ร้อยละของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิที่เปิดดำเนินการในพื้นที่

ผลการดำเนินงาน >>

Update Delete

ชื่อตัวชี้วัดร้อยละของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิที่เปิดดำเนินการในพื้นที่
Child KPIสร้าง KPI ย่อย
ปีงบประมาณ2563
ระดับตัวชี้วัดประเทศ
ตัวชี้วัดที่020
Sort Order0
คำนิยาม

หน่วยบริการ หมายความว่า (1) สถานพยาบาลที่ดำเนินการโดยกระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษาของรัฐ หน่วยงานอื่นของรัฐ และสภากาชาดไทย  (2) สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (3) หน่วยบริการตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  (4) หน่วยบริการอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

หน่วยบริการปฐมภูมิ หมายความว่า  หน่วยบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนเพื่อให้บริการสุขภาพปฐมภูมิตามพระราชบัญญัติ

เครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ หมายความว่า  หน่วยบริการที่รวมตัวกันและขึ้นทะเบียนเป็นเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ (ประเภทที่ 1) เพื่อให้บริการสุขภาพปฐมภูมิตามพระราชบัญญัติ

         เพื่อให้การดูประชาชนที่อยู่ในเขตรับผิดชอบร่วมกันตามหลักเวชศาสตร์ครอบครัว  โดยมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และคณะผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ รวมทั้งสร้างเสริมให้ประชาชนมีศักยภาพและมีความรู้ในการจัดการสุขภาพของตนเอง

ขอบเขตบริการสุขภาพปฐมภูมิ

(1) การดูแลสุขภาพในลักษณะองค์รวม ตั้งแต่แรก ต่อเนื่อง และผสมผสาน

(2) การบริการด้านข้อมูลสุขภาพและการให้คำปรึกษาแก่ประชาชน

(3) การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขในระดับบุคคลและครอบครัว โดยการให้บริการการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมโรค การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสุขภาพ เชิงรับและเชิงรุกในพื้นที่

(5) การส่งเสริมให้ประชาชนมีศักยภาพและมีความรู้ในการจัดการสุขภาพของตนเองและครอบครัว

(6) การส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งการป้องกันและควบคุมโรคในระดับชุมชน

หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ต้องผ่านเกณฑ์ 3 S ประกอบด้วย

Staff         - แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว 1 คน รับผิดชอบประชากรเต็มเวลา โดยควรมีเวลาปฏิบัติงานในพื้นที่เพื่อให้บริการสุขภาพปฐมภูมิไม่น้อยกว่า 3 วัน/สัปดาห์

- พยาบาลวิชาชีพ 2 คน เป็นอย่างน้อย

- นักวิชาการ/เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 2 คน เป็นอย่างน้อย

System     - มีพื้นที่รับผิดชอบดูแลประชาชน ประมาณ 10,000 คน +/- 2,000 คน ขึ้นกับบริบทของพื้นที่ 

  • มีรูปแบบการจัดบริการด้วยหลักเวชศาสตร์ครอบครัว
  • มีระบบให้คำปรึกษาเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้สะดวกโดยใช้เทคโนโลยี
  • ระบบดูแลส่งต่อเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลแม่ข่าย หรือหน่วยบริการที่มีศักยภาพสูงกว่า
  • การจัดบริการส่งเสริมป้องกันควบคุมโรคในชุมชน
  • ได้รับการสนับสนุนจากโรงพยาบาลแม่ข่ายในการจัดบริการ
  • ข้อมูลสถานะสุขภาพ กลุ่มวัย/รายครอบครัว/รายบุคคล

Structure  - มีอาคาร สถานที่ และสิ่งแวดล้อม ที่เอื้ออำนวยต่อการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิตามความเหมาะสมกับจำนวนผู้รับบริการ

สถานที่ตั้งหน่วยบริการอยู่ในพื้นที่ที่สะดวกต่อการเข้ารับบริการสุขภาพปฐมภูมิของผู้รับบริการในเขตพื้นที่ของหน่วยบริการนั้น

หน่วยตัวชี้วัดร้อยละ
หน่วยของค่า Aทีม
นิยามของค่า Aจำนวนหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ที่ รพศ./รพท/รพช./รพ.สต ดำเนินการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ เป้าหมายรวม ร้อยละ 25 (จำนวนทีมที่เปิดดำเนินการใหม่ในปี 2563 จำนวน = 446 หน่วย เป็นข้อมูลสะสมเดิม จากปี 2559-2562 จำนวน เขตสุขภาพ จำนวน 1,141 หน่วย และ กทม.จำนวน 38 หน่วย รวม 1,179 หน่วย)
หน่วยของค่า Bทีม
นิยามของค่า Bจำนวนหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิเป้าหมาย (6,500 หน่วย) หรือแผนการจัดตั้งหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ (กำลังดำเนินการจัดทำแผนการจัดตั้งเพื่อสอดคล้องกับพรบ.ระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ.2562)
หน่วยของค่า C
นิยามของค่า C
หน่วยของค่า D
นิยามของค่า D
หน่วยของค่า E
นิยามของค่า E
หน่วยของค่า F
นิยามของค่า F
สูตรคำนวนตัวชี้วัด(A/B)*100
Operator>=
เกณฑ์เป้าหมายร้อยละ 25 (1,625 หน่วย) (เป้าหมายสะสม) ดำเนินการในปี 62 จำนวน 1,179 หน่วย (18.14%)
ประชากรกลุ่มเป้าหมายรพศ./รพท./รพช/รพ.สต ในจังหวัด/เขตสุขภาพ 12 เขต
ค่าเป้าหมาย25.00
Max Value100.00
วิธีการจัดเก็บข้อมูล

ระบบลงทะเบียน

แหล่งข้อมูล

สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ตัวชี้วัดระดับกระทรวงใช่
ตัวชี้วัดระดับเขตใช่
ตัวชี้วัดระดับจังหวัดใช่
ตัวชี้วัดสำคัญใช่
ตัวชี้วัด Area Baseใช่
Tags
ระยะเวลาการประเมินผลไตรมาส 4
ข้อมูล Baseline

Baseline data

หน่วยวัด

ผลการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณ พ.ศ.

2560

2561

2562

-

-

เปิดดำเนินการได้ 596 หน่วย คิดเป็น 9.17%

เปิดดำเนินการได้ 809 หน่วย คิดเป็น 12.45 %

เปิดดำเนินการได้ เขตสุขภาพจำนวน 1,141 หน่วย และ กทม.จำนวน 38 หน่วย คิดเป็น 18.14 %

จำนวนทีมที่คิดร้อยละ บริการการแพทย์ปฐมภูมิเป้าหมาย (6,500 หน่วย) หรือแผนการจัดตั้งหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ (กำลังดำเนินการเพื่อสอดคล้องกับพรบ.ระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ.2562)

 
 
เกณฑ์การประเมินผล

 

ปี 2563 :

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

 

 

 

25 %

 

ปี 2564 :

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

 

 

 

33 %

 

ปี 2565 :

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

 

 

 

41 %

 

ปี 2566 :

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

 

 

 

49 %

 
วิธีการประเมินผล

ลงประเมินในพื้นที่ของแต่ละระดับ

เอกสารสนับสนุน

ระบบลงทะเบียน

ผู้ให้ข้อมูลทางวิชาการ/ผู้ประสานงานตัวชี้วัด

1. นพ.โกเมนทร์  ทิวทอง                     รองผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ

    โทรศัพท์ที่ทำงาน :02-5901939        โทรศัพท์มือถือ : 081-8767559

    โทรสาร :02-5901939                    E-mail : k.tewtong@yahoo.com

สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ

หน่วยงานประมวลผลและจัดทำข้อมูล (ระดับส่วนกลาง)

สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ

ผู้รับผิดชอบการรายงานผลการดำเนินงาน

1. นพ.โกเมนทร์  ทิวทอง                     รองผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนระบบสุขภาพ

                                                    ปฐมภูมิ

    โทรศัพท์ที่ทำงาน :02-5901939        โทรศัพท์มือถือ : 081-8767559

    โทรสาร :02-59019398                  E-mail : k.tewtong@yahoo.com

2. นางจารุณี  จันทร์เพชร                    นักวิเคราะห์นโยบายและแผนขำนาญการพิเศษ

    โทรศัพท์ที่ทำงาน :02-5901939        โทรศัพท์มือถือ : 081-8767559

    โทรสาร :02-5901939                    E-mail : jchanphet@gmail.com

สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

รหัสจังหวัดตัวชี้วัด Area base-
Areabase Kpi Regioncode-
หมายเหตุ
Last Update2021-03-24 14:22:39
Download
Log ผลการดำเนินงาน >>