ร้อยละเมืองสมุนไพรผ่านเกณฑ์การประเมิน
ผลการดำเนินงาน >>ชื่อตัวชี้วัด | ร้อยละเมืองสมุนไพรผ่านเกณฑ์การประเมิน | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Child KPI | สร้าง KPI ย่อย | |||||||||||||
ปีงบประมาณ | 2564 | |||||||||||||
ระดับตัวชี้วัด | ประเทศ | |||||||||||||
ตัวชี้วัดที่ | 055 | |||||||||||||
Sort Order | - | |||||||||||||
คำนิยาม | 1. เมืองสมุนไพร หมายถึง เมืองที่ถ่ายทอดมาตรการและแผนงานจากแผนปฏิบัติการด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2560-2565 (แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 ฯ) ลงไปสู่การพัฒนาในระดับภูมิภาคโดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาสมุนไพรอย่างครบวงจรตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง ทั้งนี้อาศัยกลไกของประชารัฐและความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองสมุนไพร เมืองสมุนไพร มีจำนวนทั้งสิ้น 14 จังหวัด แบ่งเป็น 3 คลัสเตอร์ ได้แก่ 1) คลัสเตอร์เกษตร วัตถุดิบสมุนไพร ได้แก่ จังหวัดอำนาจเจริญ สุรินทร์ มหาสารคาม อุทัยธานี และสกลนคร 2) คลัสเตอร์อุตสาหกรรมสมุนไพร ได้แก่ จังหวัดนครปฐม สระบุรี ปราจีนบุรี และจันทบุรี 3) คลัสเตอร์ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ความงามและการแพทย์แผนไทย ได้แก่ จังหวัดเชียงราย 2. ผู้ประกอบการ หมายถึง ผู้ประกอบการผลิตสมุนไพร หรือผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดประเภทผู้ประกอบการ พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2563 3. เกณฑ์การประเมินเมืองสมุนไพร หมายถึง เกณฑ์การประเมินเมืองสมุนไพรที่กำหนดในแต่ละคลัสเตอร์ตามที่คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติกำหนด (รายละเอียดในวิธีการประเมิน) 4. เส้นทางการท่องเที่ยว หมายถึง เส้นทางการท่องเที่ยวที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับสมุนไพร/การแพทย์พื้นบ้าน/การแพทย์แผนไทย และอัตลักษณ์ประจำจังหวัด 5. ผลิตภัณฑ์สมุนไพร หมายถึง ยาจากสมุนไพร ยาแผนไทย ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรตามพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562 6. มูลค่าการบริโภคสมุนไพร หมายถึง มูลค่าที่เกิดขึ้นจากการบริโภควัตถุดิบสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรภายในประเทศ | |||||||||||||
หน่วยตัวชี้วัด | ร้อยละ | |||||||||||||
หน่วยของค่า A | ||||||||||||||
นิยามของค่า A | จำนวนเมืองสมุนไพร ผ่านเกณฑ์การประเมินตามตัวชี้วัดของแต่ละคลัสเตอร์ 3 ใน 4 ข้อ | |||||||||||||
หน่วยของค่า B | ||||||||||||||
นิยามของค่า B | จำนวนเมืองสมุนไพรทั้งหมด 14 จังหวัด | |||||||||||||
หน่วยของค่า C | ||||||||||||||
นิยามของค่า C | ||||||||||||||
หน่วยของค่า D | ||||||||||||||
นิยามของค่า D | ||||||||||||||
หน่วยของค่า E | ||||||||||||||
นิยามของค่า E | ||||||||||||||
หน่วยของค่า F | ||||||||||||||
นิยามของค่า F | ||||||||||||||
สูตรคำนวนตัวชี้วัด | (A/B) x 100 | |||||||||||||
Operator | >= | |||||||||||||
เกณฑ์เป้าหมาย | ร้อยละ 70 | |||||||||||||
ประชากรกลุ่มเป้าหมาย | 1. ผู้ประกอบการผลิตสมุนไพร(เกษตรกร)ในเมืองสมุนไพร ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดประเภทผู้ประกอบการ พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2563 2. ผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดประเภทผู้ประกอบการ พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2563 3. ประชาชนผู้บริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพร | |||||||||||||
ค่าเป้าหมาย | 70.00 | |||||||||||||
Max Value | 100.00 | |||||||||||||
วิธีการจัดเก็บข้อมูล | - รวบรวมข้อมูลจากเมืองสมุนไพร 14 จังหวัด โดยการประเมินตนเองและการตรวจประเมิน - HDC กระทรวงสาธารณสุข - รายงานจากผลงานวิจัยโครงการประเมินมูลค่าการบริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากการท่องเที่ยว - รายงานจากผลงานวิจัยโครงการประเมินมูลค่าการบริโภควัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สมุนไพรในเมืองสมุนไพร 14 จังหวัด | |||||||||||||
แหล่งข้อมูล | - HDC กระทรวงสาธารณสุข - ข้อมูลจากเมืองสมุนไพร 14 จังหวัด - ข้อมูลจากการตรวจราชการและนิเทศงาน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก - ฐานข้อมูลการท่องเที่ยวกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา https://tic.mots.go.th/ | |||||||||||||
ตัวชี้วัดระดับกระทรวง | - | |||||||||||||
ตัวชี้วัดระดับเขต | - | |||||||||||||
ตัวชี้วัดระดับจังหวัด | - | |||||||||||||
ตัวชี้วัดสำคัญ | - | |||||||||||||
ตัวชี้วัด Area Base | - | |||||||||||||
Tags | ||||||||||||||
ระยะเวลาการประเมินผล | ไตรมาส 4 | |||||||||||||
ข้อมูล Baseline |
| |||||||||||||
เกณฑ์การประเมินผล |
| |||||||||||||
วิธีการประเมินผล | เมืองสมุนไพรแบ่งเป็น 3 คลัสเตอร์ ดังนี้ 1. คลัสเตอร์เกษตร วัตถุดิบสมุนไพร หมายถึง เมืองสมุนไพรที่มีศักยภาพด้านการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรเพื่อพัฒนาสมุนไพรและวัตถุดิบแปรรูปสมุนไพรให้ได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาด ซึ่งกำหนดจังหวัดเมืองสมุนไพร 5 จังหวัด ดังนี้ จังหวัดอำนาจเจริญ สุรินทร์ มหาสารคาม อุทัยธานี และสกลนคร แนวทางการดำเนินงานคลัสเตอร์เกษตร วัตถุดิบสมุนไพร - จัดทําแผนการผลิตและพัฒนามาตรฐาน ( GAP/Organic/อื่นๆ) และจัดกลไกธุรกิจชุมชน - ส่งเสริมการปลูกสมุนไพรให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน (GAP/Organic/อื่นๆ) - ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากกลุ่มเกษตรกร - รายงานข้อมูล/ผู้ปลูก/พื้นที่ปลูก/ข้อมูลการซื้อขายสมุนไพรระดับจังหวัด -ร่วมผลักดันเกษตรกรในเมืองสมุนไพรเข้าสู่ตลาดกลางวัตถุดิบสมุนไพร (ตลาดไท) ผลลัพธ์ : 1. เป็นแหล่งวัตถุดิบสมุนไพรคุณภาพของประเทศ 2. ผลิตวัตถุดิบสมุนไพรและมีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากวัตถุดิบสมุนไพรระดับชุมชน ตัวชี้วัดเมืองสมุนไพรคลัสเตอร์เกษตร วัตถุดิบสมุนไพร (การผ่านเกณฑ์นั้นต้องผ่านอย่างน้อย 3 ข้อใน 4 ข้อตามจำนวนของตัวชี้วัดที่มีอยู่ของคลัสเตอร์) 1. มูลค่าการใช้ยาสมุนไพรเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3 (เทียบมูลค่าการใช้ยาสมุนไพรปีปัจจุบันกับปีที่ผ่านมาโดยใช้ฐานข้อมูล HDC กระทรวงสาธารณสุข) 2. รายงานข้อมูลมูลค่าการบริโภคสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรของจังหวัด 3. จำนวนเกษตรกรรายใหม่ที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้เรื่อง GAP/ORGANIC สมุนไพรปีละ 50 ราย/เมืองสมุนไพร 4. จำนวนผลิตภัณฑ์ชุมชนที่แปรรูปจากสมุนไพรเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5 จากปีที่ผ่านมา 2. คลัสเตอร์อุตสาหกรรมสมุนไพร หมายถึง เมืองสมุนไพรที่สามารถพัฒนา เพิ่มศักยภาพและยกระดับอุตสาหกรรมสมุนไพรตลอดจนผู้ประกอบการสมุนไพรและผลิตภัณฑ์พรี่เมี่ยมภายใต้มาตรฐานคุณภาพระดับสากล ซึ่งกำหนดจังหวัดเมืองสมุนไพร 4 จังหวัด ดังนี้ จังหวัดนครปฐม สระบุรี ปราจีนบุรี และจันทบุรี แนวทางการดำเนินงาน คลัสเตอร์อุตสาหกรรมสมุนไพร 1. พัฒนาอุตสาหกรรมสมุนไพรเพื่อตอบโจทย์ปัญหาของผู้ประกอบการในพื้นที่ 2. ส่งเสริม ให้คำปรึกษา และอบรมด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพรแก่ผู้ประกอบการสมุนไพรผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร อาทิ พัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้ได้คุณภาพมาตรฐาน และส่งเสริมการทำการตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั้ง Online และ Offline เป็นต้น 3. รายงานข้อมูลผู้ประกอบการ/โรงงานสมุนไพร/การซื้อขายของโรงงานอุตสากรรมในภาคอุตสาหกรรมสมุนไพรระดับจังหวัด 4. พัฒนาผลิตภัณฑ์พรีเมี่ยม หรือ ผลิตภัณฑ์เด่นของจังหวัด หรือ ผลิตภัณฑ์ GI ประจำจังหวัด ผลลัพธ์ : 1. เพิ่มศักยภาพและยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมสมุนไพรของประเทศ 2. มีผลิตภัณฑ์สมุนไพรระดับพรีเมี่ยมที่ได้มาตรฐานระดับคุณภาพที่ได้สากล ตัวชี้วัดเมืองสมุนไพรคลัสเตอร์อุตสาหกรรมสมุนไพร (การผ่านเกณฑ์นั้นต้องผ่านอย่างน้อย 3 ข้อใน 4 ข้อตามจำนวนของตัวชี้วัดที่มีอยู่ของคลัสเตอร์) 1. มูลค่าการใช้ยาสมุนไพรเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3 (เทียบมูลค่าการใช้ยาสมุนไพรปีปัจจุบันกับปีที่ผ่านมาโดยใช้ฐานข้อมูล HDC กระทรวงสาธารณสุข) 2. รายงานข้อมูลมูลค่าการบริโภคสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรของจังหวัด 3. ผลิตภัณฑ์พรีเมี่ยม/ผลิตภัณฑ์เอกลักษณ์ของจังหวัด/สมุนไพรที่มีศักยภาพสูงทางเศรษฐกิจผ่านการวิจัย 4. ผู้ประกอบการสมุนไพรได้รับการอบรม/ส่งเสริม/พัฒนา อย่างน้อย 50 คน/เมืองสมุนไพร 3. คลัสเตอร์ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ความงามและการแพทย์แผนไทย หมายถึง เมืองสมุนไพรที่มีศักยภาพในการพัฒนาและใช้ประโยชน์สมุนไพรสู่การท่องเที่ยวของจังหวัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งกำหนดจังหวัดเมืองสมุนไพร 5 จังหวัด ดังนี้ จังหวัดเชียงราย พิษณุโลก อุดรธานี สุราษฎร์ธานี และสงขลา แนวทางการดำเนินงาน คลัสเตอร์ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ความงามและการแพทย์แผนไทย 1. จัดทำแผนพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพวิถีชุมชนเชิงสุขภาพ สมุนไพรและการแพทย์แผนไทยและสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคชุมชน 2. พัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรต้นแบบจากผลิตภัณฑ์พรีเมี่ยม หรือ ผลิตภัณฑ์เด่นของจังหวัด หรือผลิตภัณฑ์ GI ประจำจังหวัดและสอดแทรกในเส้นทางการท่องเที่ยว รวมถึงจัดทำแคตาล็อกผลิตภัณฑ์สมุนไพรคุณภาพเพื่อร่วมจำหน่ายตามเส้นทางท่องเที่ยวที่กำหนด 3. จัดทำชุดความรู้เส้นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและสมุนไพรเด่นประจำจังหวัด (เพื่อพัฒนาคู่มือการจัดบริการท่องเที่ยวท้องถิ่นต่อไป) 4. ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพให้เป็นที่รู้จักในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ สื่อออนไลน์ โทรทัศน์ วิทยุ และเอกสารต่าง ๆ เป็นต้น 5. รายงานข้อมูลจำนวนนักท่องเที่ยวและมูลค่าการท่องเที่ยวในจังหวัดเมืองสมุนไพร ผลลัพธ์ : 1. การนำสมุนไพรบูรณาการสร้างเรื่องราวสนับสนุนการท่องเที่ยวตามจุดท่องเที่ยวและเส้นทางการท่องเที่ยวของจังหวัด 2. พัฒนาผลิตภัณฑ์เด่นของจังหวัดเข้าสู่ตลาดการท่องเที่ยวของจังหวัด ตัวชี้วัดเมืองสมุนไพรคลัสเตอร์ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ความงามและการแพทย์แผนไทย (การผ่านเกณฑ์นั้นต้องผ่านอย่างน้อย 3 ข้อใน 4 ข้อตามจำนวนของตัวชี้วัดที่มีอยู่ของคลัสเตอร์) 1. มูลค่าการใช้ยาสมุนไพรเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3 (เทียบมูลค่าการใช้ยาสมุนไพรปีปัจจุบันกับปีที่ผ่านมาโดยใช้ฐานข้อมูล HDC กระทรวงสาธารณสุข) 2. รายงานข้อมูลมูลค่าการบริโภคสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรของจังหวัด 3. มีรายงานข้อมูลจำนวนนักท่องเที่ยวและมูลค่าการท่องเที่ยวในจังหวัดเมืองสมุนไพร 4. พัฒนาผลิตภัณฑ์พรีเมี่ยม หรือผลิตภัณฑ์บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) หรือผลิตภัณฑ์เด่นจากสมุนไพร | |||||||||||||
เอกสารสนับสนุน | 1. แผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2560-2565) | |||||||||||||
ผู้ให้ข้อมูลทางวิชาการ/ผู้ประสานงานตัวชี้วัด | 1. ดร.ภญ.มณฑกา ธีรชัยสกุล ผู้อำนวยการกองสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0-2149-5609 โทรศัพท์มือถือ : 090-919-4391 โทรสาร : 0-2149-5609 E-mail : th.herbalcity@gmail.com กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2. ภก.ณัฐวุฒิ ปราบภัย เภสัชกรปฏิบัติการ โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0-2149-5609 โทรศัพท์มือถือ : 099-467-1110 โทรสาร : 0-2149-5609 E-mail : th.herbalcity@gmail.com กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 3. นางสาวอัปสร บุตรดา นักวิเคราะห์นโยบายและแผน โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0-2149-5609 โทรศัพท์มือถือ : 080-114-8545 โทรสาร : 0-2149-5609 E-mail : th.herbalcity@gmail.com กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 4. ภก.วราวุธ เสริมสินสิริ ผู้อำนวยการกองผลิตภัณฑ์สมุนไพร โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0-2590-7477 โทรศัพท์มือถือ : 089-796-1437 โทรสาร : - E-mail : varavoot@hotmail.com สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา | |||||||||||||
หน่วยงานประมวลผลและจัดทำข้อมูล (ระดับส่วนกลาง) | 1. ภก.ณัฐวุฒิ ปราบภัย เภสัชกรปฏิบัติการ โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0-2149-5609 โทรศัพท์มือถือ : 099-467-1110 โทรสาร : 0-2149-5609 E-mail : th.herbalcity@gmail.com กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2. นางสาวผุสชา จันทร์ประเสริฐ แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0-2965-9490 โทรศัพท์มือถือ : 064-323-5939 โทรสาร : 0-2965-9490 E-mail : mande.dtam@gmail.com กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 3. ภก.ดวงกมล ภักดีสัตยพงศ์ เภสัชกรชำนาญการ โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0-2590-7460 โทรศัพท์มือถือ : 081-693-8383 โทรสาร : 0-2590-7478 E-mail : p_duangkm@fda.moph.go.th สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา | |||||||||||||
ผู้รับผิดชอบการรายงานผลการดำเนินงาน | 1. ภก.ณัฐวุฒิ ปราบภัย เภสัชกรปฏิบัติการ โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0-2149-5609 โทรศัพท์มือถือ : 099-467-1110 โทรสาร : 0-2149-5609 E-mail : th.herbalcity@gmail.com กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2. นางสาวผุสชา จันทร์ประเสริฐ แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0-2965-9490 โทรศัพท์มือถือ : 064-323-5939 โทรสาร : 0-2965-9490 E-mail : mande.dtam@gmail.com กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก | |||||||||||||
รหัสจังหวัดตัวชี้วัด Area base | 0 | |||||||||||||
Areabase Kpi Regioncode | 0 | |||||||||||||
หมายเหตุ | ||||||||||||||
Last Update | 2021-10-07 16:17:08 | |||||||||||||
Download |