ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของสถานที่กักกันตัวตามที่รัฐกำหนด (AHQ/WQ) ได้มาตรฐานตามเกณฑ์การรับชาวต่างชาติ
ผลการดำเนินงาน >>ชื่อตัวชี้วัด | ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของสถานที่กักกันตัวตามที่รัฐกำหนด (AHQ/WQ) ได้มาตรฐานตามเกณฑ์การรับชาวต่างชาติ | ||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Child KPI | สร้าง KPI ย่อย | ||||||||||||||||||
ปีงบประมาณ | 2564 | ||||||||||||||||||
ระดับตัวชี้วัด | ประเทศ | ||||||||||||||||||
ตัวชี้วัดที่ | 056 | ||||||||||||||||||
Sort Order | - | ||||||||||||||||||
คำนิยาม | สถานที่กักกันตัวตามที่รัฐกำหนด (Quarantine) ประกอบด้วย สถานกักกันในโรงพยาบาลทางเลือก (Alternative Hospital Quarantine : AHQ) หมายถึง การกักกันตัวผู้ป่วยชาวไทยและชาวต่างชาติรวมผู้ติดตามที่เดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรไทย โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลเอกชนที่กำหนด ซึ่งได้มีการนัดหมายไว้ล่วงหน้า โดยใช้สถานพยาบาลภาคเอกชนที่รัฐกำหนดให้เป็นสถานที่กักกัน เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) พร้อมกับการรักษาพยาบาลตามกลุ่มโรค/ อาการ/ หัตถการที่นัดหมายเป็นระยะเวลาตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่รัฐกำหนด โดยชำระค่าใช้จ่ายเองทั้งหมดระหว่างการรักษาพยาบาลและกักกันตนโดยสมัครใจ ซึ่งสามารถดำเนินการได้ภายหลังที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยอนุญาตให้อากาศยานทำการบินเข้าสู่ประเทศไทยได้ สถานกักกันในกิจการเพื่อสุขภาพ (Wellness Quarantine : WQ) หมายถึง การกักกันตัวผู้ป่วย/ผู้บริการชาวไทยและชาวต่างชาติรวมผู้ติดตามที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทย โดยมีความจำเป็นต้องเข้ารับการดูแลในกิจการเพื่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง โดยทำกิจกรรมด้านสุขภาพตามแผนการรักษา ในกิจการที่รัฐกำหนด ซึ่งได้มีการนัดหมาย ไว้ล่วงหน้าโดยให้กิจการเพื่อสุขภาพเป็นสถานที่กักกัน เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) พร้อมกับการดูแลรักษาสุขภาพ โดยแพทย์เจ้าของไข้ตามกลุ่มโรค/อาการ/หัตถการที่นัดหมายเป็นระยะเวลา ตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่รัฐกำหนด โดยชำระค่าใช้จ่ายเองทั้งหมดระหว่างการทำกิจกรรมด้านสุขภาพตามแผนการรักษาและกักกันตนโดยสมัครใจ ประกอบด้วยกิจการประเภท (1) สปาทางการแพทย์ (Medical Spa) (2) รีสอร์ทเพื่อสุขภาพ (Wellness Resort) (3) สปารีสอร์ท (Spa Resort) (4) การดูแลผู้สูงอายุแบบพำนักระยะยาว (Long Term Care) มาตรฐานตามเกณฑ์การรับชาวต่างชาติ หมายถึง หลักเกณฑ์แนวทางการกำหนดสถานกักกันตัวตามที่รัฐกำหนด และสถานกักกันในกิจการเพื่อสุขภาพ เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคสำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร (10) และผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร (11) เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ตามคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 8/2563 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 ชาวต่างชาติ หมายถึง ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ประกอบด้วย (1) ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร (10) (2) ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร (11) (3) นักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ (Special Tourist VISA) ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร (10) หมายถึง ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งมีความจำเป็นต้องเข้ามารับการตรวจรักษาพยาบาลในประเทศไทย และผู้ติดตามของบุคคลดังกล่าว แต่ต้องไม่เป็นกรณีเข้ามาเพื่อการรักษาพยาบาลโรคโควิด - 19 ทั้งนี้ ให้จำกัดจำนวนผู้ติดตามได้ไม่เกิน 3 คน และให้ผู้ติดตามเข้ารับการกักกันในสถานพยาบาลเดียวกัน รวมถึงต้องมีระยะเวลาที่อยู่ในราชอาณาจักร มีระยะเวลาเป็นไปตามประของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติหรือแนวทางที่รัฐกำหนด ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร (11) หมายถึง ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรตามข้อตกลงพิเศษ (special arrangement) ระหว่างหน่วยงานของรัฐของประเทศไทยกับต่างประเทศหรือบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ได้รับอนุญาตจากนายกรัฐมนตรีตามข้อเสนอและการตรวจสอบกลั่นกรองของคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่คณะกรรมการเฉพาะกิจดังกล่าวกำหนด นักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ (Special Tourist VISA : STV) หมายถึง นักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพเดินทางเข้าราชอาณาจักร ซึ่งจะมีส่วนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและธุรกิจเกี่ยวเนื่องส่งผลให้เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยรวม | ||||||||||||||||||
หน่วยตัวชี้วัด | ร้อยละ | ||||||||||||||||||
หน่วยของค่า A | แห่ง | ||||||||||||||||||
นิยามของค่า A | จำนวนที่เพิ่มขึ้นของสถานกักกันในโรงพยาบาลทางเลือก (Alternative Hospital Quarantine) สถานกักกันตัวในกิจการเพื่อสุขภาพ (Wellness Quarantine) ที่เป็นไปตามมาตรฐานตามเกณฑ์การรับชาวต่างชาติ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 | ||||||||||||||||||
หน่วยของค่า B | แห่ง | ||||||||||||||||||
นิยามของค่า B | จำนวนสถานกักกันในโรงพยาบาลทางเลือก (Alternative Hospital Quarantine) หรือสถานกักกันตัวในกิจการเพื่อสุขภาพ (Wellness Quarantine) ที่เป็นไปตามมาตรฐานตามเกณฑ์การรับชาวต่างชาติ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (154 แห่ง) | ||||||||||||||||||
หน่วยของค่า C | |||||||||||||||||||
นิยามของค่า C | |||||||||||||||||||
หน่วยของค่า D | |||||||||||||||||||
นิยามของค่า D | |||||||||||||||||||
หน่วยของค่า E | |||||||||||||||||||
นิยามของค่า E | |||||||||||||||||||
หน่วยของค่า F | |||||||||||||||||||
นิยามของค่า F | |||||||||||||||||||
สูตรคำนวนตัวชี้วัด | (A/B) x 100 | ||||||||||||||||||
Operator | >= | ||||||||||||||||||
เกณฑ์เป้าหมาย | เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 | ||||||||||||||||||
ประชากรกลุ่มเป้าหมาย | 1. สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ 2. สถานพยาบาลภาครัฐและภาคเอกชน 3. สถานกักกันในโรงพยาบาลทางเลือก (Alternative Hospital Quarantine : AHQ) 4. สถานกักกันตัวในกิจการเพื่อสุขภาพ (Wellness Quarantine : WQ) ในจังหวัดที่เป็น Area Quarantine | ||||||||||||||||||
ค่าเป้าหมาย | 5.00 | ||||||||||||||||||
Max Value | 100.00 | ||||||||||||||||||
วิธีการจัดเก็บข้อมูล | แบบรายงานผลของกองสุขภาพระหว่างประเทศ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ | ||||||||||||||||||
แหล่งข้อมูล | กองสุขภาพระหว่างประเทศ | ||||||||||||||||||
ตัวชี้วัดระดับกระทรวง | - | ||||||||||||||||||
ตัวชี้วัดระดับเขต | - | ||||||||||||||||||
ตัวชี้วัดระดับจังหวัด | - | ||||||||||||||||||
ตัวชี้วัดสำคัญ | - | ||||||||||||||||||
ตัวชี้วัด Area Base | - | ||||||||||||||||||
Tags | |||||||||||||||||||
ระยะเวลาการประเมินผล | ทุกไตรมาส | ||||||||||||||||||
ข้อมูล Baseline |
หมายเหตุ : มีการดำเนินการในปี 2563 เฉพาะ AHQ ส่วน WQ จะเริ่มในปี 2564 | ||||||||||||||||||
เกณฑ์การประเมินผล | ปี 2564
| ||||||||||||||||||
วิธีการประเมินผล | ติดตาม ประเมินผลโดยใช้แบบประเมินตนเองตามมาตรฐานตามเกณฑ์การรับชาวต่างชาติ ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์แนวทางการกำหนดสถานกักกันตัวตามที่รัฐกำหนด และสถานกักกันในกิจการเพื่อสุขภาพ | ||||||||||||||||||
เอกสารสนับสนุน | 1. คำขอสมัครเข้าร่วมเป็นสถานกักกันในโรงพยาบาลทางเลือก (Alternative Hospital Quarantine) สำหรับผู้ป่วยชาวไทยและชาวต่างชาติรวมผู้ติดตามที่เดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรไทย 2. แบบประเมินตนเอง สถานพยาบาลรองรับ Alternative Hospital Quarantine (AHQ) สำหรับผู้ป่วยชาวไทยและชาวต่างชาติรวมผู้ติดตามที่เดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรไทย 3. ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 12) 4. ประกาศศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด – 19 เรื่องหลักเกณฑ์แนวทางการกำหนดสถานที่กักกันที่รัฐกำหนด พ.ศ. 2563 ฉบับที่ 2 5. หลักเกณฑ์ แนวทางการกำหนดเป็นสถานที่กักกันในโรงพยาบาลทางเลือก (Alternative Hospital Quarantine) แนบท้ายประกาศศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด – 19 เรื่อง หลักเกณฑ์แนวทางการกำหนดสถานที่กักกันที่รัฐกำหนด พ.ศ. 2563 ฉบับที่ 2 6. ประกาศศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด – 19 เรื่อง รายชื่อสถานพยาบาลรองรับการเป็นสถานกักกันในโรงพยาบาลทางเลือก (Alternative Hospital Quarantine) 7. ประกาศศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด – 19 เรื่อง รายชื่อสถานพยาบาลรองรับการเป็นสถานกักกันในโรงพยาบาลทางเลือก (Alternative Hospital Quarantine) ฉบับที่ 2 8. ประกาศศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด – 19 เรื่อง รายชื่อสถานพยาบาลรองรับการเป็นสถานกักกันในโรงพยาบาลทางเลือก (Alternative Hospital Quarantine) ฉบับที่ 3 9. คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 8/2563 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 7) | ||||||||||||||||||
ผู้ให้ข้อมูลทางวิชาการ/ผู้ประสานงานตัวชี้วัด | 1. นางเสาวภา จงกิตติพงศ์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองสุขภาพระหว่างประเทศ โทรศัพท์ที่ทำงาน 02-1937000 ต่อ 18403 โทรศัพท์มือถือ - โทรสาร - อีเมล saowapaj@gmail.com สถานที่ทำงาน กองสุขภาพระหว่างประเทศ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 2. นางสาวภาวิณี สังขบูรณ์ ตำแหน่ง นักวิเทศสัมพันธ์ชำนาญการ โทรศัพท์ที่ทำงาน 02-1937000 ต่อ 18404 โทรศัพท์มือถือ 086-9277971 โทรสาร - อีเมล mai111p@hotmail.com สถานที่ทำงาน กองสุขภาพระหว่างประเทศ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 3. นางสาวศิรินภา สระทองหน ตำแหน่ง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ โทรศัพท์ที่ทำงาน 02-1937000 ต่อ 18402 โทรศัพท์มือถือ 083-8334797 โทรสาร - อีเมล sirinapha.ihd@hotmail.com สถานที่ทำงาน กองสุขภาพระหว่างประเทศ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ | ||||||||||||||||||
หน่วยงานประมวลผลและจัดทำข้อมูล (ระดับส่วนกลาง) | 1. นางสาวภาวิณี สังขบูรณ์ ตำแหน่ง นักวิเทศสัมพันธ์ชำนาญการ โทรศัพท์ที่ทำงาน 02-1937000 ต่อ 18404 โทรศัพท์มือถือ 086-9277971 โทรสาร - อีเมล mai111p@hotmail.com สถานที่ทำงาน กองสุขภาพระหว่างประเทศ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ | ||||||||||||||||||
ผู้รับผิดชอบการรายงานผลการดำเนินงาน | 1. นางสาวภาวิณี สังขบูรณ์ ตำแหน่ง นักวิเทศสัมพันธ์ชำนาญการ โทรศัพท์ที่ทำงาน 02-1937000 ต่อ 18404 โทรศัพท์มือถือ 086-9277971 โทรสาร - อีเมล mai111p@hotmail.com สถานที่ทำงาน กองสุขภาพระหว่างประเทศ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ | ||||||||||||||||||
รหัสจังหวัดตัวชี้วัด Area base | 0 | ||||||||||||||||||
Areabase Kpi Regioncode | 0 | ||||||||||||||||||
หมายเหตุ | |||||||||||||||||||
Last Update | 2021-10-18 11:04:16 | ||||||||||||||||||
Download |