ร้อยละของครอบครัวมีศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเองได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด

ผลการดำเนินงาน >>

Update Delete

ชื่อตัวชี้วัดร้อยละของครอบครัวมีศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเองได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด
Child KPIสร้าง KPI ย่อย
ปีงบประมาณ2562
ระดับตัวชี้วัดประเทศ
ตัวชี้วัดที่014
Sort Order0
คำนิยาม

ครอบครัวที่มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเองตามเกณฑ์ที่กำหนด หมายถึง ครอบครัวที่มี อสค. ทำหน้าที่ดูแลสุขภาพกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด ได้แก่
     (1) คุมอาหารอย่างเป็นรูปธรรม เช่น กินแบบลดหวาน ลดมัน ลดเค็ม ดื่มน้ำเปล่า
     (2) ดูแลการกินยาให้ตรงเวลา และไปพบแพทย์ตามนัด
     (3) ออกกำลังกายที่เหมาะสม
     (4) บำรุงรักษาจิตใจ
     (5) การดูแลสุขภาพช่องปาก
     (6) จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม
โดยที่ อสค.และสมาชิกในครอบครัวกลุ่มเป้าหมายมีศักยภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
อาสาสมัครประจำครอบครัว หรือ อสค. หมายถึง สมาชิกคนใดคนหนึ่งของแต่ละครอบครัวที่ได้รับการคัดเลือกและได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเพื่อทำหน้าที่ดูแลสุขภาพตามกลุ่มเป้าหมายในครอบครัว
กรณีครอบครัวที่มีผู้ป่วยอยู่คนเดียวหรืออยู่ในภาวะพึ่งพิงอาจคัดเลือกเพื่อนบ้านที่สมัครใจให้เป็น อสค. ได้

หน่วยตัวชี้วัดร้อยละ
หน่วยของค่า Aครอบครัว
นิยามของค่า Aจำนวนครอบครัวที่มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเองได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด
หน่วยของค่า Bครอบครัว
นิยามของค่า Bจำนวนครอบครัวเป้าหมาย
หน่วยของค่า C
นิยามของค่า C
หน่วยของค่า D
นิยามของค่า D
หน่วยของค่า E
นิยามของค่า E
หน่วยของค่า F
นิยามของค่า F
สูตรคำนวนตัวชี้วัด(A/B)*100
Operator>=
เกณฑ์เป้าหมายร้อยละ 60
ประชากรกลุ่มเป้าหมายขตสุขภาพที่ 1-12 - ครอบครัวผู้ป่วยโรคเบาหวานและหรือความดันโลหิตสูง ที่ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง (CKD) ระยะ 3 (100%) จากฐานข้อมูล HDC (http://hdcservice.moph.go.th/) ของกระทรวงสาธารณสุข - ครอบครัวผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง (LTC) จากเป้าหมายการจัดสรรประชากรผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง ปีงบประมาณ 2561 ตามสัดส่วนประชากร 60 ปีขึ้นไปสิทธิ UC ของกรมอนามัยและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ - ครอบครัวผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) จากฐานข้อมูล HDC (http://hdcservice.moph.go.th/) ของกระทรวงสาธารณสุขและประชากรจาก 43 แฟ้มของแต่ละจังหวัด เขตสุขภาพที่ 13 - ครอบครัวผู้ป่วยโรคเบาหวานและหรือความดันโลหิตสูง ที่ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง (CKD) - ครอบครัวผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง (LTC) - ครอบครัวผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) จากฐานข้อมูลของหน่วยงานดำเนินงาน อาทิ 1. หน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร 1) สำนักอนามัย 2) ศูนย์บริการสาธารณสุข 3) สถานพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ 2. สถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร 3. โรงพยาบาลเอกชนที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ค่าเป้าหมาย60.00
Max Value100.00
วิธีการจัดเก็บข้อมูล

1.จัดเก็บจากฐานข้อมูล อสค. ซึ่งมีการลงทะเบียน 2 ช่องทาง ดังนี้
       1.1 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้รับผิดชอบพื้นที่ รพ.สต./รพช./รพท./หน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่นำข้อมูลการสมัครมาบันทึกข้อมูลลงในเว็บไซต์ฐานข้อมูลอาสาสมัครประจำครอบครัว http://fv.phc.hss.moph.go.th
       1.2 อสค. ลงทะเบียนผ่าน Application “SMART อสค.” ได้ด้วยตนเอง
2. การประเมินผลโดยสุ่มตัวอย่างจากทีมส่วนกลาง

แหล่งข้อมูล

1. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

2. สถานบริการสุขภาพภาครัฐ

3. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 

ตัวชี้วัดระดับกระทรวงใช่
ตัวชี้วัดระดับเขตใช่
ตัวชี้วัดระดับจังหวัดใช่
ตัวชี้วัดสำคัญใช่
ตัวชี้วัด Area Baseใช่
Tags
ระยะเวลาการประเมินผลไตรมาส 4
ข้อมูล Baseline

Baseline data

หน่วยวัด

 

ผลการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณ พ.ศ.

2559

2560

2561

ร้อยละของครอบครัวที่มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเองได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด

ร้อยละ

87.16

93.78

91.48

ข้อมูลผลการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณ จากเว็บไซต์ http://fv.phc.hss.moph.go.th/ 

เกณฑ์การประเมินผล

 

ตัวชี้วัด

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

ร้อยละของครอบครัวมีศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเองได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด

 

 

 

ร้อยละ 60

 

เกณฑ์การวัด :

 

ลำดับ

 

กิจกรรม

เกณฑ์การพิจารณา

 

หมายเหตุ

ทำ

ไม่ทำ

1

คุมอาหาร อย่างเป็นรูปธรรม เช่น กินแบบลดหวาน ลดมัน ลดเค็ม ดื่มน้ำเปล่า

 

 

อย่างน้อยต้องทำได้ 4 ข้อ ใน 6 ข้อ ถือว่าผ่านเกณฑ์

2

ดูแลการกินยา ให้ตรงเวลา และไปพบแพทย์ตามนัด

 

 

3

ออกกำลังกาย เช่น ออกกำลังกายด้วยยางยืด 

 

 

4

บำรุงรักษาจิตใจ : ลดภาวะความเครียด

 

 

5

การดูแลสุขภาพช่องปาก

 

 

6

จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม

 

 

 

วิธีการประเมินผล

เชิงคุณภาพ โดยทีมประเมินจากส่วนกลาง

เอกสารสนับสนุน

1. แนวทางการพัฒนาและประเมิน อสค.

2. คู่มืออาสาสมัครประจำครอบครัว(อสค.)

3. Application SMART อสค.

4. SMART อสม. , www.อสม.com , Line@SMARTอสม. 

5. www.อสค.com เว็บไซต์ฐานข้อมูล อสค. ด้านความรู้ ข่าวสาร และการประเมิน

หมายเหตุ : สามารถดาวน์โหลดเอกสารทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชนhttp://phc.moph.go.th หรือ เว็บไซต์ระบบฐานข้อมูลอาสาสมัครประจำครอบครัว http://fv.phc.hss.moph.go.th 

ผู้ให้ข้อมูลทางวิชาการ/ผู้ประสานงานตัวชี้วัด

ผู้อำนวยการกองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน โทร 0 2193 7000 ต่อ 18715

หัวหน้ากลุ่มพัฒนาการมีส่วนร่วม โทร 0 2193 7000 ต่อ 18740

หน่วยงานประมวลผลและจัดทำข้อมูล (ระดับส่วนกลาง)

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

โทร 0 2193 7000 ต่อ 18715

ผู้รับผิดชอบการรายงานผลการดำเนินงาน

1. นายกิตติวิสุทธิ์ นาคอ่อน                  นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

2. นางสาวอกนิษฐ์ โพธิ์ศรี                    นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

กลุ่มพัฒนาการมีส่วนร่วม โทร 0 2193 7000 ต่อ 18711 และ 18740

รหัสจังหวัดตัวชี้วัด Area base-
Areabase Kpi Regioncode-
หมายเหตุ
Last Update2021-03-24 14:22:39
Download
Log ผลการดำเนินงาน >>