ร้อยละของผลิตภัณฑ์สุขภาพกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการตรวจสอบมีความปลอดภัยตามเกณฑ์ที่กำหนด(ผักและผลไม้สด)

ผลการดำเนินงาน >>

Update Delete

ชื่อตัวชี้วัดร้อยละของผลิตภัณฑ์สุขภาพกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการตรวจสอบมีความปลอดภัยตามเกณฑ์ที่กำหนด(ผักและผลไม้สด)
Child KPIสร้าง KPI ย่อย
ปีงบประมาณ2562
ระดับตัวชี้วัดประเทศ
ตัวชี้วัดที่011.1
Sort Order0
คำนิยาม

1.ผักและผลไม้สด หมายถึง ผักและผลไม้สดตามขอบข่ายของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 386 พ.ศ. 2560 เรื่อง กำหนดวิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ ในการผลิตและการเก็บรักษาผักหรือผลไม้สดบางชนิดและการแสดงฉลาก ซึ่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุ่มเก็บตัวอย่าง ณ สถานที่ผลิต (คัดและบรรจุ) ผักและผลไม้สด หรือสถานที่จำหน่ายเป้าหมาย แล้วแต่กรณี

2.สารเคมีกำจัดศัตรูพืช หมายถึง สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ได้แก่ กลุ่มออร์กาโน-ฟอสเฟต กลุ่มคาร์บาเมต กลุ่มออร์แกโนคลอรีน และกลุ่มไพรีทรอยด์

3.สถานที่ผลิต (คัดและบรรจุ) ผักและผลไม้สด หมายถึง สถานที่ผลิตตามขอบข่ายของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 386 พ.ศ.2560 เรื่อง กำหนดวิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิตหรือการเก็บรักษาผักและผลไม้สดบางชนิดและการแสดงฉลาก

หน่วยตัวชี้วัดร้อยละ
หน่วยของค่า A
นิยามของค่า Aจำนวนของผักและผลไม้สดที่มีผลการตรวจวิเคราะห์ผ่านมาตรฐาน
หน่วยของค่า B
นิยามของค่า Bจำนวนของผักและผลไม้สดที่ส่งตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการและได้รับรายงานผลการตรวจวิเคราะห์
หน่วยของค่า C
นิยามของค่า C
หน่วยของค่า D
นิยามของค่า D
หน่วยของค่า E
นิยามของค่า E
หน่วยของค่า F
นิยามของค่า F
สูตรคำนวนตัวชี้วัด(A/B)x100
Operator>=
เกณฑ์เป้าหมายร้อยละ 80
ประชากรกลุ่มเป้าหมายผักและผลไม้สด ณ สถานที่ผลิต (คัดและบรรจุ) หรือสถานที่จำหน่าย
ค่าเป้าหมาย80.00
Max Value100.00
วิธีการจัดเก็บข้อมูล

จัดเก็บจากแบบรายงาน ดังนี้

กิจกรรมการตรวจประเมินและพัฒนาสถานที่ (คัดและบรรจุ) ผักและผลไม้สด

1.1 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ส่งข้อมูลสถานที่ผลิต (คัดและบรรจุ) ผักและผลไม้สด ที่ได้รับการสำรวจตามขอบข่ายของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 386 พ.ศ.2560 เรื่อง กำหนดวิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาผักหรือผลไม้สดบางชนิด และการแสดงฉลาก จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2560 เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) โดยจัดส่งทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2561 ตามแบบฟอร์ม (เอกสารแนบตัวชี้วัด 1-1)

1.2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ตรวจประเมินและพัฒนาสถานที่ (คัดและบรรจุ) ผักและผลไม้สด ตามหลักเกณฑ์กำหนด วิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาผักหรือผลไม้สดบางชนิด และการแสดงฉลาก ดังนี้

1.2.1 กรณีสถานที่ผลิต (คัดและบรรจุ) ผักและผลไม้สดผ่านเกณฑ์และได้รับการอนุญาตแล้ว ขอให้ สสจ. บันทึกข้อมูลสถานที่ผลิต (คัดและบรรจุ) ผักและผลไม้สด ในแบบรายงานตัวชี้วัดที่ 1-1

1.2.3 กรณีสถานที่ผลิต (คัดและบรรจุ) ผักและผลไม้สดไม่ผ่านเกณฑ์ (อยู่ระหว่างการพัฒนาหรือขออนุญาต) ขอให้ สสจ.ดำเนินการ ดังนี้

          (1) ตรวจประเมินสถานที่ผลิต (คัดและบรรจุ) ผักและผลไม้สด โดยใช้แบบฟอร์ม ตส 13 (60)

          (2) ให้คำแนะนำในการพัฒนาสถานที่ผลิต (คัดและบรรจุ) ผักและผลไม้สด

          (3) บันทึกข้อมูลในแบบรายงานตัวชี้วัดที่ 1-1

กิจกรรมการเฝ้าระวังผักและผลไม้สด ณ สถานที่ผลิตหรือสถานที่จำหน่าย

2.1 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด วางแผนการเฝ้าระวังผักและผลไม้สด โดยใช้ผลการเฝ้าระวังผักและผลไม้สด ปีงบประมาณ 2561 เป็นข้อมูล โดยมีเป้าหมายจังหวัดละ 7 ตัวอย่าง

2.1.1 ขอให้ สสจ. นำข้อมูลผลการเฝ้าระวังผักและผลไม้สดปีงบประมาณ 2561 ที่พบตกมาตรฐาน มาเป็นเป้าหมายการเฝ้าระวังปีงบประมาณ 2562 โดยสุ่มเก็บตัวอย่าง ณ สถานที่เก็บตัวอย่างเดิม

2.1.2 กรณีข้อมูลที่พบตกมาตรฐานไม่ถึงจำนวนเป้าหมาย หรือข้อมูลผลการเฝ้าระวังปีงบประมาณ 2561 ไม่พบตกมาตรฐาน ขอให้ สสจ. สุ่มเก็บตัวอย่างผักหรือผลไม้สด ณ สถานที่ผลิตหรือสถานที่จำหน่าย โดยพิจารณาข้อมูลตามความเสี่ยงของสถานการณ์ภาพรวมทั้งประเทศหรือพื้นที่

2.2 สสจ. สุ่มเก็บตัวอย่างผักหรือผลไม้สด จำนวนจังหวัดละ 7 ตัวอย่าง ตามแผนที่กำหนดในข้อ 2.1  และบันทึกข้อมูลในใบนำส่งตัวอย่าง

วิธีการเก็บตัวอย่าง

ปริมาณตัวอย่าง

- ตัวอย่างขนาดเล็กหรือขนาดกลาง เช่น ส้ม แตงกวา พริก เป็นต้น เก็บตัวอย่างปริมาณ 1 กิโลกรัม/ตัวอย่าง

- ตัวอย่างขนาดใหญ่ เช่น กะหล่ำปลี แตงโม เป็นต้น เก็บตัวอย่างปริมาณ 2 กิโลกรัม/ตัวอย่าง

2) นำตัวอย่างผักหรือผลไม้สด มาบรรจุในภาชนะบรรจุสำหรับเก็บตัวอย่าง เช่น ถุงพลาสติก คาดเทปกาวปิดภาชนะบรรจุที่บรรจุตัวอย่าง โดยให้รวบปากถุงแล้วคาดเทปกาวพันรอบปากถุง

3) ติดป้ายชี้บ่ง ซึ่งมีรายละเอียดประกอบด้วย ชื่อตัวอย่าง ชื่อ-ที่ตั้งสถานที่เก็บตัวอย่าง จำนวนหรือปริมาณ วันที่เก็บ ชื่อผู้เก็บตัวอย่าง บนภาชนะที่บรรจุตัวอย่างเรียบร้อยแล้ว (ควรเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิเย็น หรือบรรจุอุปกรณ์รักษาความเย็น        (เช่น ice pack หรือน้ำแข็ง) ไว้ในกล่องที่เก็บตัวอย่างด้วย เพื่อควบคุมอุณหภูมิของผลิตภัณฑ์ตลอดระยะเวลาการขนส่ง)

2.3 สสจ. ส่งตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ ณ ห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ ในวันจันทร์-พุธ ภายในเดือนที่กำหนด โดยส่งไปยังสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โปรดระบุในหนังสือนำส่งตัวอย่าง ดังนี้

1) หัวหนังสือตรงกลางด้านบน ระบุว่า “ผักและผลไม้สด” ด้วยตัวอักษร  สีแดง

2) ในช่องหมายเหตุระบุว่า

- “ภายใต้แผนการเก็บตัวอย่างผักและผลไม้สด โครงการพัฒนาสถานที่ผลิต (คัดและบรรจุ) ผักและผลไม้สด งบประมาณ พ.ศ. 2562”

- ขอให้ส่งสำเนาผลวิเคราะห์ถึงเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (กอง คบ.)

2.4 บันทึกข้อมูลและรายงานผลในแบบรายงานตัวชี้วัดที่ 1-2

2.5 กรณีผลการตรวจวิเคราะห์ผักและผลไม้สดไม่เป็นไปตามกฎหมาย ขอให้ สสจ. ดำเนินการทางกฎหมาย

แหล่งข้อมูล

ส่วนกลาง : สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

ส่วนภูมิภาค : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

ตัวชี้วัดระดับกระทรวง-
ตัวชี้วัดระดับเขต-
ตัวชี้วัดระดับจังหวัด-
ตัวชี้วัดสำคัญ-
ตัวชี้วัด Area Base-
Tags
ระยะเวลาการประเมินผลครั้งที่ 1 ภายใน 20 ธ.ค. 61 / ครั้งที่ 2 ภายใน 20 มี.ค. 62 / ครั้งที่ 3 ภายใน 20 พ.ค. 62
ข้อมูล Baseline
เกณฑ์การประเมินผล
วิธีการประเมินผล
เอกสารสนับสนุน
ผู้ให้ข้อมูลทางวิชาการ/ผู้ประสานงานตัวชี้วัด

ผู้ให้ข้อมูลทางวิชาการ

นางสาววรดา อ่ำบุญ                        สำนักอาหาร

โทรศัพท์ : 02-590-7014                 E-mail : law.dreamt@gmail.com

ผู้ประสานงานตัวชี้วัด

นางสาวอรสุรางค์ ธีระวัฒน์                   สำนักอาหาร

โทรศัพท์ : 02-590-7218                     โทรศัพท์มือถือ : 094-131-6136

โทรสาร : 02-591-8460                      E-mail : planning.food@gmail.com

หน่วยงานประมวลผลและจัดทำข้อมูล (ระดับส่วนกลาง)
ผู้รับผิดชอบการรายงานผลการดำเนินงาน
รหัสจังหวัดตัวชี้วัด Area base0
Areabase Kpi Regioncode0
หมายเหตุ
Last Update2021-03-24 14:22:39
Download
Log ผลการดำเนินงาน >>