ร้อยละการบรรเทาอาการปวดและจัดการอาการต่างๆ ด้วย Strong Opioid Medication ในผู้ป่วยประคับประคองอย่างมีคุณภาพ

ผลการดำเนินงาน >>

Update Delete Log

ชื่อตัวชี้วัดร้อยละการบรรเทาอาการปวดและจัดการอาการต่างๆ ด้วย Strong Opioid Medication ในผู้ป่วยประคับประคองอย่างมีคุณภาพ
Child KPIสร้าง KPI ย่อย
ปีงบประมาณ2562
ระดับตัวชี้วัดเขต
ตัวชี้วัดที่021
Sort Order0
คำนิยาม

การบรรเทาอาการปวดและจัดการอาการต่างๆ ด้วย Strong Opioid Medication ในผู้ป่วยประคับประคองอย่างมีคุณภาพ คือ โรงพยาบาลที่มีการจัดการอาการปวด และ/หรือ อาการรบกวนในระยะท้ายของชีวิต เช่น อาการหอบเหนื่อย สับสน ด้วย Strong Opioids Medication ในผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก  5 กลุ่มโรค (ตาม Service plan ที่เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อ และองค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญ) ผู้ป่วยจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล และผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงที่ได้รับการวินิจฉัยระยะประคับประคอง (Z51.5) เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี จนถึงวาระสุดท้าย
โดยโรงพยาบาลต้องดำเนินการดังนี้

  1. มีบุคลากรที่สามารถสั่งใช้ยา จ่ายยา และบริหารยา Opioids ในการจัดการอาการปวด และ/หรืออาการรบกวน ตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองระยะท้าย ดังนี้
    1. โรงพยาบาลทุกระดับ มีแพทย์ปฏิบัติงาน PC อย่างน้อย 1 คน
      (ติดตามผลในการประชุม service plan สาขาประคับประคอง: ไม่มี/มีสาขาใดจำนวนเท่าไร)
    2. โรงพยาบาลระดับ A, S มีพยาบาล PC ปฏิบัติงาน full time อย่างน้อย 2 คน โรงพยาบาลระดับ M,F มีพยาบาล PC ปฏิบัติงาน part time อย่างน้อย 1 คน
      (ติดตามผลในการประชุม service plan สาขาประคับประคอง: ไม่มี/มีสังกัดใดจำนวนเท่าไร)
    3. โรงพยาบาลทุกระดับ มีเภสัชกรร่วมทีมดูแลผู้ป่วย PC อย่างน้อย 1 คน
    4. โรงพยาบาลทุกระดับมีการกำหนดโครงสร้างการบริหารบุคลากรงาน PC ในรูปแบบคณะกรรมการ ศูนย์ งาน หรือกลุ่มงาน ที่สามารถดำเนินการได้คล่องตัวตามบริบท
    5. โรงพยาบาลทุกระดับจัดให้มี PC Essential drugs list กลุ่ม Opioids ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก ประกอบด้วย Codeine, Morphine, Oral Immediate Release (MoIR), Morphine, Oral Controlled Release (MoCR) และ Morphine, injectable (MoINJ)

(1.3-1.5 ติดตามผลในการประชุม service plan สาขาประคับประคอง ไม่มี/มี)

  1. มีระบบการวินิจฉัยและการให้บริการ PC ให้ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก 5 กลุ่มโรค และได้รับการวินิจฉัยระยะประคับประคอง (Z51.5) ทุกกลุ่มอายุ (0-15 ปี และมากกว่า 15 ปี) ตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองระยะท้าย กรมการแพทย์ (http://www.dms.moph.go.th/dmsweb/cpgcorner/cpgcorner26122559.pdf) คือ
    1. กลุ่มโรคมะเร็ง ICD-10 รหัส C00-C96 ระยะแพร่กระจาย (แนวทางฯหน้า10-18)
    2. กลุ่มโรคระบบประสาท (Neurological Disease) หลอดเลือดสมองแตก/ตีบ(Stroke) ICD-10 รหัส I60-I69 และภาวะสมองเสื่อม(Dementia) ICD-10 รหัส F03 (แนวทางฯหน้า 19-25)
    3. โรคไตในระยะที่ต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต (Renal Replacement Therapy) และกลุ่มที่มีภาวะไตวายเรื้อรังเริ่มเข้าสู่ภาวะคุกคามต่อชีวิตการรักษาเป็นไปเพื่อประคับประคองและชะลอการเสื่อมของไต (แนวทางฯหน้า 26-32)
    4. โรคถุงลมโป่งพอง (COPD)  ICD-10 รหัส J44 และภาวะหัวใจล้มเหลว (Congenital Heart Failure) ICD-10 รหัส I50  (แนวทางฯหน้า33-43)
    5. ผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง  ICD-10 รหัส R54  ใช้ข้อบ่งชี้ทั่วไปในการวินิจฉัย (แนวทางฯหน้า76-80)

ข้อบ่งชี้ทั่วไปในการประเมินผู้ป่วยที่เข้าสู่ภาวะ Palliative Care
(สำหรับข้อ 2.1-2.4
กรณีที่ยังไม่นำ Palliative care ลงสู่ service plan แต่ละกลุ่มโรค อนุโลมให้ใช้ข้อบ่งชี้ทั่วไปในการวินิจฉัยและให้บริการทั้ง 5 กลุ่มโรคได้)

  1. ผู้ป่วยมีการถดถอยของการประกอบกิจกรรมประจำวันนั่งหรือนอนมากกว่า    ร้อยละ 50 ของวันต้องพึ่งพิงมากขึ้น

- การประเมินสมรรถนะอาจใช้ PPS ≤ร้อยละ 50 หรือ การประเมิน Functional Assessment ได้แก่ Karnofsky Score (KPS) ≤ร้อยละ 50 หรือ ECOG ≥ 3 เป็นต้น

- การประเมิน Functional Assessment ได้แก่ Karnofsky Score (KPS) ≤ ร้อยละ 50 หรือ ECOG ≥ 3 เป็นต้น

2. Multiple Co-morbidity ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ที่มีความสำคัญ

3. สภาวะเสื่อมถอยของร่างกาย ต้องการความช่วยเหลือมากขึ้น

4. โรคอยู่ในระยะลุกลาม ไม่คงตัว มีอาการซับซ้อนที่ไม่สุขสบายมาก

5. ไม่ตอบสนองต่อการรักษา

6. ผู้ป่วย/ครอบครัวเลือกที่จะไม่รักษาตัวโรคต่อไปอย่างเต็มที่

7. น้ำหนักลดลงต่อเนื่องมากกว่าร้อยละ 10 ใน 6 เดือนที่ผ่านมา

8. เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างไม่คาดหมายบ่อยครั้ง

9. มีเหตุการณ์ที่มีผลกระทบ เช่น การล้มรุนแรง ภาวะสูญเสีย การรับเข้าดูแลในสถานพยาบาล/บริบาล

10. Serum albumin < 2.5 mg/dl

3. มีระบบการทำ Advance Care Planning (ACP) เป็นลายลักษณ์อักษร
(ติดตามผลในการประชุม service plan สาขาประคับประคองด้วยตัวชี้วัด ร้อยละผู้ป่วยในและครอบครัวได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ต้องได้รับข้อมูลจากกิจกรรม Family Meeting และมีการทำ Advance Care Planning (ACP) เป็นลายลักษณ์อักษร มากกว่าร้อยละ 60)

4. ผู้ป่วยที่เข้าสู่การดูแลประคับประคองได้รับการจัดการอาการอย่างมีคุณภาพ โดยได้รับการบรรเทาอาการปวด ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization. (‎1986)‎. Cancer pain relief. Geneva: World Health Organization. http://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/43944/9241561009_eng.pdf) และได้รับยาเพื่อบรรเทาอาการไม่สุขสบายต่างๆ เช่น อาการหอบเหนื่อย (dyspnea/breathlessness) ฯลฯ อย่างเหมาะสมตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization Essential Medicines in Palliative Care)  http://www.who.int/selection_medicines/committees/expert/19/applications/PalliativeCare_8_A_R.pdf โดยมีระบบบริหารจัดการยา Opioids เพื่อบรรเทาอาการต่างๆครอบคลุมทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก

5. การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองต่อเนื่องที่บ้าน (ติดตามผลในการประชุม service plan สาขาประคับประคองด้วยตัวชี้วัด ร้อยละการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองต่อเนื่องที่บ้าน มากกว่าร้อยละ 60)

6. มีเครือข่ายการดูแลประคับประคอง อาสาสมัคร และอุปกรณ์การการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน และ/หรือแพทย์แผนไทย  (ติดตามผลในการประชุม service plan สาขาประคับประคอง ไม่มี/มีจำนวน)

หน่วยตัวชี้วัดร้อยละ
หน่วยของค่า Aแห่ง
นิยามของค่า Aจำนวนผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก 5 กลุ่มโรค ที่ได้รับการวินิจฉัยระยะประคับประคอง (Z51.5) ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลการวินิจฉัยโรคของโรงพยาบาล ตาม ICD 10 ที่กำหนดตาม service plan ที่เกี่ยวข้อง คือ (ICD-10 รหัส C00-C96, F03, I50, I60-I69, J44, R54, CKD และ วินิจฉัย Z515 ร่วมด้วย) เฉพาะรายใหม่ของปีงบประมาณ ไม่นับรายครั้ง/ซ้ำ
หน่วยของค่า Bแห่ง
นิยามของค่า Bจำนวนผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก 5 กลุ่มโรค ที่ได้รับการวินิจฉัยระยะประคับประคอง (Z51.5) และ ได้รับการรักษาด้วย Strong Opioid Medication ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลการจ่ายยา Strong Opioid ของผู้ป่วยใน และผู้ป่วยนอก หรือข้อมูลจากศูนย์ PC เฉพาะรายใหม่ของปีงบประมาณ ไม่นับรายครั้ง/ซ้ำ
หน่วยของค่า C
นิยามของค่า C
หน่วยของค่า D
นิยามของค่า D
หน่วยของค่า E
นิยามของค่า E
หน่วยของค่า F
นิยามของค่า F
สูตรคำนวนตัวชี้วัด(B/A)*100
Operator>=
เกณฑ์เป้าหมายร้อยละ 40
ประชากรกลุ่มเป้าหมายโรงพยาบาลทุกระดับ (ระดับ A,S,M,F) ในเขตสุขภาพ
ค่าเป้าหมาย40.00
Max Value100.00
วิธีการจัดเก็บข้อมูล

รายงานผลการดำเนินงานที่ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดจากทุกโรงพยาบาลในเขตสุขภาพ

แหล่งข้อมูล

โรงพยาบาลทุกระดับ (ระดับ A,S,M,F)  ในเขตสุขภาพ

ตัวชี้วัดระดับกระทรวงใช่
ตัวชี้วัดระดับเขตใช่
ตัวชี้วัดระดับจังหวัดใช่
ตัวชี้วัดสำคัญใช่
ตัวชี้วัด Area Baseใช่
Tags
ระยะเวลาการประเมินผลไตรมาส 2 และ 4
ข้อมูล Baseline

Baseline data

หน่วยวัด

ผลการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณ

2558

2559

2560

ร้อยละการบรรเทาอาการปวดและจัดการอาการต่างๆในระยะท้ายตามแนวทาง Palliative Care ด้วย Strong Opioid Medication

ราย

NA

NA

40.58

 
เกณฑ์การประเมินผล

ปี 2562 :

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

-

ร้อยละ 40

-

ร้อยละ 40

ปี 2563 :

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

-

ร้อยละ 45

-

ร้อยละ 45

 

ปี 2564 :

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

-

ร้อยละ 50

-

ร้อยละ 50

 

วิธีการประเมินผล

1. การดึงข้อมูลในระบบเวชระเบียนโรงพยาบาล หรือข้อมูล 43 แฟ้ม ตามรหัส ICD 10 และรหัสยากลุ่ม Strong Opioids หรือจัดเก็บข้อมูลจากศูนย์ PC และหน่วยเยี่ยมบ้าน

2. เขตสุขภาพโดย สสจ. ตรวจสอบข้อมูลในภาพรวม (รายอำเภอ รายตำบล รายสถานพยาบาล) และหน่วยงานบริการ (รพศ รพท. รพช และ รพ.สต.) และผลักดันและสร้างความเข้าใจขั้นตอน/กระบวนการ/ความเชื่อมโยงของนโยบาย

3. ทีมนิเทศและตรวจราชการของกระทรวงสาธารณสุขและกรมการแพทย์ ทำการสำรวจและประเมินสถานบริการสุขภาพของรัฐตามเกณฑ์ และสรุปผลการประเมิน

เอกสารสนับสนุน

1. แนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองระยะท้าย กรมการแพทย์ ที่ http://www.dms.moph.go.th/dmsweb/cpgcorner/cpgcorner02092558.pdf

2. List Disease for Palliative Care and Functional Unit กรมการแพทย์ ที่ http://www.dms.moph.go.th/dmsweb/cpgcorner/cpgcorner26122559.pdf

3.NCCN Clinical Practice Guidelines in Oncology (NCCN Guidelines) : Palliative Care Version 1.2016

ที่ https://www.nccn.org/professionals/physician_gls/pdf/palliative.pdf

4. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป: Clinical nursing practice guidelines for stroke. สถาบันประสาทวิทยา.พ.ศ.2558  ที่  http://pni.go.th/pnigoth/wpcontent/uploads//2009/03

5. CAPC. Inclusion criteria in pediatric age group.

ที่ http://www.capc.org/tools-for-palliative-care-programs/clinical-tools/consult-triggers/pediatric-palliative-care-referral-criteria.pdf (access April 2014)

6. Palliative care guideline, self-assessment workbook ศูนย์การุณรักษ์ และกรมการแพทย์

7.  World Health Organization. (‎1986)‎. Cancer pain relief. Geneva: World Health Organization. http://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/43944/9241561009_eng.pdf

8. World Health Organization Essential Medicines in Palliative Care  http://www.who.int/selection_medicines/committees/expert/19/applications/PalliativeCare_8_A_R.pdf

ผู้ให้ข้อมูลทางวิชาการ/ผู้ประสานงานตัวชี้วัด

1. พญ.ปฐมพร ศิรประภาศิริ                 ที่ปรึกษากรมการแพทย์

โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 2591 8246          โทรศัพท์มือถือ : 08 9666 2960

โทรสาร :02591 8244                       E-mail : spathomphorn@gmail.com

2. พญ. เดือนเพ็ญ ห่อรัตนาเรือง             นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

โทรศัพท์ที่ทำงาน : 1415 ต่อ 2413         โทรศัพท์มือถือ : 089-4223466

โทรสาร : 0 2245 7580                     E-mail :  noiduenpen@yahoo.com

3. กลุ่มงานนิเทศระบบการแพทย์ สำนักนิเทศระบบการแพทย์ กรมการแพทย์

โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 2590 6358-59       โทรศัพท์มือถือ : -

โทรสาร : 0 2965 9851                     E-mail : supervision.dms@gmail.com

หน่วยงานประมวลผลและจัดทำจ้อมูล (ระดับส่วนกลาง)

1. สำนักตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข

2. สำนักนิเทศระบบการแพทย์ กรมการแพทย์

3. สำนักวิชาการ กรมการแพทย์

ผู้รับผิดชอบการรายงานผลการดำเนินงาน

1. นางจุฬารักษ์ สิงหกลางพล                นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

โทรศัพท์ที่ทำงาน :0 2590 6329           โทรศัพท์มือถือ : 08 1355 4866

โทรสาร :0 2965 9851                      E-mail : klangpol@yahoo.com

2. นางอำไพพร ยังวัฒนา                     นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ

โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 2590 6282          โทรศัพท์มือถือ : 08 1668 5008

โทรสาร : 0 2591 8264-5                   E-mail : ampaiporn.y@gmail.com

3.กลุ่มงานนิเทศระบบการแพทย์ สำนักนิเทศระบบการแพทย์ กรมการแพทย์

โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 2590 6358-59       โทรศัพท์มือถือ :

โทรสาร : 0 2965 9851                     E-mail : supervision.dms@gmail.com  

รหัสจังหวัดตัวชี้วัด Area base-
Areabase Kpi Regioncode-
หมายเหตุ
Last Update2021-03-24 14:22:39
Download
ผลการดำเนินงาน >>