ระดับความสำเร็จของจังหวัดในการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) และทีมตระหนักรู้สถานการณ์ (SAT) ที่สามารถปฏิบัติงานได้จริง

ผลการดำเนินงาน >>

Update Delete Log

ชื่อตัวชี้วัดระดับความสำเร็จของจังหวัดในการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) และทีมตระหนักรู้สถานการณ์ (SAT) ที่สามารถปฏิบัติงานได้จริง
Child KPIสร้าง KPI ย่อย
ปีงบประมาณ2562
ระดับตัวชี้วัดจังหวัด
ตัวชี้วัดที่009
Sort Order0
คำนิยาม

ระดับความสำเร็จของจังหวัดในการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) และทีมตระหนักรู้สถานการณ์ (SAT) ที่สามารถปฏิบัติงานได้จริง หมายถึง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ดำเนินการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) และทีมตระหนักรู้สถานการณ์ (SAT) ให้สามารถปฏิบัติงานได้จริง โดยดำเนินการตามเกณฑ์ที่กำหนดในขั้นตอนที่ 1 - 5

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (Emergency Operations Center, EOC) หมายถึง สถานที่ที่ใช้ในการปฏิบัติงานร่วมกันของกลุ่มภารกิจต่างๆ ภายใต้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ เพื่อสนับสนุนการบริหารสั่งการ ประสานงาน แลกเปลี่ยนข้อมูล และทรัพยากรให้เกิดขึ้นอย่างสะดวกรวดเร็วในภาวะฉุกเฉิน ในที่นี้นอกเหนือจากจะหมายถึงห้องทำงานและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานแล้ว ยังหมายรวมถึงระบบงาน และบุคลากรที่ร่วมปฏิบัติงานในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขด้วยด้วย

ทีมตระหนักรู้สถานการณ์ (Situation Awareness Team: SAT) หมายถึง ทีมปฏิบัติการที่มีความสามารถในการรวบรวมข้อมูล เพื่อติดตาม ตรวจจับ และประเมินสถานการณ์ พร้อมทั้งแจ้งเตือนแก่ผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาตอบสนองต่อสถานการณ์นั้นๆ

การพัฒนาศูนย์ EOC หมายถึง การพัฒนาศูนย์ EOC เพื่อให้สามารถจัดการภาวะฉุกเฉินทุกโรคและภัยสุขภาพได้อย่างรวดเร็ว เป็นระบบ มีความเป็นเอกภาพ มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย โดยมีการพัฒนา 3 ด้าน ดังนี้

          ด้านระบบงาน (System) หมายถึง ระบบงาน เช่น แผน มาตรฐานการปฏิบัติการ (SOP) งบประมาณ

          ด้านอุปกรณ์ (Stuff) หมายถึงห้องสำหรับให้ทีมปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทำงาน มีโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบข้อมูลที่มีความรวดเร็ว ถูกต้อง ทันสถานการณ์ สามารถเชื่อมโยงได้ ระบบแสดงผลการประมวลข้อมูลข่าวสาร และระบบสื่อสาร

          ด้านกำลังคนที่มีสมรรถนะ (Staff) หมายถึง หน่วยงานจะต้องกำหนดและมีการวางแผนแบ่งบุคลากรที่สามารถระดมมาช่วยดำเนินการในภาวะฉุกเฉินได้ ให้รับผิดชอบกลุ่มภารกิจต่างๆ อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีการฝึกอบรมความรู้และทักษะเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้จริงเมื่อมีภาวะฉุกเฉินเกิดขึ้น

All Hazards Plan (AHP) หมายถึง แผนปฏิบัติการควบคุมทุกโรคและภัยสุขภาพ สำหรับหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติเตรียมความพร้อมด้านการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพได้ทันต่อสถานการณ์ และมีประสิทธิภาพ ใช้ในกรณีที่มีการประกาศภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข

          Incident Action Plan (IAP) หมายถึง แผนปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ที่กำหนดขึ้นโดยผู้บัญชาการเหตุการณ์ร่วมกับกลุ่มยุทธศาสตร์ภายใต้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ ที่กำหนดเป้าหมาย ระยะเวลา ยุทธศาสตร์ และวิธีการปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน รวมทั้งหน่วยงานที่นำไปปฏิบัติ

จังหวัด ได้แก่ จังหวัดที่มีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จำนวน 76 จังหวัด

หน่วยตัวชี้วัดร้อยละ
หน่วยของค่า Aจังหวัด
นิยามของค่า Aสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่ดำเนินการได้ทั้ง 5 ขั้นตอน
หน่วยของค่า Bจังหวัด
นิยามของค่า Bสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
หน่วยของค่า C
นิยามของค่า C
หน่วยของค่า D
นิยามของค่า D
หน่วยของค่า E
นิยามของค่า E
หน่วยของค่า F
นิยามของค่า F
สูตรคำนวนตัวชี้วัด(A/B)*100
Operator>=
เกณฑ์เป้าหมายร้อยละ 90
ประชากรกลุ่มเป้าหมายจังหวัดทุกจังหวัด
ค่าเป้าหมาย90.00
Max Value100.00
วิธีการจัดเก็บข้อมูล

รวบรวมข้อมูลจากผลการดำเนินงานระดับจังหวัด

แหล่งข้อมูล

ข้อมูลจากผลการดำเนินงานระดับจังหวัด

ตัวชี้วัดระดับกระทรวงใช่
ตัวชี้วัดระดับเขตใช่
ตัวชี้วัดระดับจังหวัดใช่
ตัวชี้วัดสำคัญใช่
ตัวชี้วัด Area Baseใช่
Tags
ระยะเวลาการประเมินผลไตรมาส 1,2,3 และ 4
ข้อมูล Baseline
 

Baseline data

หน่วยวัด

ผลการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณ

2559

2560

2561

 

ระดับความสำเร็จของจังหวัดในการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) และทีมตระหนักรู้สถานการณ์ (SAT) ที่สามารถปฏิบัติงานได้จริง

ระดับ

ตัวชี้วัดใหม่ ปี 2562

 
เกณฑ์การประเมินผล

 

ปี 2562 - 2564 :

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

ขั้นตอนที่ 1

ขั้นตอนที่ 2 และ 3

ขั้นตอนที่ 4

ขั้นตอนที่ 5

 
วิธีการประเมินผล

ปี 2562 นับจำนวนหน่วยงานที่สามารถดำเนินการได้ทั้ง 5 ขั้น (ร้อยละ 90)

ขั้นตอนที่ 1 - 5 สามารถดำเนินการไปพร้อมๆ กันได้ ตั้งแต่เริ่มต้นปีงบประมาณ โดย

          ไตรมาสที่ 1 (รอบ 3 เดือน) ทุกหน่วยงานดำเนินการตามขั้นตอนที่ 1 ได้

          ไตรมาสที่ 2 (รอบ 6 เดือน) ทุกหน่วยงานดำเนินการตามขั้นตอนที่ 2 และ 3 ได้

          ไตรมาสที่ 3 (รอบ 9 เดือน) ทุกหน่วยงานดำเนินการตามขั้นตอนที่ 4 ได้

          ไตรมาสที่ 4 (รอบ 12 เดือน)ทุกหน่วยงานดำเนินการตามขั้นตอนที่ 5 ได้

ข้อมูลสนับสนุน

ปี 2561 ทุกหน่วยงานดำเนินการตามขั้นตอนที่ 5 ได้ (ร้อยละ 85)

ปี 2562 ทุกหน่วยงานดำเนินการตามขั้นตอนที่ 5 ได้ (ร้อยละ 90)

ปี 2563 ทุกหน่วยงานดำเนินการตามขั้นตอนที่ 5 ได้ (ร้อยละ 95)

ปี 2564 ทุกหน่วยงานดำเนินการตามขั้นตอนที่ 5 ได้ (ร้อยละ 100)

ระดับ 1             ระดับ 2          ระดับ 3       ระดับ 4        ระดับ 5

ร้อยละ 80         ร้อยละ 85     ร้อยละ 90     ร้อยละ 95     ร้อยละ 100

ขั้นตอนที่   1                   

รายละเอียดการดำเนินงาน 

ผู้บริหาร และ หัวหน้ากลุ่มภารกิจในระบบบัญชาการเหตุการณ์ระดับจังหวัด ทุกคนผ่านการอบรมหลักสูตรระบบบัญชาการเหตุการณ์ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (ICS สำหรับผู้บริหาร)

หมายเหตุ:

1. ผู้บริหาร หมายถึง นพ.สสจ., ผชช.ว., ผชช.ส. และผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลทั่วไปในจังหวัด

(ผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร ICS สำหรับผู้บริหาร ในปีงบประมาณ 2561 ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการอบรมซ้ำ)

2. หัวหน้ากลุ่มภารกิจ หมายถึง หัวหน้ากลุ่มงานที่รับผิดชอบภารกิจตระหนักรู้สถานการณ์ (SAT) และหัวหน้ากลุ่มงานที่รับผิดชอบภารกิจปฏิบัติการ (Operation) ที่ยังไม่ผ่านการอบรมหลักสูตร ICS สำหรับผู้บริหาร รวมจังหวัดละ 2 คน

 เอกสาร/หลักฐานประกอบการประเมินผล

1. คำสั่งแต่งตั้งศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและคณะทำงานตามระบบบัญชาการเหตุการณ์ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ระดับจังหวัด

2. รายชื่อผู้บริหารและหัวหน้ากลุ่มภารกิจในระบบบัญชาการระดับจังหวัด ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรระบบบัญชาการเหตุการณ์ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (ICS สำหรับผู้บริหาร) (จำนวน 9 ชั่วโมง)

ขั้นตอนที่   2                    

รายละเอียดการดำเนินงาน 

ทีมตระหนักรู้สถานการณ์ (SAT) จังหวัด สามารถเฝ้าระวัง ตรวจจับ และประเมินสถานการณ์การเกิดโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่ได้

เอกสาร/หลักฐานประกอบการประเมินผล

1. ตารางการปฏิบัติงานของทีมตระหนักรู้สถานการณ์ (SAT) จังหวัด เป็นรายปี โดยระบุผู้ประสานงานหลักด้านข้อมูลเป็นรายสัปดาห์

2. รายงานการตรวจสอบข่าวการเกิดโรคและภัยที่ผิดปกติประจำสัปดาห์ (SAT Weekly report) ทุกสัปดาห์

3. Spot Report ตามเงื่อนไขและเวลาที่กำหนด

หมายเหตุ : นับเป็นปีงบประมาณ

ขั้นตอนที่   3                    

รายละเอียดการดำเนินงาน 

วิเคราะห์ระดับความเสี่ยงสำคัญของโรคและภัยสุขภาพระดับจังหวัด พร้อมทั้งจัดทำรายการทรัพยากรที่สำคัญ จำเป็นที่จะต้องใช้เพื่อรับมือโรคและภัยสุขภาพสำคัญเหล่านั้น

เอกสาร/หลักฐานประกอบการประเมินผล

- รายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยงสำคัญของโรคและภัยสุขภาพ (Rapid Risk Assessment, RRA) ระดับจังหวัดที่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดอย่างน้อย 2 ฉบับ

- รายการทรัพยากรที่สำคัญ จำเป็นที่จะต้องใช้เพื่อรับมือโรคและภัยสุขภาพสำคัญ

ขั้นตอนที่   4                    

รายละเอียดการดำเนินงาน 

จัดทำรายชื่ออัตรากำลังคน (Surge capacity plan) ของหน่วยงานในระดับจังหวัด เพื่อเข้าร่วมสนับสนุนหรือปฏิบัติงานในศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ตามระดับความรุนแรงของโรคและภัยสุขภาพที่กรมควบคุมโรคกำหนดไว้ (4 ระดับ)

หมายเหตุ : หน่วยงานในระดับจังหวัดหมายถึง หน่วยงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (ระดับจังหวัด ถึงระดับอำเภอ)

เอกสาร/หลักฐานประกอบการประเมินผล

ทะเบียนรายชื่ออัตรากำลังคนของหน่วยงานที่เข้าร่วมสนับสนุนหรือปฏิบัติงานในศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) ตามระดับความรุนแรงของโรคและภัยสุขภาพที่กรมควบคุมโรคกำหนดไว้ (4 ระดับ)

ขั้นตอนที่   5                    

รายละเอียดการดำเนินงาน 

นำระบบการบัญชาการเหตุการณ์ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (ICS) มาใช้จริงอย่างน้อย 1 ครั้ง (กรณีไม่มีเหตุการณ์ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเกิดขึ้น ต้องกำหนดการซ้อมแผน ซึ่งอาจเป็นการซ้อมอภิปรายบนโต๊ะ หรือฝึกปฏิบัติจริงตามผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านโรค/ภัยสุขภาพ ของหน่วยงาน)

เอกสาร/หลักฐานประกอบการประเมินผล

1. รายงานผลการบัญชาการเหตุการณ์และปฏิบัติงานตาม IAP ของเหตุการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุข

2. หรือ มีรายงานการฝึกซ้อมแผนในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขโดยกำหนดวิธีปฏิบัติการ พร้อมทั้งข้อสั่งการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามแบบฟอร์ม IAP

3. กรณีมีการ Activate EOC ต้องส่ง Weekly Report ให้ สคร. จนกว่าจะ Deactivate EOC

เอกสารสนับสนุน

1. หนังสือกรอบแนวทางการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินและระบบบัญชาการเหตุการณ์ในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข กรมควบคุมโรค พ.ศ. 2559-2564 (ฉบับปรับปรุง)

2. คู่มือพัฒนาการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระบบบัญชาการเหตุการณ์ และศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข กรมควบคุมโรค

3. พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 และอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้อง

ผู้ให้ข้อมูลทางวิชาการ/ผู้ประสานงานตัวชี้วัด

1. ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค 

    โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-5903155       โทรศัพท์มือถือ : 082 658 4885

2. นางสุธิดา วรโชติธนัน                       นักวิชาการวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ

โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-5903246       โทรศัพท์มือถือ : 085 246 9652

โทรสาร : 02-588 3767                 E-mail : suwor@yahoo.com

3. นางอัญชลี สิทธิชัยรัตน์                    นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ

    โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-590 3159       โทรศัพท์มือถือ : 081 356 1791

โทรสาร : 02-588 3767                 E-mail : un_run@yahoo.com

4. น.ส.กีรติกานต์ กลัดสวัสดิ์                  นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

     โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-590 3158      โทรศัพท์มือถือ : 081 698 9866

     โทรสาร : 02-590 3238                E-mail : k.kiratikarn@gmail.com

5. น.ส.ศิณีนาถ กุลาวงศ์                       นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-590 3157      โทรศัพท์มือถือ : 081 165 3731

โทรสาร : 02-590 3238                 E-mail : nuy_phnu@hotmail.com

6. น.ส.ธนัชชา  ไทยธนสาร                  นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-590 3157      โทรศัพท์มือถือ : 090 706 6550

โทรสาร : 02-590 3238           E-mail : milkthanatcha@gmail.com

หน่วยงานประมวลผลและจัดทำจ้อมูล (ระดับส่วนกลาง)

กองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค

ผู้รับผิดชอบการรายงานผลการดำเนินงาน

1. นางสุธิดา วรโชติธนัน            นักวิชาการวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ

โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-5903246       โทรศัพท์มือถือ : 085 246 9652

โทรสาร : 02-588 3767                 E-mail : suwor@yahoo.com

3. นางอัญชลี สิทธิชัยรัตน์                    นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ

    โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-590 3159       โทรศัพท์มือถือ : 081 356 1791

โทรสาร : 02-588 3767                 E-mail : un_run@yahoo.com

4. น.ส.กีรติกานต์ กลัดสวัสดิ์                  นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

     โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-590 3158      โทรศัพท์มือถือ : 081 698 9866

     โทรสาร : 02-590 3238                E-mail : k.kiratikarn@gmail.com

5. น.ส.ศิณีนาถ กุลาวงศ์                       นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-590 3157      โทรศัพท์มือถือ : 081 165 3731

โทรสาร : 02-590 3238                 E-mail : nuy_phnu@hotmail.com

6. น.ส.ธนัชชา  ไทยธนสาร                  นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-590 3157      โทรศัพท์มือถือ : 090 706 6550

โทรสาร : 02-590 3238           E-mail : milkthanatcha@gmail.com

รหัสจังหวัดตัวชี้วัด Area base-
Areabase Kpi Regioncode-
หมายเหตุ
Last Update2023-01-17 11:37:52
Download
ผลการดำเนินงาน >>