ร้อยละของตำบลที่มีระบบการส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care) ในชุมชนผ่านเกณฑ์

ผลการดำเนินงาน >>

Update Delete

ชื่อตัวชี้วัดร้อยละของตำบลที่มีระบบการส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care) ในชุมชนผ่านเกณฑ์
Child KPIสร้าง KPI ย่อย
ปีงบประมาณ2563
ระดับตัวชี้วัดประเทศ
ตัวชี้วัดที่009
Sort Order0
คำนิยาม

- มีระบบการส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุ หมายถึง มีการดำเนินงานตามองค์ประกอบ ดังนี้

   1.  มีการประเมินคัดกรองปัญหาสุขภาพและมีข้อมูลผู้สูงอายุในการวางแผนการดูแลส่งเสริม

       สุขภาพผู้สูงอายุรายบุคคล (Care Plan)

   2. มีการสนับสนุนการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุผ่านเกณฑ์ชมรมผู้สูงอายุคุณภาพ กรมอนามัยอย่างน้อยตำบลละ 1 ชมรม

3. มีบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยทีมสหวิชาชีพ ภาคีเครือข่าย ท้องถิ่น และชุมชน อย่างมี

   ส่วนร่วม

4. มีระบบการส่งเสริมสุขภาพ /เฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมและป้องกันดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุในระดับตำบล

หมายเหตุ : ผ่านเกณฑ์  หมายถึง ผ่านองค์ประกอบทุกข้อ

  • มีการประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน (ADL) /การประเมินสภาวะของผู้สูงอายุ (TAI) ประกอบด้วย Functional Activity status และการประเมินคัดกรองขั้นพื้นฐานตามชุดสิทธิประโยชน์
  • ชมรมผู้สูงอายุผ่านเกณฑ์ชมรมผู้สูงอายุคุณภาพ หมายถึง ชมรมผู้สูงอายุที่อยู่ในระดับตำบล และผ่านเกณฑ์ชมรมผู้สูงอายุคุณภาพ กรมอนามัย
  • มีระบบการส่งเสริมสุขภาพ/เฝ้าระวังภาวะหกล้อม /การเฝ้าระวังแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและแผนการป้องกันดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในระดับตำบล เช่น ทันตสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรคในกลุ่มผู้สูงอายุ การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ดำเนินการโดยแกนนำชมรมผู้สูงอายุ Caregiver อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น อผส. หรือ อสม.
หน่วยตัวชี้วัดร้อยละ
หน่วยของค่า Aตำบล
นิยามของค่า Aจำนวนตำบลที่มีระบบการส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care) ในชุมชนผ่านเกณฑ์ตามองค์ประกอบ
หน่วยของค่า Bตำบล
นิยามของค่า Bจำนวนตำบลทั้งหมด
หน่วยของค่า C
นิยามของค่า C
หน่วยของค่า D
นิยามของค่า D
หน่วยของค่า E
นิยามของค่า E
หน่วยของค่า F
นิยามของค่า F
สูตรคำนวนตัวชี้วัด(A/B)x100
Operator>=
เกณฑ์เป้าหมายร้อยละ 80
ประชากรกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุทุกคนทั่วประเทศ ดำเนินการทุกจังหวัด อำเภอ ตำบล ทั่วประเทศ
ค่าเป้าหมาย80.00
Max Value100.00
วิธีการจัดเก็บข้อมูล

 ข้อมูลการคัดกรอง :

มีการประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน (ADL) /การประเมินสภาวะของผู้สูงอายุ (TAI) ประกอบด้วย Functional Activity status และการประเมินคัดกรองขั้นพื้นฐานตามชุดสิทธิประโยชน์

กลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง : การประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน (ADL) /การประเมินสภาวะของผู้สูงอายุ (TAI) ประเมินตามรอบทุก 9 เดือนตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

กลุ่มผู้สูงอายุติดสังคม : การประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน (ADL) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (ตามปีงบประมาณ)

ข้อมูลชมรมผู้สูงอายุ

พื้นที่ประเมินชมรมผู้สูงอายุตามเกณฑ์ชมรมผู้สูงอายุคุณภาพ กรมอนามัย และรายงานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

จังหวัดและศูนย์อนามัยเขตสุ่มประเมินชมรมผู้สูงอายุคุณภาพ

 

 

ข้อมูลมีบริการส่งเสริมป้องกันดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในระดับตำบล

พื้นที่ประเมินผลการให้บริการส่งเสริมป้องกันดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ เช่น ทันตสุขภาพ /ประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในระดับครอบครัว/ชุมชน

ข้อมูลการจัดทำ Care Plan ผู้สูงอายุรายบุคคล (ในปีงบประมาณ 2563 จัดทำเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่มี ADL < 11)

หน่วยบริการมีการจัดทำ Care Plan รายบุคคลผ่านระบบโปรแกรม Long Term Care (3C) และมีการบันทึกข้อมูลการคัดกรองดำเนินชีวิตประจำวัน (ADL) /การประเมินสภาวะของผู้สูงอายุ (TAI) ประกอบด้วย Functional Activity status และการประเมินคัดกรองขั้นพื้นฐานตามชุดสิทธิประโยชน์

มี Caregiver อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น อผส. หรือ อสม. ลงเยี่ยมและให้การดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุตาม Care Plan ตามหลักเกณฑ์ประกาศของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ( สปสช.)

- หน่วยบริการมีการบันทึกข้อมูลรายงานผลการดูแลผู้สูงอายุลงใน Care Plan ผ่านระบบ

  โปรแกรม Long Term Care (3C)

แหล่งข้อมูล

ฐานข้อมูลโปรแกรม Long Term Care รายงานประจำเดือน กรมอนามัย

  ฐานข้อมูลโปรแกรม DOH Dashboard กรมอนามัย และฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

ระบบฐานข้อมูลโปรแกรม HDC กระทรวงสาธารณสุข

ตัวชี้วัดระดับกระทรวง-
ตัวชี้วัดระดับเขต-
ตัวชี้วัดระดับจังหวัด-
ตัวชี้วัดสำคัญ-
ตัวชี้วัด Area Base-
Tags
ระยะเวลาการประเมินผลไตรมาส 1 2 3 และ 4
ข้อมูล Baseline

Baseline data

หน่วยวัด

ผลการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณ พ.ศ.

ปี 2559

ปี 2560

ปี 2561

ปี 2562

ตำบลที่มีระบบการส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(Long Term Care : LTC) ในชุมชนผ่านเกณฑ์

ร้อยละ

94.98

(เฉพาะตำบลที่เข้าร่วมโครงการ LTC)

82.40

(เฉพาะตำบลที่เข้าร่วมโครงการ LTC)

71.59

(ทุกตำบลทั่วประเทศ)

83.9

(ทุกตำบลทั่วประเทศ)

ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562

  หมายเหตุ : การดำเนินงานปี 2563

- การจัดทำแผนการดูแลผู้สูงอายุรายบุคคล (Care plan) หมายถึง การจัดทำแผนการดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน /ติดเตียง

- ประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน (ADL) และการประเมินคัดกรองความจำเป็นขั้นพื้นฐานตามชุดสิทธิประโยชน์

เกณฑ์การประเมินผล

ปี 2563:

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9เดือน

รอบ 12เดือน

-

-

-

ร้อยละ 80

 

 

 

small success

รอบ  3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

  • ทุกจังหวัดมีแผนการขับเคลื่อนและมีแนวทางการคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุด้วย ADL
  • มีการประชุมชี้แจงการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ทุกจังหวัดมีการจัดทำแผนการดูแลผู้สูงอายุรายบุคคล
  • มีแผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุคุณภาพในทุกพื้นที่ ทุกระดับ
  • มีผลการประเมินคัดกรอง ADL และปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุที่จำเป็นในการวางแผนการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
  • มีผลการประเมินชมรมผู้สูงอายุคุณภาพผ่านเกณฑ์

- มีจำนวนตำบล ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70

 

  • มีผลการประเมินคัดกรอง ADL และปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุที่จำเป็นในการวางแผนการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
  • มีผลการประเมินชมรมผู้สูงอายุคุณภาพผ่านเกณฑ์

- มีจำนวนตำบล ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 75

  • มีผลการประเมินคัดกรอง ADL และปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุที่จำเป็นในการวางแผนการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
  • มีผลการประเมินชมรมผู้สูงอายุคุณภาพผ่านเกณฑ์
  • มีจำนวนตำบล ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80

 

 

ปี 2564:

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9เดือน

รอบ 12เดือน

-

-

-

ร้อยละ 90

 

 

 

 

ปี 2565:

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9เดือน

รอบ 12เดือน

-

-

-

ร้อยละ 95

วิธีการประเมินผล

พื้นที่ประเมินตนเองตามองค์ประกอบ

จังหวัดประเมินพื้นที่ รายงานให้ศูนย์อนามัยเขต รายเดือน

ศูนย์อนามัยเขตสุ่มประเมิน และรายงานให้ส่วนกลางทุกเดือน

เอกสารสนับสนุน

คู่มือแนวทางการจัดทำ Care Plan Online

แนวทางการส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุระยะยาวรายบุคคลในชุมชน (Health Promotion & Prevention Individual Care Plan)

ระบบโปรแกรมการทำ Care Plan Online

กลยุทธ์การดำเนินงานตำบลดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว

แนวทางการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยาว

แนวทางการฝึกอบรม หลักสูตร Caregiver 70 ชั่วโมง

แนวทางการฝึกอบรม หลักสูตร Caregiver 420 ชั่วโมง

แนวทางการอบรมผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager)

คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

แนวทางการอบรมอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นตามหลักสูตรนักบริบาลท้องถิ่น

ผู้ให้ข้อมูลทางวิชาการ/ผู้ประสานงานตัวชี้วัด

ผู้กำกับตัวชี้วัด

1.แพทย์หญิงพรรณพิมล  วิปุลากร     อธิบดีกรมอนามัย

  โทรศัพท์ 02 590 4049    

2.นายแพทย์อรรถพล  แก้วสัมฤทธิ์     รองอธิบดีกรมอนามัย

  โทรศัพท์ 02 590 4010-1    E- mail : atthapon.k@anamai.mail.go.th

ผู้ให้ข้อมูลทางวิชาการ /ผู้ประสานตัวชี้วัด

1.นายแพทย์กิตติ  ลาภสมบัติศิริ   ผู้อำนวยการสำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย

  โทรศัพท์ 02 5904503               E- mail : kitti.l@anamai.mail.go.th

2.นางวิมล  บ้านพวน                รองผู้อำนวยการสำนักอนามัยผู้สูงอายุ

  โทรศัพท์ 02 5904509               E- mail : vimol.b@anamai.mail.go.th  

หน่วยงานประมวลผลและจัดทำข้อมูล (ระดับส่วนกลาง)

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ  กรมอนามัย

ผู้รับผิดชอบการรายงานผลการดำเนินงาน

1. นางรัชนี  บุญเรืองศรี      นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการพิเศษ

    โทรศัพท์ 02 5904508   E- mail : rachanee.b@anamai.mail.go.th 

2. กลุ่มบริหารยุทธศาสตร์ สำนักอนามัยผู้สูงอายุ  กรมอนามัย

    โทรศัพท์ 02 5904499

รหัสจังหวัดตัวชี้วัด Area base0
Areabase Kpi Regioncode0
หมายเหตุ
Last Update2021-03-24 14:22:39
Download
Log ผลการดำเนินงาน >>