คำอธิบาย | จังหวัดมีระบบจัดการปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอย่างบูรณาการมีประสิทธิภาพและยั่งยืน หมายถึง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมีระบบและกลไกเพื่อจัดการปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ใน 6 ประเด็น ดังนี้ 1. มีข้อมูล สถานการณ์ ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ 2. มีการเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ 3. มีกลไกการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ 4. มีระบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการการสาธารณสุข 5. มีการจัดการคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6. มีชุมชนที่มีศักยภาพในการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม พื้นที่เสี่ยงมลพิษสิ่งแวดล้อม หมายถึง พื้นที่เสี่ยงต่อสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม เช่น พื้นที่เสี่ยงจากมลพิษสารเคมีและสารอันตราย พื้นที่มีมลพิษทางอากาศ พื้นที่คาดว่าจะเกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ พื้นที่เสี่ยงการจัดการสิ่งปฏิกูลและพยาธิใบไม้ในตับ และพื้นที่ที่ประชาชนมีโอกาสได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ |
ตัวแปร |
A = จำนวนสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่มีระบบจัดการปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอย่างบูรณาการมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ผ่านเกณฑ์ระดับพื้นฐานขึ้นไป (จังหวัด) B = จำนวนสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั้งหมด (จังหวัด) |
สูตรคำนวนตัวชี้วัด | (A/B)*100 |
เกณฑ์เป้าหมาย | >= ร้อยละ 100 ของจังหวัด ผ่านเกณฑ์ระดับพื้นฐาน |
Download | |
รายละเอียด KPI Template >> |