อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี

ผลการดำเนินงาน >>

Update Delete Log

ชื่อตัวชี้วัดอัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี
Child KPIสร้าง KPI ย่อย
ปีงบประมาณ2562
ระดับตัวชี้วัดประเทศ
ตัวชี้วัดที่006
Sort Order0
คำนิยาม

จำนวนการคลอดบุตรมีชีวิตของผู้หญิงอายุ 15-19 ปี ต่อจำนวนประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี 1,000 คน

หน่วยตัวชี้วัดอัตราต่อพันประชากร
หน่วยของค่า Aคน
นิยามของค่า Aฐานข้อมูลหญิงอายุ 15-19 ปี ปีที่ผ่านมาทั้งหมด จากทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
หน่วยของค่า Bคน
นิยามของค่า Bฐานข้อมูลการเกิดมีชีพปีที่ผ่านมาทั้งหมด จากทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
หน่วยของค่า Cคน
นิยามของค่า Cจำนวนหญิงอายุ 15 – 19 ปี ปีที่ผ่านมาทั้งหมด ในเขตรับผิดชอบ (ประชากรจากการสำรวจ Type Area=1,3)
หน่วยของค่า Dคน
นิยามของค่า Dจำนวนการคลอดมีชีพโดยหญิงอายุ 15 – 19 ปี ปีที่ผ่านมาทั้งหมด (จากแฟ้ม Labor) ดูข้อมูลจากจำนวนเด็กเกิดมีชีพ (LBORN)
หน่วยของค่า Eคน
นิยามของค่า Eจำนวนหญิงอายุ 15 – 19 ปี ปีปัจจุบันทั้งหมด ในเขตรับผิดชอบ (ประชากรจากการสำรวจ Type Area=1,3)
หน่วยของค่า Fคน
นิยามของค่า Fจำนวนการคลอดมีชีพโดยหญิงอายุ 15 – 19 ปี ปีปัจจุบันทั้งหมด (จากแฟ้ม Labor) ดูข้อมูลจากจำนวนเด็กเกิดมีชีพ (LBORN)
สูตรคำนวนตัวชี้วัด(((B/A)/(D/C)) * ((F/E)*1000)) * 4
Operator<=
เกณฑ์เป้าหมาย38
ประชากรกลุ่มเป้าหมายผู้หญิงอายุ 15 – 19 ปี ที่มีการคลอดบุตรมีชีพในระหว่างปีที่ทำการเก็บข้อมูล
ค่าเป้าหมาย38.00
Max Value38.00
วิธีการจัดเก็บข้อมูล

เก็บรวบรวมข้อมูลจากระบบ Health Data Center (HDC) กระทรวงสาธารณสุข

แหล่งข้อมูล

1,ฐานข้อมูลการเกิดมีชีพจากทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

2.ฐานข้อมูล HDC ข้อมูลตัวชี้วัดการเฝ้าระวังอัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี

   ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ตัวชี้วัดระดับกระทรวงใช่
ตัวชี้วัดระดับเขตใช่
ตัวชี้วัดระดับจังหวัดใช่
ตัวชี้วัดสำคัญใช่
ตัวชี้วัด Area Baseใช่
Tags
ระยะเวลาการประเมินผลรอบที่ 1: 5 เดือนแรก (ตุลาคม 2561–กุมภาพันธ์ 2562) = ใช้ข้อมูลอัตราคลอดจากระบบ HDC สิ้นสุดไตรมาสที่ 1 (HDC adjusted) รอบที่ 2 : 5 เดือนหลัง (มีนาคม 2562–กรกฎาคม 2562) = ใช้ข้อมูลอัตราคลอดจากระบบ HDC สิ้นสุดไตรมาสที่ 3 (HDC adjusted)
ข้อมูล Baseline

ตัวชี้วัด

หน่วยวัด

ผลการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณ พ.ศ.

2558

2559

2560

อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี

(อัตราการคลอดจากฐานทะเบียนราษฎร์)

อัตราต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี 1,000 คน

44.8

42.5

39.6

 
 
เกณฑ์การประเมินผล

 

ปี 2562 :

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

38

38

38

38

 


ปี 2563 :

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

36

36

36

36

 

ปี 2564 :

รอบ 3 เดือน

รอบ 6 เดือน

รอบ 9 เดือน

รอบ 12 เดือน

34

34

34

34


 
วิธีการประเมินผล

Small success

ส่วนกลาง

รอบ 3 เดือน

1. มีการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

2. มีการประชุมคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

3. มีการจัดทำแผนการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับวัยรุ่นและครอบครัวเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

รอบ 6 เดือน

1. มีการติดตามการดำเนินงานตามแผนปฎิบัติการฯ  พ.ศ. 2562 ภายใต้ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2560-2569

2. มีการติดตามการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับจังหวัดและกรุงเทพมหานคร

3. สนับสนุนการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับเขต/จังหวัดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในระดับเขตสุขภาพ ผ่านกลไกคณะกรรมการระดับชาติ

รอบ 9 เดือน

1. กฎกระทรวงสาธารณสุขภายใต้ พ.ร.บ. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีผลบังคับใช้

2. มีนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมความรู้และทักษะชีวิตให้แก่วัยรุ่นและเยาวชน

3. มีการประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

รอบ 12 เดือน

1. มีการประชุมคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

2. มีการรายงานผลการดำเนินงานขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

3. มีผลการติดตามการดำเนินงานตามแผนการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับวัยรุ่นและครอบครัวเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

4. อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี ไม่เกิน 38 ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี พันคน

เขตสุขภาพ/ สสจ./กรมวิชาการระดับเขต(ศูนย์อนามัย สนง.ป้องกันควบคุมโรค ศูนย์สุขภาพจิต)

รอบ 3 เดือน

1. คณะอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในระดับจังหวัดและกรุงเทพมหานครมีการประชุมหรือมีการกำหนดแผนการประชุม ประจำปี 2562

2. มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในระดับจังหวัด

3. มีช่องทางเพื่อการเข้าถึงบริการสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ในรูปแบบต่างๆ  (สื่อ infographic สายด่วน 1663 การจัดบริการในโรงพยาบาล สถานศึกษา)  ที่หลากหลายตรงตามความต้องการ

4. มีการจัดทำแผนการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับวัยรุ่นและครอบครัวเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

รอบ 6 เดือน

1.ประสานงานและสนับสนุนการจัดประชุมอนุกรรมการการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานของอนุกรรมการฯ

2. มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในระดับเขต

3. ศูนย์อนามัย สคร. ศูนย์สุขภาพจิตและ สสจ.มีการสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อให้การเข้าถึงบริการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ของวัยรุ่น

4. มีการดำเนินงานตามแผนการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

รอบ 9 เดือน

1. มีการเยี่ยมประเมินและรับรองโรงพยาบาลตามมาตรฐาน YFHS ฉบับบูรณาการและอำเภออนามัยการเจริญพันธุ์

2. มีการขยายบริการคุมกำเนิดสำหรับวัยรุ่นหลังคลอดหรือหลังแท้งที่มีประสิทธิภาพ

3. มีการขยาย อปท.ที่เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

4. มีเครือข่ายการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยภายใต้ระบบประสุขภาพครอบคลุมทุกจังหวัด

รอบ 12 เดือน

1. มีการจัดประชุมคณะอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในระดับจังหวัดจำนวน 2 ครั้ง

2. มีการติดตามการดำเนินงานตามแผนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับจังหวัด

3. โรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขผ่านเกณฑ์ YFHS ฉบับบูรณาการและอำเภอผ่านเกณฑ์การประเมินอำเภออนามัยการเจริญพันธุ์ได้ตามเป้าหมาย

4. อัตราการคลอดในระดับเขตลดลงตามเป้าหมาย

อำเภอ/รพช./รพท./รพศ.

รอบ 3 เดือน

1. คณะกรรมการพัฒนานาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ/เขต มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

2. มีการบรรจุเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ไว้ในแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ

3. มีแผนการจัดหาเวชภัณฑ์การให้บริการคุมกำเนิดหลังคลอดหรือหลังแท้งให้แก่วัยรุ่นอย่างเพียงพอ พร้อมสำหรับให้บริการ

รอบ  6 เดือน

1. มีการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมเพื่อพัฒนาการให้บริการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์แก่วัยรุ่นอย่างต่อเนื่อง

2. มีช่องทางเพื่อการเข้าถึงบริการสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ในรูปแบบต่างๆ (สื่อ info graphic สายด่วน 1663 การจัดบริการในโรงพยาบาล สถานศึกษา) ที่หลากหลายตรงตามความต้องการ

รอบ 9 เดือน

1. มีการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมเพื่อพัฒนาการให้บริการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์แก่วัยรุ่นอย่างต่อเนื่อง

2. มีช่องทางเพื่อการเข้าถึงบริการสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ในรูปแบบต่างๆ (สื่อ info graphic สายด่วน 1663 การจัดบริการในโรงพยาบาล สถานศึกษา) ที่หลากหลายตรงตามความต้องการ

รอบ 12 เดือน

1. วัยรุ่นในพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ที่หลากหลายอย่างทั่วถึง

2. โรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขผ่านเกณฑ์ YFHS ฉบับบูรณาการและอำเภอผ่านเกณฑ์การประเมินอำเภออนามัยการเจริญพันธุ์ได้ตามเป้าหมาย

เอกสารสนับสนุน

1.พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559

2.ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ (พ.ศ. 2560-2569)

3.มาตรฐานบริการที่เป็นมิตรกับวัยรุ่น(ฉบับบูรณาการ) และแนวทางการประเมินตนเอง

4.คู่มือก้าวสู่อำเภออนามัยการเจริญพันธุ์

5.คู่มือแนวทางการปฏิบัติการดูแลแม่วัยรุ่น

6.คู่มือแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

7.คู่มือพัฒนาศักยภาพแกนนำวัยรุ่น

ผู้ให้ข้อมูลทางวิชาการ/ผู้ประสานงานตัวชี้วัด

1. นายแพทย์บุญฤทธิ์ สุขรัตน์               นายแพทย์เชี่ยวชาญ

    โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-5904242       โทรศัพท์มือถือ : 081-8866276

    โทรสาร : 02-5904163                  E-mail : Bunyarit_su@hotmail.com

2. นางปิยะรัตน์  เอี่ยมคง                    นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

    โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-5904166       โทรศัพท์มือถือ : 089-7627339

    โทรสาร : 02-5904163                  E-mail : am-piyarat@hotmail.com

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย

หน่วยงานประมวลผลและจัดทำจ้อมูล (ระดับส่วนกลาง)

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย

ผู้รับผิดชอบการรายงานผลการดำเนินงาน

1 นางปิยะรัตน์  เอี่ยมคง                     นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

   โทรศัพท์ที่ทำงาน : 02-5904166        โทรศัพท์มือถือ : 089-7627339

โทรสาร : 02-5904163                    E-mail : am-piyarat@hotmail.com

2 นางสาวอารีรัตน์ จันทร์ลำภู               นักวิชาการคอมพิวเตอร์

โทรศัพ์ที่ทำงาน : 0 2590 4167 โทรศัพท์มือถือ : 089-7627339

โทรสาร 02-590-4163                    Email : poppysunko.j@gmail.com

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย

รหัสจังหวัดตัวชี้วัด Area base-
Areabase Kpi Regioncode-
หมายเหตุ
Last Update2021-03-24 14:22:39
Download
ผลการดำเนินงาน >>