ระดับความสำเร็จของเขตสุขภาพที่มีการบริหารจัดการระบบการผลิตและพัฒนากำลังคนได้ตามเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนด

ผลการดำเนินงาน >>

Update Delete Log

ชื่อตัวชี้วัดระดับความสำเร็จของเขตสุขภาพที่มีการบริหารจัดการระบบการผลิตและพัฒนากำลังคนได้ตามเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนด
Child KPIสร้าง KPI ย่อย
ปีงบประมาณ2562
ระดับตัวชี้วัดเขต
ตัวชี้วัดที่041
Sort Order0
คำนิยาม

เขตสุขภาพ หมายถึง กลุ่มจังหวัดที่มีประชากรประมาณ 3-6 ล้านคนต่อเขตสุขภาพ เพื่อ เป็นกลไกหลักในการบริหารจัดการพัฒนาระบบบริการสุขภาพครอบคลุม 4 มิติ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา และการฟื้นฟูสภาพ โดยมีโครงสร้างสำนักงานเขตสุขภาพดำเนินงานที่ชัดเจน

การบริหารจัดการระบบการผลิตและพัฒนากำลังคน หมายถึง เขตสุขภาพมีกระบวนการในการดำเนินการเพื่อให้ได้บุคลากรด้านสุขภาพทั้งปริมาณและศักยภาพที่เพียงพอ มีขีดสมรรถนะอย่างมืออาชีพ และศักยภาพตามเกณฑ์มาตรฐานในทุกระดับสถานบริการ  ประชาชนเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้อย่างครอบคลุมทั่วถึงทุกสิทธิ โดยมีองค์ประกอบดังนี้

1)การวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคน ของเขตสุขภาพ หมายถึง กระบวนการวางแผนพัฒนาบุคลากรทั้งจำนวนและศักยภาพภายใต้แผนความต้องการอัตรากำลังคนด้านสุขภาพในระยะ 5 ปี ครอบคลุมทั้ง 5 กลุ่มสาขา/วิชาชีพ 38 สายงาน ประกอบด้วย

1.บุคลากรวิชาชีพ  (Health professionals) มี 7 สายงาน ได้แก่  แพทย์  ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ นักเทคนิคการแพทย์ นักกายภาพบำบัด และ นักวิชาการสาธารณสุข

2.บุคลากรสหวิชาชีพ (Allied  Health professionals)ได้แก่

2.1 บุคลากรซึ่งเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ 7 สายงาน  ได้แก่ นักรังสีการแพทย์ นักกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยาคลินิก/นักจิตวิทยา นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย นักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก นักฟิสิกส์รังสี และนักการแพทย์แผนไทย

2.2 บุคลากรอื่น มี 7 สายงาน ได้แก่ นักวิชาการทันตสาธารณสุข  นักโภชนาการ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ นักวิชาการศึกษาพิเศษ นักกายอุปกรณ์ นักวิชาการอาหารและยา

3. บุคลากรสนับสนุนวิชาชีพ (Associates Health personal) มี 7 สายงาน ประกอบด้วย

 เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข  เจ้าพนักงานเภสัชกรรม เจ้าพนักงานสาธารณสุข

เจ้าพนักงานเวชสถิติ   เจ้าพนักงานเวชกิจฉุกเฉิน เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ และเจ้าพนักงานรังสีการแพทย์

4.บุคลากรสายสนับสนุน (Back office) มี 10 สายงาน ประกอบด้วย  นักวิชาการ/เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี  นักทรัพยากรบุคคล นักจัดการงานทั่วไป นักวิชาการ/เจ้าพนักงานพัสดุ นิติกร นักสถิติ  นักวิชาการ/เจ้าพนักงานคอมพิวเตอร์  นักวิชาการ/เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษา เจ้าพนักงานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เจ้าพนักงานธุรการ

5.บุคลากรผู้ทำหน้าที่บริหารงาน ประกอบด้วย ระดับสูง ระดับกลาง ระดับต้น

2)การสร้างความร่วมมือด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนหมายถึง  กระบวนการสร้างความสัมพันธ์และการประสานงานระหว่างหน่วยที่เกี่ยวข้อง (Stakeholder) เพื่อพัฒนาความร่วมมือกับสถาบันการผลิตและพัฒนากำลังคนในเขตสุขภาพ และใช้ประโยชน์ในการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพบุคลากรที่มีความเป็นมืออาชีพให้บริการแก่ประชาชนในเขตสุขภาพ

3)การบริหารงบประมาณด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนหมายถึง กระบวนการวางแผนการจัดสรร/การใช้/ติดตามการใช้งบประมาณ ที่สนับสนุนความต้องการกำลังคนทั้งด้านจำนวนและศักยภาพภาพที่ตอบสนองยุทธศาสตร์เขตสุขภาพ/กระทรวง/ประเทศ โดยพิจารณาจากการกำหนดเป้าหมายความต้องการกำลังคนและพัฒนาคน  ผลการพัฒนา และร้อยละการใช้งบประมาณได้ตามแผนที่กำหนด

4)การบริหารจัดการด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนหมายถึง กระบวนการในการ

สรรหา จัดสรร กระจาย บุคลากร ทั้งด้านจำนวนและศักยภาพ โดยกำหนดจากความต้องการนำไปสู่การวางแผนการผลิตและพัฒนาที่สอดคล้องกัน รวมทั้ง การกำหนดเนื้อหาหลักสูตรด้านการผลิตและพัฒนาที่ตอบสนองยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข

5)การประเมินผลกระทบระบบการบริหารจัดการการผลิตและพัฒนากำลังคนของเขตสุขภาพ หมายถึง กระบวนการติดตามและวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของเขตสุขภาพด้านการวางแผนความต้องการและพัฒนาบุคลากร/การสรรหา/การคัดสรร/การจัดบริการ เป็นต้น  โดยต้องประเมินสถานการณ์ ความเสี่ยง ความคุ้มทุน และข้อขัดแย้ง/ความสมดุลทางวิชาชีพ จนเกิดผลเสียในภาพรวม

เกณฑ์เป้าหมายที่กำหนด หมายถึง  ผลลัพธ์ที่คาดหวังของการดำเนินการทั้ง 5 องค์ประกอบ ตามรายละเอียดที่กำหนด ดังนี้

องค์ประกอบ

วัตถุประสงค์ที่ต้องการวัดผล

เกณฑ์เป้าหมาย

ค่าเป้าหมาย

1.การวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคน ของเขตสุขภาพ

1.กระบวนการจัดทำแผน

1.1.แผนความต้องการกำลังคน(จำนวนที่สอดคล้องกับแผนกำลังคนของเขต) โดยมีความครอบคลุมกลุ่มสาขา/วิชาชีพ 5 กลุ่มเป้าหมาย

1.2. แผนพัฒนาบุคลากร ของเขตที่และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ (4 Excellence ตามยุทธศาสตร์ 20 ปี)

 

1. .แผนความต้องการกำลังคน(จำนวนที่สอดคล้องกับแผนกำลังคนของเขต)

2. แผนพัฒนาบุคลากร เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ 4 Excellence

เฉลี่ย 5 ปี

ที่ระดับ 3

และเป้าหมายปีที่  5

ที่ระดับ 5

2.การสร้างความร่วมมือด้านการผลิตและพัฒนากำลังคน

1.ความร่วมมือระหว่างสถาบันการผลิตและพัฒนาและเขตสุขภาพ

2.การบูรณการทรัพยากรในการใช้(คน เงิน ของ)

ร่วมกัน Stakeholder ในเขตสุขภาพ

 

มีการสร้างความร่วมมือของสถาบันการผลิตและพัฒนากำลังคนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของเขตสุขภาพ ครอบคลุมตามเกณฑ์ที่กำหนด

เฉลี่ย 5 ปี

ที่ระดับ 3

และเป้าหมายปีที่  5

ที่ระดับ 5

3.การบริหารงบประมาณด้านการผลิตและพัฒนากำลังคน

1.การใช้งบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทันเวลา

การเบิกจ่ายงบประมาณได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด

เฉลี่ย 5 ปี

ที่ระดับ 3

และเป้าหมายปีที่  5

ที่ระดับ 5

4.การบริหารจัดการด้านการผลิตและพัฒนากำลังคน

1.การจัดสรร/การกระจาย/กลุ่มเป้าหมายของบุคลากรอย่างเหมาะสม(ทั้งด้านจำนวน

และศักยภาพ) ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของเขต

มีจำนวนความต้องการ/การพัฒนากำลังคนได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด

เฉลี่ย 5 ปี

ที่ระดับ 3

และเป้าหมายปีที่  5

ที่ระดับ 5

5.การประเมินผลกระทบระบบการบริหารจัดการการผลิตและพัฒนากำลังคนของเขตสุขภาพ

 

 

1.ปรับปรุง/พัฒนาแนวทางการบริหารจัดการ เพื่อให้ระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

ในการแก้ไขปัญหาการผลิตและพัฒนากำลังคน

 2.การลดข้อร้องเรียนและ การต่อรองทางวิชาชีพที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายในระดับเขต/ประเทศ

 

1.จำนวนการขาดแคลนบุคลากร ในระดับเขตลดลง

2.จำนวนข้อร้องเรียน/อัตราการย้าย ลาออกลดลง

 

 

เฉลี่ย 5 ปี

ที่ระดับ 3

และเป้าหมายปีที่  5

ที่ระดับ 5

 

หน่วยตัวชี้วัดจำนวน
หน่วยของค่า Aเขตสุขภาพ
นิยามของค่า Aจำนวนเขตสุขภาพที่ผ่านเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนด
หน่วยของค่า B
นิยามของค่า B
หน่วยของค่า C
นิยามของค่า C
หน่วยของค่า D
นิยามของค่า D
หน่วยของค่า E
นิยามของค่า E
หน่วยของค่า F
นิยามของค่า F
สูตรคำนวนตัวชี้วัดA
Operator>=
เกณฑ์เป้าหมายระดับความสำเร็จของเขตสุขภาพในการดำเนินงานในแต่ละองค์ประกอบที่ผ่านเกณฑ์ ระดับ 4 ทั้ง 5 องค์ประกอบ
ประชากรกลุ่มเป้าหมายเขตสุขภาพ 12 เขต
ค่าเป้าหมาย9.00
Max Value-
วิธีการจัดเก็บข้อมูล

ตรวจราชการจังหวัด/

การสำรวจจากเขตสุขภาพ

การรวบรวม/วิเคราะห์/สรุปผลรายงานรอบ 6 (ไตรมาสที่ 2)/รอบ 9 (ไตรมาสที่ 3) 

แหล่งข้อมูล

จังหวัด/เขตสุขภาพ 

ตัวชี้วัดระดับกระทรวงใช่
ตัวชี้วัดระดับเขตใช่
ตัวชี้วัดระดับจังหวัดใช่
ตัวชี้วัดสำคัญใช่
ตัวชี้วัด Area Baseใช่
Tags
ระยะเวลาการประเมินผลไตรมาส 2 และ 3
ข้อมูล Baseline

Baseline data

หน่วยวัด

ผลการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณ พ.ศ.

2557

2558

2559

เขตสุขภาพมีการบริหารจัดการระบบการผลิตและพัฒนากำลังคนได้ตามเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนด

ระดับความ

สำเร็จ

-

-

50

 
เกณฑ์การประเมินผล

ปี 2562

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

 

ทุกเขตผ่านเกณฑ์ ตามองค์ประกอบข้อที่ 1 – 4 ที่ระดับคะแนน 4

9 เขต ผ่านเกณฑ์ ทั้ง 5 องค์ประกอบที่ระดับคะแนน 5

 

 

 

ปี 2562 :  เกณฑ์การให้คะแนนรอบ 6 เดือน

ค่าคะแนนที่ได้

1

2

3

4

5

เขตสุขภาพผ่านเกณฑ์ตามองค์ประกอบที่ 1 ที่ระดับ >,=4

เขตสุขภาพผ่านเกณฑ์ตามองค์ประกอบที่ 1 ที่ระดับ>,= 4

เขตสุขภาพผ่านเกณฑ์ตามองค์ประกอบที่

1-2 ที่ระดับ>,= 4

เขตสุขภาพผ่านเกณฑ์ตามองค์ประกอบที่

1-3 ที่ระดับ>,=  4

เขตสุขภาพผ่านเกณฑ์ตามองค์ประกอบที่ 1-4 ที่ระดับ>,= 4

 

 

 

 

ปี 2562 :  เกณฑ์การให้คะแนนรอบ 9 เดือน

ค่าคะแนนที่ได้

1

2

3

4

5

5 เขตสุขภาพผ่านเกณฑ์ตามองค์ประกอบที่ 1-5 ที่ระดับ >,=5

6 เขตสุขภาพผ่านเกณฑ์ตามองค์ประกอบที่ 1-5 ที่ระดับ >,=5

7 เขตสุขภาพผ่านเกณฑ์ตามองค์ประกอบที่ 1-5 ที่ระดับ >,=5

8 เขตสุขภาพผ่านเกณฑ์ตามองค์ประกอบที่ 1-5 ที่ระดับ >,=5

9 เขตสุขภาพผ่านเกณฑ์ตามองค์ประกอบที่ 1-5 ที่ระดับ >,=5

 

วิธีการประเมินผล

วิเคราะห์ผลเปรียบเทียบเกณฑ์ที่กำหนด

เอกสารสนับสนุน

นโยบาย/แผนกำลังคนของเขตสุขภาพ

แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ(Service Plan)

ยุทธศาสตร์สาธารณสุข 20 ปี

ผู้ให้ข้อมูลทางวิชาการ/ผู้ประสานงานตัวชี้วัด

สถาบันพระบรมราชชนก

ผู้อำนวยสถาบันพระบรมราชชนก                                                 โทรสาร  : 02-5901817          

ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาบุคลากร สถาบันพระบรมราชชนก              โทรสาร  : 02-5901817

หน่วยงานประมวลผลและจัดทำจ้อมูล (ระดับส่วนกลาง)

สถาบันพระบรมราชชนก

ผู้รับผิดชอบการรายงานผลการดำเนินงาน

ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาบุคลากร สถาบันพระบรมราชชนก

โทรสาร  : 02-5901817

รหัสจังหวัดตัวชี้วัด Area base-
Areabase Kpi Regioncode-
หมายเหตุ
Last Update2021-03-24 14:22:39
Download
ผลการดำเนินงาน >>