ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน และส่วนสูงเฉลี่ยที่อายุ 5 ปี

ผลการดำเนินงาน >>

Update Delete

ชื่อตัวชี้วัดร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน และส่วนสูงเฉลี่ยที่อายุ 5 ปี
Child KPIสร้าง KPI ย่อย
ปีงบประมาณ2563
ระดับตัวชี้วัดประเทศ
ตัวชี้วัดที่003
Sort Order0
คำนิยาม

 

เด็กอายุ 0 - 5 ปี หมายถึง เด็กแรกเกิด จนถึงอายุ 5 ปี 11 เดือน 29 วัน

สูงดี หมายถึง เด็กที่มีความยาวหรือส่วนสูงอยู่ในระดับสูงตามเกณฑ์ขึ้นไป (สูงตามเกณฑ์ ค่อนข้างสูง หรือสูง) เมื่อเทียบกับกราฟการเจริญเติบโตความยาว/ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ กรมอนามัย ชุดใหม่ ปี พ.ศ. 2558 (ขององค์การอนามัยโลก)  โดยมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ -1.5 SDของความยาว/ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ

สมส่วน หมายถึง เด็กที่มีน้ำหนักอยู่ในระดับสมส่วน เมื่อเทียบกับกราฟการเจริญเติบโตน้ำหนักตามเกณฑ์ความยาว/ส่วนสูง กรมอนามัย ชุดใหม่ ปี พ.ศ. 2558 (ขององค์การอนามัยโลก) โดยมีค่าอยู่ในช่วง +1.5 SD ถึง -1.5 SD ของน้ำหนักตามเกณฑ์ความยาว/ส่วนสูง

สูงดีสมส่วน หมายถึง  เด็กที่มีความยาวหรือส่วนสูงอยู่ในระดับสูงตามเกณฑ์ขึ้นไปและมีน้ำหนักอยู่ในระดับสมส่วน (ในคนเดียวกัน)

ส่วนสูงเฉลี่ยที่อายุ 5 ปี หมายถึง ค่าเฉลี่ยของส่วนสูงในเด็กชาย และเด็กหญิงที่อายุ 5 ปีเต็ม ถึง 5 ปี 11 เดือน 29 วัน

1,000 วันแรกของชีวิต หมายถึง ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิในครรภ์มารดา จนถึงอายุ 2 ปี

มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต หมายถึง การส่งเสริมโภชนาการ (อาหารหญิงตั้งครรภ์ อาหารหญิงให้นมบุตร นมแม่ และอาหารเด็กอายุ 6 เดือน – 5 ปี รวมทั้งการเสริมสารอาหารที่สำคัญในรูปของยา ได้แก่ ธาตุเหล็ก ไอโอดีน และกรดโฟลิกสำหรับหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดที่ให้นมแม่ 6 เดือน ยาน้ำเสริมธาตุเหล็กสำหรับเด็กอายุ          6 เดือน ถึง 5 ปี) ร่วมกับการ บูรณาการงานสุขภาพอื่น ๆ เช่น สุขภาพช่องปาก กิจกรรมทางกาย การนอน สุขาภิบาลอาหารและน้ำ

ตำบลส่งเสริมเด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ พัฒนาการสมวัย หมายถึง ตำบลที่มีการดำเนินงานดังนี้

1) ประเมินตนเองตามแบบประเมินตำบลส่งเสริมเด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ พัฒนาการสมวัย ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมสำคัญด้านโภชนาการ ทันตสุขภาพ กิจกรรมทางกาย การนอน สุขาภิบาลอาหารและน้ำ ใน 5 setting ได้แก่ สถานบริการสาธารณสุข ของรัฐ ชุมชน อปท. ศูนย์เด็กเล็ก และครอบครัว เพื่อส่งเสริมให้เด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ พัฒนาการสมวัย

2) จัดทำแผนพัฒนา/ปรับปรุงการดำเนินงานโภชนาการ ทันตสุขภาพ กิจกรรมทางกาย การนอน สุขาภิบาลอาหารและน้ำ

3) มีการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้

หน่วยตัวชี้วัดร้อยละ
หน่วยของค่า Aคน
นิยามของค่า Aจำนวนเด็กอายุ 0-5 ปีสูงดีสมส่วน
หน่วยของค่า Bคน
นิยามของค่า Bจำนวนเด็กอายุ 0-5 ปีที่ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงทั้งหมด
หน่วยของค่า C
นิยามของค่า C
หน่วยของค่า D
นิยามของค่า D
หน่วยของค่า E
นิยามของค่า E
หน่วยของค่า F
นิยามของค่า F
สูตรคำนวนตัวชี้วัด(A/B)x100
Operator>=
เกณฑ์เป้าหมาย60
ประชากรกลุ่มเป้าหมายหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร พ่อแม่/ผู้เลี้ยงดูเด็ก เด็กอายุ 0-5 ปี
ค่าเป้าหมาย60.00
Max Value100.00
วิธีการจัดเก็บข้อมูล

รพ.สต. และ PCU ของโรงพยาบาลนำข้อมูลน้ำหนักส่วนสูงของเด็กที่เป็นปัจจุบัน จากหมู่บ้าน ศูนย์เด็กเล็ก และสถานบริการสาธารณสุข ซึ่งไม่รวมการรับบริการในกรณีเจ็บป่วย  บันทึกในโปรแกรมหลักของสถานบริการ เช่น  JHCIS,  HosXP PCU  เป็นต้น  และส่งออกข้อมูลตามโครงสร้างมาตรฐาน 43 แฟ้ม

แหล่งข้อมูล

1) สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่ง (คลินิกสุขภาพเด็กดี)

2) หมู่บ้าน

3) ศูนย์เด็กเล็ก

ตัวชี้วัดระดับกระทรวง-
ตัวชี้วัดระดับเขต-
ตัวชี้วัดระดับจังหวัด-
ตัวชี้วัดสำคัญ-
ตัวชี้วัด Area Base-
Tags
ระยะเวลาการประเมินผลไตรมาส 1 2 3 และ 4
ข้อมูล Baseline

ตัวชี้วัด

Baseline data*

หน่วยวัด

ผลการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณ พ.ศ.

2560

2561

2562

เด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน

46.3

ร้อยละ

49.5

50.7

58.6

ส่วนสูงเฉลี่ยที่อายุ 5 ปี

ชาย = 109.3

หญิง=108.6

เซนติเมตร

เซนติเมตร

110

109.4

109.4

108.7

108.8

108.2

      

 

 

 

 

 

 

*ข้อมูลรายงานจาก HDC ไตรมาสที่ 1 เดือนตุลาคม – ธันวาคม 2558      

เกณฑ์การประเมินผล

ปี 2562:

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

51

53

55

57

 

 

 

 

ปี 2563:

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

57

58

59

60

 

 

 

 

ปี 2564:

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

60

61

61.5

62

 

 

 

 

ปี 2565:

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

62

63

63.5

64

วิธีการประเมินผล

1. มีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมที่สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมิน

2. มีการขับเคลื่อนงานมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต และการพัฒนาตำบลส่งเสริมเด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ พัฒนาการสมวัย ผ่านกลไกในพื้นที่

3. มีรายงานผลการขับเคลื่อนงานมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต และการพัฒนาตำบลส่งเสริมเด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ พัฒนาการสมวัย พร้อมข้อเสนอแนะของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ให้แก่เขตสุขภาพและศูนย์อนามัย

4. เปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับค่าเป้าหมาย

เอกสารสนับสนุน

1. หนังสือแนวทางการขับเคลื่อนงานมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต

2. หนังสือแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการในคลินิกฝากครรภ์

3. หนังสือแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการในคลินิกสุขภาพเด็กดี

4. หนังสือแนวทางการดำเนินงานตำบลส่งเสริมเด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ พัฒนาการสมวัย

5. แนวทางการดำเนินงานจัดบริการส่งเสริมสุขภาพอนามัยสตรีและเด็กปฐมวัยด้านโภชนาการและสุขภาพช่องปากในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Cluster : PCC)

6. ชุดกิจกรรมพื้นฐานด้านโภชนาการสตรีและเด็กปฐมวัย

7. infographic โภชนาการสตรีและเด็กปฐมวัย 8 เรื่อง

8. Motion graphic โภชนาการสตรีและเด็กปฐมวัย 8 เรื่อง

9. VTR มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต

10. ชุดความรู้กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน

ผู้ให้ข้อมูลทางวิชาการ/ผู้ประสานงานตัวชี้วัด

1. นางณัฐวรรณ  เชาวน์ลิลิตกุล          หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมโภชนาการสตรีและเด็กปฐมวัย

โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-5904327    โทรศัพท์มือถือ :

โทรสาร :  02-5904339             E-mail : nutwan65@gmail.com

2.  นางสาววราภรณ์ จิตอารี                นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-5904327      โทรศัพท์มือถือ : -

โทรสาร :  02-5904339         E-mail : waraporn.ji@anamai.mail.go.th

หน่วยงานประมวลผลและจัดทำข้อมูล (ระดับส่วนกลาง)

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย

ผู้รับผิดชอบการรายงานผลการดำเนินงาน

1. นางสาววราภรณ์ จิตอารี                  นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-5904327       โทรศัพท์มือถือ : -

โทรสาร :  02-5904339           E-mail : waraporn.ji@anamai.mail.go.th

รหัสจังหวัดตัวชี้วัด Area base0
Areabase Kpi Regioncode0
หมายเหตุ
Last Update2021-03-24 14:22:39
Download
Log ผลการดำเนินงาน >>