำเนินงานด้านการส่งเสริม พัฒนา สนับสนุนฟื้นฟู และสร้างความเข้มแข็งให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี มีอายุยืนยาว ด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 ผู้สูงอายุทุกคนในชุมชนได้รับการประเมินคัดกรองปัญหาสุขภาพ
                       ขั้นพื้นฐานตามชุดสิทธิประโยชน์ผ่าน Blue Book Application
                      ด้วย 2 กิจกรรม คือ                      

                      - ประเมินผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิงตามกลุ่มศักยภาพตาม
                        ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (Barthel Activities
                        of Daily Living: ADL)

                      - ประเมินสุขภาพและคัดครองกลุ่มอาการผู้สูงอายุ 9 ข้อ (โดย
                         คณะกรรมการพัฒนาเครื่องมือคัดกรอง และประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ
                         กระทรวงสาธารณสุข)

องค์ประกอบที่ 2   ผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิงที่ผ่านการประเมินคัดกรองและมีปัญหา
                        ด้านสุขภาพ ได้รับการดูแลและวางแผนการส่งเสริมดูแลสุขภาพ
                        รายบุคคล (Care Plan)

องค์ประกอบที่ 3   มีระบบเฝ้าระวังด้านส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ในเชิง
                        ป้องกันสำหรับการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิงในระดับตำบล ได้แก่

                      - มีการดูแลส่งเสริมด้านทันตสุขภาพในผู้สูงอายุ

                      - มีมาตรการส่งเสริมสุขภาพเชิงป้องกันตามสถานการณ์การระบาด
                        และควบคุมโรคในกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้มีภาวะพึ่งพิงในระดับตำบล

                      - มีการประเมินด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ที่อยู่อาศัย ระบบสาธารณูปโภค
                        การจัดการขยะติดเชื้อที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของกลุ่มผู้สูงอายุและผู้มี
                        ภาวะพึ่งพิงในระดับตำบล เป็นต้น

องค์ประกอบที่ 4   มี Care Manager/ ทีมสหวิชาชีพ/ หมอครอบครัว/ Caregiver/                           อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น/ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน                              และแกนนำผู้สูงอายุลงเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนตาม                      แผนการส่งเสริมดูแลสุขภาพรายบุคคล (Care Plan)

องค์ประกอบที่ 5   มีการรายงานผลการประเมินตามกลุ่มศักยภาพตามความสามารถใน                        การประกอบกิจวัตรประจำวัน (Barthel Activities of Daily Living                    :ADL) ของผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงรอบ 9 เดือนและรอบ 12                                เดือน ดีขึ้นในลักษณะของการเปลี่ยนกลุ่มจาก

                                - กลุ่มติดเตียงมาเป็นกลุ่มติดบ้าน

                                - กลุ่มติดบ้านมาเป็นกลุ่มสังคม                  

องค์ประกอบที่ 6   มีระบบการบันทึกข้อมูลผ่านระบบโปรแกรม Long Term Care (3C)
                       ประกอบด้วย

                      - ข้อมูลการขึ้นทะเบียน CM /CG /และการจัดทำ Care Plan

                      - ข้อมูลการประเมินตำบลตามเกณฑ์ 6 องค์ประกอบ ทั้งพื้นที่ใหม่
                        /พื้นที่ที่ทำการประเมินและรับรองซ้ำ (RE–Accreditation) ภายใน
                         ระยะเวลา 3 ปี

หน่วยตัวชี้วัดร้อยละ
หน่วยของค่า Aตำบล
นิยามของค่า Aจำนวนตำบลที่ผ่านการประเมินในปีงบประมาณ 2565
หน่วยของค่า Bตำบล
นิยามของค่า Bจำนวนตำบลใหม่ที่ผ่านการประเมินในปีงบประมาณ 2565
หน่วยของค่า Cตำบล
นิยามของค่า Cจำนวนตำบลที่ผ่านการประเมินปีงบประมาณ 2559 – 2564
หน่วยของค่า Dตำบล
นิยามของค่า Dจำนวนตำบลที่ผ่านการประเมินและรับรองซ้ำ (RE–Accreditation) ในปีงบประมาณ 2565
หน่วยของค่า Eตำบล
นิยามของค่า Eจำนวนตำบลทั้งหมด
หน่วยของค่า F
นิยามของค่า F
สูตรคำนวนตัวชี้วัด(A/E)*100
Operator>=
เกณฑ์เป้าหมาย98
ประชากรกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงทุกคนทั่วประเทศ ดำเนินการทุกจังหวัด อำเภอ ตำบล ทั่วประเทศ
ค่าเป้าหมาย98.00
Max Value100.00
วิธีการจัดเก็บข้อมูล

1. ข้อมูลการคัดกรอง : ประเมินผ่าน Blue Book Application กรมอนามัย  

2. การจัดทำแผนการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิงรายบุคคล (Care Plan) : ผ่านระบบ
    โปรแกรม Long Term Care (3C)

3. การรายงานผลการประเมินตำบลคุณภาพผ่านเกณฑ์ทั้งพื้นที่ใหม่/ พื้นที่ที่ทำการ
   ประเมินและรับรองซ้ำ (RE–Accreditation) ผ่านระบบโปรแกรม Long Term Care (3C)

แหล่งข้อมูล

-  Blue Book Application กรมอนามัย 

- ระบบโปรแกรม Long Term Care (3C) กรมอนามัย

- ระบบโปรแกรม Long Term Care สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

- ระบบโปรแกรม HDC กระทรวงสาธารณสุข

- ระบบโปรแกรม Health KPI กระทรวงสาธารณสุข

- DOH Dashboard กรมอนามัย

หมายเหตุ : ทุกระบบมาจากแหล่งข้อมูลเดียวกันคือ Blue Book Application

กรมอนามัย และระบบโปรแกรม Long Term Care (3C)

ตัวชี้วัดระดับกระทรวง-
ตัวชี้วัดระดับเขต-
ตัวชี้วัดระดับจังหวัด-
ตัวชี้วัดสำคัญ-
ตัวชี้วัด Area Base-
Tags
ระยะเวลาการประเมินผลรอบที่ 1 : 6 เดือนแรก (เดือนตุลาคม 2564 – เดือนมีนาคม 2565) รอบที่ 2 : 6 เดือนหลัง (เดือนเมษายน – เดือนกันยายน 2565)
ข้อมูล Baseline

Baseline data

หน่วยวัด

ผลการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณ พ.ศ.

2562

2563

2564

ตำบลที่มีระบบการส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care : LTC) ในชุมชนผ่านเกณฑ์

ร้อยละ

83.9

(ทุกตำบลทั่วประเทศ)

92.78

(ทุกตำบลทั่วประเทศ)

96.25

(ทุกตำบล
ทั่วประเทศ)

เกณฑ์การประเมินผล

ปี 2563:

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

-

75

-

8

 

 

 

ปี  2564:

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

-

85

-

95

 

 

 

ปี 2565:

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

-

95

-

98

 

 

 

ปี 2566:

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9เดือน

รอบ 12เดือน

-

95

-

100

 

 

วิธีการประเมินผล

1. พื้นที่ประเมินตนเองตามองค์ประกอบในระบบโปรแกรม Long Term Care (3C)

2. จังหวัดประเมินพื้นที่ตามองค์ประกอบในระบบโปรแกรม Long Term Care (3C) และ
    รายงานประจำเดือน

3. ศูนย์อนามัยเขตสุ่มประเมินและรายงานตามองค์ประกอบในระบบโปรแกรม Long
   Term Care (3C) และรายงานประจำเดือน

เอกสารสนับสนุน

- Blue Book Application กรมอนามัย 

- คู่มือแนวทางการใช้ Blue Book Application กรมอนามัย 

- คู่มือแนวทางการจัดทำ Care Plan Online กรมอนามัย

- โปรแกรมการบันทึกข้อมูล Long Term Care (3C) กรมอนามัย /สำนักงานหลักประกัน
   สุขภาพแห่งชาติ

- คู่มือการใช้โปรแกรม Long Term Care (3C)

- คู่มือแนวทางการฝึกอบรมหลักสูตร Care Manager /Caregiver กรมอนามัย

- คู่มือแนวทางการฝึกอบรมหลักสูตรฟื้นฟู Care Manager /Caregiver กรมอนามัย

- คู่มือแนวทางการฝึกอบรมอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นตามหลักสูตรนักบริบาลท้องถิ่น (Care Community)

- คู่มือแนวทางการดำเนินงานการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะกลางในชุมชน
  (Intermediate  Care in Community)

- สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย

- กลยุทธ์การดำเนินงานตำบลดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว

- แนวทางการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยาว

- คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับ
  ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ผู้ให้ข้อมูลทางวิชาการ/ผู้ประสานงานตัวชี้วัด

นายแพทย์นิธิรัตน์  บุญตานนท์               ผู้อำนวยการสำนักอนามัยผู้สูงอายุ                                              

โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 2590 4499   โทรศัพท์มือถือ : 086 879 6655

โทรสาร : 0 2590 4501                       E - mail : nithirat.b@anamai.mail.go.th

สถานที่ทำงาน : สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย

หน่วยงานประมวลผลและจัดทำข้อมูล (ระดับส่วนกลาง)

นางรัชนี บุญเรืองศรี                            นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการพิเศษ

โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 2590 4508            โทรศัพท์มือถือ : 099 616 5396

โทรสาร : 0 2590 4501                       E - mail :rachanee.b@anamai.mail.go.th

สถานที่ทำงาน : สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย

ผู้รับผิดชอบการรายงานผลการดำเนินงาน

กลุ่มบริหารยุทธศาสตร์   

โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 2590 4499

โทรสาร : 0 2590 4501                      E - mail : 02group.anamai@gmail.com

สถานที่ทำงาน : สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย  

รหัสจังหวัดตัวชี้วัด Area base0
Areabase Kpi Regioncode0
หมายเหตุ
Last Update2022-10-06 14:11:01
Download
Log ผลการดำเนินงาน >>